ผู้เขียน หัวข้อ: ยุทธศาสตร์ยางไทยเดี้ยงต้นทุนสูงเปิดเออีซีแย่แน่  (อ่าน 1667 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 85214
    • ดูรายละเอียด
ยุทธศาสตร์ยางไทยเดี้ยงต้นทุนสูงเปิดเออีซีแย่แน่


 

โพสต์ทูเดย์ นักธุรกิจอัดยุทธศาสตร์ยางไทยไร้ประสิทธิภาพ เปิดเออีซีแย่แน่ต้นทุนแพงสุด เชื่อปีนี้ราคาระดับ100 บาท


นายวรเทพ วงศาสุทธิกุล นายกกิตติมศักดิ์ สมาคมน้ำยางข้นไทย เปิดเผยในการเสวนาเรื่องการจัดทัพอุตสาหกรรมยางไทยสู้ศึกใหญ่ตลาดเสรีอาเซียน ว่ายุทธศาสตร์การพัฒนายางพาราของไทยตั้งแต่ปี 2542 จนถึงปัจจุบัน ไม่สามารถปฏิบัติได้จริง ผลที่ตามมาทำให้เป้าหมายการส่งเสริมการใช้ยางในเป็นวัตถุดิบในประเทศจาก 10% เป็น 15% ของผลผลิตยางในประเทศปีละ 4 ล้านตันจึงไม่สามารถทำได้ เพราะนโยบายไม่ต่อเนื่องและรัฐบาลไม่มีความจริงจังในการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ประเทศ


นายกกิตติมศักดิ์ สมาคมน้ำยางข้นไทยกล่าวว่า สิ่งที่รัฐบาลจะต้องเร่งดำเนินการเพื่อรัฐเมื่อเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน(เออีซี) คือ 1.การสร้างตลาดซื้อขายยางพาราเป็นตลาดกลาง 2.การพัฒนาตลาดซื้อขายยางจริง แบบตลาดหุ้น และ 3.การซื้อขายยางผ่านตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าเพื่อลดความเสี่ยงของเกษตรกรซึ่งหากทำได้ จะทำให้ต่อไปไทยจะเป็นตลาดที่ทั่วโลกใช้อ้างอิงราคายาง แทนโตคอมและเซี่ยงไฮ้


นายวรเทพ กล่าวอีกว่า การส่งเสริมพัฒนายางไทยต้องทำพร้อมกันทั้ง 3 ด้าน


ต้นน้ำต้องลดต้นทุนการผลิตเพื่อให้แข่งกับเพื่อนบ้านได้มิฉะนั้นเมื่อเปิดเออีซีเอกชนอาจไปซื้อยางเพื่อนบ้านส่งออกแทนเพราะ

ยางไทยราคาสูงเกินไป รัฐบาลต้องการเลิกเก็บเงินค่าธรรมเนียมการส่งออกยาง ซึ่งประเทศอื่นไม่มีส่งเสริมเงินทุน ส่งเสริมการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ที่เอื้อต่อการส่งออกเพื่อลดต้นทุนแฝง


ทั้งนี้ ในปี 2556 ไทยมีการส่งออกยาง5 แสนล้านบาท เป็นการส่งออกยางแผ่น56% มูลค่า ประมาณ 2.4 แสนล้านบาทส่งออกผลิตภัณฑ์ยาง 2.6 แสนล้านบาท


นายบุญส่ง นับทอง นายกสมาพันธ์ชาวสวนยางแห่งประเทศไทย กล่าวว่า จากการสำรวจสต๊อกยางพาราพบว่ามีสต๊อกอยู่5 แสนตัน เป็นของรัฐ 2 แสนตัน ของเอกชน 3 แสนตัน และสต๊อกทั่วโลก 1 ล้านตัน ขณะที่ผลผลิตทั่วโลกปีละ 13 ล้านตันความต้องการใช้ปีละ 11-12 ล้านตัน จึงคาดการณ์กันว่าจนถึงปีหน้าราคาจะอยู่ระหว่าง 70-100 บาท โอกาสจะขึ้นไปที่120 บาทคงไม่สามารถทำได้ เกษตรกรจึงต้องพิจารณาว่าจะปรับตัวอย่างไร เพราะต้นทุนปัจจุบันอยู่ที่ 64 บาทต่อกิโลกรัม Souce: โพสต์ทูเดย์