'บิ๊กตู่'ไฟเขียวงบใช้ยางทำถนน
หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ -- พุธที่ 10 กรกฎาคม 2562 00:00:45 น.
ทำเนียบฯ * พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัว หน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) แถลงภายหลังการประ ชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ถึงการแก้ไขปัญหาราคายางพาราว่า วัน นี้ได้อนุมัติงบประมาณในการจัดทำถนน 400 กว่าเส้นใน 76 จัง หวัด ใช้ยางเกือบ 20,000 ตัน ซึ่งจะเร่งดำเนินการในปีนี้และปีหน้าโดยหน่วยทหารพัฒนาและหน่วยทหารช่างของกองทัพบก ส่วนลูกยางได้เน้นย้ำให้ส่วนราชการนำมาใช้ให้มากขึ้น เช่น ทำหมอนยาง ที่นอนยาง ใช้ในหน่วยทหารหรือเรือนจำ เพราะใช้ได้นานขึ้น รวมถึงนำมาใช้ในสนามกีฬา การซ่อมปรับปรุงต่างๆ รวมทั้งส่งเสริมให้แปรรูปยางในพื้นที่ โดยอาจมีโรงงานแปรรูปยางแผ่นเพิ่มมูลค่า เป็นการแก้ปัญหาทั้งระบบ
พล.อ.ประยุทธ์กล่าวอีกว่า ส่วนปัญหาปาล์มแก้โดยการให้ใช้น้ำมัน B20 ที่ ณ วันนี้มีการใช้มากขึ้นเรื่อยๆ เมื่อตรวจสอบจำนวนปั๊มน้ำมันที่ให้บริการประมาณกว่า 900 ปั๊ม สามารถให้บริการทั่วไปได้ ส่วนรถขนส่งมวลชนมีการให้บริการอยู่แล้ว ซึ่งจะเกี่ยวโยงไปถึงเรื่องแก๊สโซฮอล์ด้วย เพราะราคาสูงกว่าวันหน้าความนิยมอาจลดลง ดังนั้นรัฐบาลต้องปรับให้สมดุล และขอฝากไปถึงผู้ประกอบการปั๊มน้ำมันให้เตรียมพร้อมรับมือไปกับรัฐบาล
นายกฯ กล่าวอีกว่า ส่วนการยกระดับราคาน้ำมันปาล์ม ขณะนี้ราคารับซื้อผลผลิตในไทยสูงกว่าประเทศรอบบ้าน ของเราราคากิโลกรัมละ 19 บาท ประเทศเพื่อนบ้าน 15 บาท และตนได้เน้นย้ำเรื่องการลัก ลอบนำน้ำมันปาล์มนอกประ เทศเข้ามารวมถึงมะพร้าวด้วย คนไทยต้องไม่ร่วมลักลอบนำสิ่งที่ผิดกฎหมายเข้ามาในประเทศ เพราะจะทำให้สมดุลด้านราคาในประเทศเสียหาย
ขณะที่นายสุนทร รักษ์รงค์ อดีตผู้สมัคร ส.ส.บัญชีราย ชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ และนายกสมาคมเกษตรกรชาวสวนยาง 16 จังหวัดภาคใต้ และเลขาธิการสภาเครือข่ายเกษตร กรชาวสวนยางแห่งประเทศไทย (สคยท.) กล่าวถึงปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลกระทบต่อราคายางพาราเป็นโจทย์ใหญ่ที่ท้าทายรัฐบาลและ รมว.เกษตรฯ คนใหม่ว่า ในที่ประชุมสภาไตรภาคียางพาราระหว่างประเทศ (ITRC) เมื่อ 22 ก.พ.62 ได้ปรับปรุงข้อมูลผลผลิตยางปี 2561 โดยระบุผลผลิตยางพาราของไทยมี 4.879 ล้านตัน อินโดนีเซีย 3.630 ล้านตัน และมาเลเซีย 0.603 ล้านตัน ส่วนสมาคมประเทศผู้ผลิตยางธรรมชาติ (ANRPC) ที่มีสมาชิกจาก 7 ประเทศ คาดการณ์ผลผลิตยางของโลกในปี 2562 อยูที่ 14.07 ล้านตัน ในขณะที่ความต้องการใช้อยู่ที่ 14.325 ล้านตัน ถือว่าไม่โอเวอร์ซัพพลาย
ทั้งนี้ ทิศทางการส่งออกยางของไทย ยางแท่ง (STR20) ซึ่งใช้ยางก้อนถ้วย (cup lump) เป็นวัตถุดิบ มีปริมาณเพิ่มขึ้นเกือบ 70% ของยางที่ส่งออก ที่เหลือเป็นน้ำยางข้นและยางแผ่นรมควันอีก 30% แต่จากปัญหาเรื่องแรงงานทำให้การผลิตยางแผ่นดิบมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง จึงเป็นเรื่องที่ท้าทายว่ารัฐบาลจะทำให้ยาง ก้อนถ้วยมีราคาสูงขึ้นได้อย่าง ไร ซึ่งในอนาคตราคายางก้อนถ้วยจะชี้นำราคายางชนิดอื่น ส่วนผู้ใช้ยางรายใหญ่ของโลกอย่างรัฐวิสาหกิจของจีน ตอนนี้เข้ามาเทกโอเวอร์บริษัทผู้ส่ง ออกยางพาราของไทยหรือที่เรียกว่า 5 เสือส่งออก ต้องตรวจสอบข้อมูลว่าเวลานี้ไทย เหลือเสือกี่ตัวที่ยังไม่ถูกซื้อเป็นนอมินี ซึ่งจะทำให้เกิดปัญ หาการกดราคายางจากการผูก ขาดตลาดยางของไทยจากจีน ในอนาคต ที่คล้ายการกดราคา ซื้อลำไยและทุเรียน.