ผู้เขียน หัวข้อ: วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง วันพุธ ที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2556  (อ่าน 786 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 84905
    • ดูรายละเอียด
               
วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง
วันพุธ ที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2556
     
ปัจจัย
วิเคราะห์
1. ส???าพ???ูมิอากาศ - มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและ???าคใต้มีกำลังอ่อนลง ทำให้???าคใต้มีฝนน้อยลง ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ไม่เป็นอุปสรรคต่อการกรีดยาง
2. การใช้ยาง - สำนักงานสถิติแห่งชาติจีน (NBS) เปิดเผยว่า บริษัทรถยนต์รายใหญ่ของจีนมีผลกำไรเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.8 เทียบเป็นรายปี ในช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้ โดยอัตราขยายตัวชะลอลงร้อยละ 0.6 จากช่วง 8 เดือนแรก
3. เศรษฐกิจโลก - กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ เปิดเผยว่า
 
  • สต๊อคสินค้าคงคลัง???าคธุรกิจปรับตัวขึ้นร้อยละ 0.3 สู่ระดับ 1.67 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ในเดือนสิงหาคม เมื่อเทียบรายเดือน หลังจากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 ในเดือนกรกฎาคม ขณะที่เมื่อเทียบรายปีสต๊อคสินค้าคงคลังเดือนสิงหาคมเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.1 จากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว
  • ยอดค้าปลีกปรับตัวลดลงร้อยละ 0.1 ในเดือนกันยายน ซึ่งเป็นการลดลงครั้งแรกในรอบ 6 เดือน เนื่องจากยอดจำหน่ายรถยนต์ที่ร่วงลงมากที่สุดในรอบเกือบ 1 ปี สวนทางกับที่นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 หลังจากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 ในเดือนสิงหาคม
- ความเชื่อมั่นของผู้บริโ???คสหรัฐฯ ร่วงลงมากเกินคาดในเดือนตุลาคม เนื่องจากวิกฤตการคลังครั้งล่าสุดได้สร้างความหวาดวิตกให้กับชาวอเมริกัน โดยดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโ???คของคอนเฟอเรนซ์ บอร์ด เดือนตุลาคมร่วงลงสู่ระดับ 71.2 จุด จาก 80.2 จุดในเดือนกันยายน ขณะที่นักเศรษฐศาสตร์คาดว่าดัชนีเดือนตุลาคมจะลดลงแตะ 75.0 จุด
- ราคาค้าส่งของสหรัฐฯ ปรับตัวลดลงในเดือนกันยายน ซึ่งเป็นการลดลงครั้งแรกในรอบ 5 เดือน เนื่องจากราคาอาหารที่ปรับตัวลง โดยกระทรวงแรงงานสหรัฐฯ เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ปรับตัวลดลงร้อยละ 0.1 ในเดือนกันยายน เมื่อเทียบรายเดือน
- ธนาคารกลางอินเดียมีมติปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงสู่ระดับร้อยละ 7.75 จากเดิมที่ร้อยละ 7.5 โดยมีเป้าหมายที่จะสกัดเงินเฟ้อที่ปรับตัวสูงขึ้น และนับเป็นการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกัน
- กระทรวงเศรษฐกิจ การคลัง และอุตสาหกรรมญี่ปุ่น เปิดเผยว่า ผลผลิต???าคอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นเดือนกันยายนเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5 จากเดือนก่อนหน้า ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นครั้งแรกในรอบ 2 เดือน
4. อัตราแลกเปลี่ยน - เงินบาทอยู่ที่ 31.05 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้น 0.05 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ และเงินเยนอยู่ที่ 98.21 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ อ่อนค่าลง 0.58 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ
5. ราคาน้ำมัน - สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือนธันวาคม ปิดตลาดที่ 98.2 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง 0.48 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล เนื่องจากคาดการณ์ที่ว่าสต๊อคน้ำมันดิบสหรัฐฯ จะเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ตลาดยังได้รับแรงกดดันจากข้อมูลเศรษฐกิจที่ซบเซาของสหรัฐฯ
6. การเก็งกำไร - ราคาตลาด TOCOM ส่งมอบเดือนพฤศจิกายน อยู่ที่ 250.2  เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 2.7 เยนต่อกิโลกรัม และส่งมอบเดือนมีนาคม 2557 อยู่ที่  262.0 เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 3.5 เยนต่อกิโลกรัม
- ราคาตลาด SICOM เปิดตลาดที่ 251.5 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 2.0 เซนต์-สหรัฐต่อกิโลกรัม
7. ข่าว - สแตนดาร์ด แอน พัวร์/เคส ชิลเลอร์ เปิดเผยว่า ดัชนีราคาบ้านในเดือนสิงหาคมเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.8 จากเดือนเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นมากที่สุดเมื่อเทียบเป็นรายปีนับตั้งแต่เดือนกุม???าพันธ์ 2549 หรือในรอบกว่า 7 ปี และมากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.5
- ผู้อำนวยการฝ่ายเอเชียและแปซิฟิกของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ได้เรียกร้องให้ญี่ปุ่นดำเนินมาตรการที่จะส่งเสริมการฟื้นฟูการคลังโดยที่ไม่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ ขณะที่แสดงความวิตกกังวลเกี่ยวกับหนี้สินที่พอกพูนขึ้นของญี่ปุ่น
- กรรมการธนาคารกลางยุโรป หรือ อีซีบี ระบุว่า ยูโรโซนได้หลุดพ้นจากโซนอันตราย แต่เพื่อสร้างความเจริญร่วมกันจำเป็นต้องปรับโครงสร้าง???าคการเงิน???ายในยูโรโซน สนับสนุนการเติบโตด้วยธุรกิจรูปแบบใหม่ และหลีกเลี่ยงลัทธิกีดกันทางการค้า
8. ข้อคิดเห็นของผู้ประกอบการ - ราคายางปรับตัวสูงขึ้น 0.50 บาท จากการได้รับแรงหนุนจากข่าวที่ว่ายอดจำหน่ายรถยนต์ของจีนดีขึ้น และปริมาณสต๊อคยางในโรงงานลดลงเพราะมีการขายและส่งมอบไปแล้วในบางส่วน ขณะที่ผลผลิตออกสู่ตลาดลดลงจาก???าวะฝนตกชุก
  แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นในทิศทางเดียวกับตลาดโตเกียว เพราะได้รับแรงหนุนจากเงินเยนอ่อนค่า และกระแสคาดการณ์ที่ว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) จะเดินหน้าใช้มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) ต่อไป หลังจากสหรัฐฯ เปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่อ่อนแอ ประกอบกับ???าคใต้ของไทยอยู่ในช่วงมรสุม ส่งผลให้อุปทานยางออกสู่ตลาดน้อยลง
คณะทำงานวิเคราะห์สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา