ผู้เขียน หัวข้อ: 4,990 บริษัทญี่ปุ่นล้มละลาย สูงสุดในรอบทศวรรษ เงินเฟ้อฉุดเศรษฐกิจทรุดหนัก  (อ่าน 199 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 85608
    • ดูรายละเอียด

4,990 บริษัทญี่ปุ่นล้มละลาย สูงสุดในรอบทศวรรษ เงินเฟ้อฉุดเศรษฐกิจทรุดหนัก

เรื่องราวโดย Bangkokbiznews ? 2 ชม. ? อ่าน 1 นาที

4,990 บริษัทญี่ปุ่นล้มละลาย สูงสุดในรอบทศวรรษ เงินเฟ้อฉุดเศรษฐกิจทรุดหนัก

สำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงานว่า ญี่ปุ่นเผชิญ ?จำนวนบริษัทล้มละลายสูงสุด? นับตั้งแต่ปี 2013 ในช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้ โดยบริษัทต่าง ๆ ถูกกระทบอย่างหนักจากต้นทุนที่เพิ่มสูงขึ้น

รายงานของ Teikoku Databank บริษัทวิจัยชั้นนำในญี่ปุ่น ในวันนี้ (8 ต.ค.) ระบุว่า มีบริษัทญี่ปุ่นประมาณ 4,990 แห่งล้มละลายในช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้ เพิ่มขึ้น 18.6% จากปีที่แล้ว โดยจำนวนบริษัทที่ล้มละลายในญี่ปุ่นมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ครึ่งหลังของปีงบประมาณ 2021

ทั้งนี้ การเพิ่มขึ้นของจำนวนบริษัทล้มละลายส่วนหนึ่งสะท้อนถึงผลกระทบของราคาที่สูงขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับบริษัทขนาดเล็ก รายงานระบุว่า มีบริษัทจำนวน 472 แห่งจากทั้งหมด 4,990 แห่งที่ระบุ ?เงินเฟ้อ? เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ล้มละลาย ซึ่งนับเป็นสถิติสูงสุด โดยดัชนีราคาสำคัญของประเทศญี่ปุ่นคงอยู่ที่หรือสูงกว่าเป้าหมาย 2% ของธนาคารกลางญี่ปุ่นมานานกว่า 2 ปี เนื่องจากค่าเงินเยนที่อ่อนค่า ทำให้ต้นทุนการนำเข้าสินค้าทุกอย่างตั้งแต่อาหารไปจนถึงพลังงานเพิ่มสูงขึ้น

รายงานระบุว่า ภาคการก่อสร้าง การผลิต และค้าปลีก เป็นหนึ่งในภาคธุรกิจที่มีจำนวนบริษัทล้มละลายเนื่องจากต้นทุนสูงที่สุด

นอกเหนือจากราคาที่สูงขึ้นแล้ว ยังมีบริษัทจำนวน 163 แห่งที่ระบุ ?การขาดแคลนแรงงาน? เป็นสาเหตุของปัญหา โดยอัตราการว่างงานของญี่ปุ่นยังคงต่ำกว่า 3% มาเป็นเวลานานกว่า 3 ปี ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในบรรดาประเทศพัฒนาแล้ว

ตลาดแรงงานที่ตึงตัวดังกล่าวทำให้บริษัทต้องเพิ่มเงินเดือนเพื่อรักษาพนักงาน ส่งผลให้งบประมาณของบริษัทตึงตัวมากขึ้น แม้ว่าบริษัทญี่ปุ่นบางแห่งประสบความสำเร็จในการเสนอเงินเดือนเพิ่มขึ้นมากกว่า 5% ให้กับพนักงานในช่วงการเจรจาเงินเดือนในต้นปีนี้ แต่บริษัทขนาดกลางและขนาดย่อมหลายแห่งรายงานว่าประสบปัญหาในการทำตาม

อีกหนึ่งความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับบริษัทในอนาคตคือ ค่าใช้จ่ายในการชำระหนี้ที่สูงขึ้นตามมาจากการปรับอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางญี่ปุ่นในเดือนมีนาคมและเดือนกรกฎาคม ซึ่งธนาคารขนาดใหญ่และธนาคารระดับภูมิภาคบางแห่งได้ประกาศเพิ่มอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ระยะสั้นแล้ว

อ้างอิง: bloomberg