สรุปประชุมหารือมาตรการ AETS ครั้งที่ 6 (อย่างไม่เป็นทางการ) ในวันที่ 16 พฤษภาคม 2562 เวลา 13.00 น. ณ.ห้องประชุมราชไมตรี กยท.
1. ระยะเวลาดำเนินการ 20 พฤษภาคม - 19 กันยายน 2562 โดยควบคุมยาง 5 ชนิด ได้แก่ ยางแผ่นรมควัน , ยางแท่ง, ยางผสม ,น้ำยางข้น และยางคอมปาวด์ ปริมาณรวม 126,260 ตัน คำนวณจากปริมาณการส่งออกยางของกรมศุลกากร ระหว่างวันที่ 20 พฤษภาคม - 19 กันยายน 2561 ของผู้ส่งออกแต่ละราย ดังนี้
1.1 ผู้ส่งออกที่มีปริมาณการส่งออก ระหว่างวันที่ 20 พฤษภาคม - 19 กันยายน 2561 จำนวนมากกว่า 3,000 ตันจะลดปริมาณการส่งออกลงประมาณร้อยละ 10 ของปริมาณการส่งออกช่วงวันที่ 20 พ.ค.-19 ก.ย.61
1.2 หากผู้ส่งออกรายใดได้ใช่้สิทธิ์ในเดือนใดเดือนหนึ่งน้อยกว่าปริมาณที่ได้รับจัดสรรเฉลี่ยต่อเดือนสามารถนำส่วนที่เหลือไปใช้สิทธิ์ในเดือนอื่นได้ แต่ต้องไม่เกินปริมาณจัดสรรเนื้อยางที่ได้รับในช่วงดังกล่าว
2. ผู้ส่งออกมที่มีปริมาณการส่งออก เท่ากับหรือต่ำกว่า 3,000 ตัน สามารถส่งออกได้เท่ากับปริมาณการส่งออกยาง ระหว่างวันที่ 20 พฤษภาคม - 19 กันยายน 2561
3. ผู้ส่งออกที่ไม่มีข้อมุลการส่งออกระหว่างวันที่ 20 พ.ค.-19 ก.ย.61 อนุโลมให้ใช้ข้อมูลส่งออกล่าสุดในการอ้างอิงได้
4. อนุญาติให้โอนสิทธิการส่งออกของบริษัทในเครือได้ โดยต้องทำหนังสือแจ้งขออนุญาติมายัง กยท.
ชนิดยางที่ควบคุมส่งออก
1. ยางแผ่นรมควัน (400121)
2. ยางแท่ง (400122)
3. ยางผสม (Mixed Rubbet) (400280)
4. น้ำยางข้น (400110)
5. ยางคอมปาวด์ (400510,400520,400591,400599)
*สำนักงานยางแห่งชาติของไทยกล่าวเมื่อวันพฤหัสบดีว่าประเทศไทยจะลดการส่งออกยางพาราลง 126,240 ตันในสัปดาห์หน้าเป็นระยะเวลาสี่เดือนหลังจากที่ประเทศได้เลื่อนการดำเนินการตามข้อตกลงลดอุปทานกับผู้ผลิตรายอื่นในภูมิภาค
ประเทศไทยควรเริ่มลดการส่งออกยางธรรมชาติกับอินโดนิเซียและมาเลเซียในวันที่ 1 เมษายน ซึ่งเป็นข้อตกลงฉันทามติในการประชุมเดือนมีนาคมของสภายางระหว่างประเทศไตรภาคี(ITRC)
สามประเทศข้างต้นมีสัดส่วนประมาณ 70% ของการผลิลยางธรรมชาติทั่วโลก ทั้งสามฝ่ายได้ตัดสินใจที่จะลดการส่งออกยางพาราจำนวน 240,000 ตันเพื่อสนับสนุนราคายาง
อย่างไรก็ตามประเทศไทยซึ่งเป็นผู้ส่งออกยางรายใหญ่ที่สุดของโลกได้ชะลอการดำเนินการเนื่องจากการเลือกตั้งในเดือนมีนาคม
ผู้อำนวยการสำนักงานยางพาราไทยกล่าว