ผู้เขียน หัวข้อ: แตกใบอ่อน(ยางพารา) : ตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ  (อ่าน 964 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 84612
    • ดูรายละเอียด
แตกใบอ่อน : ตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ





เปิดศักราชใหม่ขึ้นมา ?ชาวสวนยางพารา? ต่างพากันร้องโฮกกันเป็นแถว เพราะจากเดิมในช่วงปลายปีแล้ว ราคาน้ำยางสดซึ่งอยู่ที่ประมาณกิโลกรัมละ 70-73 บาท แต่พอพ้นปีใหม่ 2557 มาได้ไม่กี่วัน ราคาก็ร่วงเอาๆ โดยเมื่อวันที่ 5 มกราคมที่ผ่านมา หล่นมาอยู่ที่กิโลกรัมละ 60-61 บาท
ขณะที่จากการคาดการณ์ในปี 2557 คาดว่า ทั้งโลกจะมีผลผลิตออกสู่ตลาดรวม 12.45 ล้านตัน หรือเพิ่มขึ้น 5.56% มากกว่าความต้องการใช้ที่อยู่ที่ประมาณ 11.75 ล้านตัน ส่วนประเทศไทยคาดว่า ปีนี้จะมีผลผลิตที่ประมาณ 4 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 5.82 ล้านตันจากปี 2556 เพราะพื้นที่ปลูกยางใน???าคอีสานจะเริ่มเปิดกรีดได้มากขึ้น โดยความต้องการใช้???ายในประเทศจะอยู่ที่ประมาณ 5.9 แสนตัน ส่วนที่เหลืออีก 3.41 ล้านตัน ก็ต้องไปคาดหวังไว้กับการส่งออก โดยมีคู่ค้าสำคัญ คือ จีน มาเลเซีย และญี่ปุ่น
ส่วนสถานการณ์ของกลุ่มประเทศอาเซียนซึ่งเป็นกลุ่มผู้ผลิตและส่งออกราย ใหญ่ พบว่า ในประเทศเพื่อนบ้านอย่างลาว กัมพูชา และพม่า มีการเพิ่มพื้นที่ปลูกและเริ่มมีพื้นที่เปิดกรีดได้มากขึ้น ซึ่งไม่เป็นผลดีแน่ๆ ต่อสถานการณ์ของไทย เพราะจะเป็นปัจจัยทำให้ตลาดมีทางเลือกอื่นๆ ในการรับซื้อจากประเทศเหล่านี้เพิ่มขึ้น
ปีนี้จึงน่าจะเป็นปีที่หนักหน่วงเอาการสำหรับสถานการณ์ยางพาราของไทย ถ้าหากหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ไม่รีบตื่นเตรียมรับมือกันเสียแต่เนิ่นๆ เพราะหากปล่อยไป แล้วมานั่งรอรอแก้ปัญหาแบบ ?ขอไปที? ดังเช่น การจ่ายเงินชดเชยต้นทุนการผลิตเหมือนอย่างที่ทำในช่วงที่ผ่านมา ก็คงไม่ต่างจากการ ?ตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ? สักเท่าไร เพราะใครก็รู้ว่า มันไม่ได้ผล
 
โดยเฉพาะรัฐบาลและกระทรวงเกษตรฯที่รู้ดีกว่าใคร! เวลานี้ทุกคนต่างรู้ดีว่า การแก้ไขปัญหาราคายางอย่างยั่งยืนนั้น มี 2 ประเด็นที่จะต้องลงมือทำอย่างจริงจัง คือ การลดต้นทุนการผลิต และการพัฒนาอุตสาหกรรมปลายน้ำต่างๆ เพื่อเพิ่มปริมาณการใช้ยางและเพิ่มมูลค่าผลผลิตยางพาราของประเทศ ซึ่งประเด็นเหล่านี้ข้าราชการในกระทรวงเกษตรฯ เช่น สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร ก็ศึกษาเอาไว้พอสมควรเหมือนกัน แต่ที่ผ่านมาคนระดับรัฐมนตรียันนายกรัฐมนตรี กลับไม่เคยจะใส่ใจให้ความสำคัญ
ดูอย่างกรณีการนำยางพารามาผสมยางมะตอยราดถนน ซึ่งเรื่องนี้สถาบันวิจัยยางพารา ก็ศึกษาเอาไว้เป็นชาติแล้ว แต่ไม่มีรัฐมนตรีหรือผู้บริหารระดับนโยบายคนไหนหยิบมาผลักดันกันอย่างจริงๆ จังๆ หรือถ้าจะมี ก็แค่เอามาเป็นประเด็นทำข่าวหาเสียงประชาสัมพันธ์ให้กับตัวเอง พอจบแล้วก็จบกัน
 
เช่นนี้แล้ว มันก็คงไม่มีทางเจริญกันหรอกครับ! ประเด็นเรื่องงานวิจัย ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่จะละเลยไม่ได้ เพราะจะเป็นหนทางนำไปสู่การค้นคว้าเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับผลผลิตได้ แต่ที่ผ่านมาการสนับสนุนงานวิจัยทั้งในแวดวงการเกษตร ยางพารา และอื่นๆ ของประเทศไทย ถือว่า น้อยมาก
งบประมาณในการวิจัยน้อย นักวิจัยไม่เพียงพอ และทำให้ผลงานวิจัยที่จะนำไปใช้ประโยชน์น้อยตามไปด้วย
ปีใหม่แล้ว ลองคิดใหม่กันดู แม้ว่าเวลานี้สถานะของรัฐบาลจะเป็นเพียงรัฐบาลรักษาการ แต่เมื่อขึ้นชื่อว่า เป็นรัฐบาล ก็ต้องหัดดูแลทุกข์สุขของประชาชนทุกลมหายใจ
 
ไม่ใช่เอาแต่ตัดริบบิ้นเปิดงาน แบบนี้ไม่ต้องมีก็ได้ ?รัฐมนตรี?หนังสือพิมพ์?แนวหน้า