ผู้เขียน หัวข้อ: "ไทยฮั้วฯ" เล็งยอด 4 หมื่นล้าน! ทวงนักการเมืองรักษาสัญญาดัน "ยางโล 70"  (อ่าน 697 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 85094
    • ดูรายละเอียด
"ไทยฮั้วฯ" เล็งยอด 4 หมื่นล้าน! ทวงนักการเมืองรักษาสัญญาดัน "ยางโล 70"
14 Apr 2019  ที่มา ฐานเศรษฐกิจ


 
'ไทยฮั้วยางพารา' มั่นใจ! ยอดขายปีนี้แตะ 4 หมื่นล้าน หลังควบรวมกิจการ 'ก๋วงเขิ่น' ช่วยเพิ่มกำลังผลิตเป็น 22 โรงงาน พร้อมเร่งตั้งโรงงานแปรรูปยางในไทยและลาวเพิ่ม ทวงนักการเมืองอย่าลืมสัญญาดันราคายาง 70 บาท/กก. ช่วยเกษตรกร-ผู้ส่งออกกระเป๋าตุง

จากที่ บริษัท ไทยฮั้วยางพารา จำกัด (มหาชน) (บมจ.) ได้ควบรวมกิจการกับ "กลุ่มก๋วงเขิ่น รับเบอร์" รัฐวิสาหกิจด้านยางพารารายใหญ่จากจีน ที่ได้เข้ามาทำธุรกิจแปรรูปยางพาราส่งออกในไทย ในนาม บริษัท ไทยก๋วงเขิ่น รับเบอร์ฯ ล่าสุด ทางไทยก๋วงเขิ่นได้ถือหุ้นในไทยฮั้ว 61% และส่งคนรุ่นใหม่จากจีนเป็นผู้บริหารงานในรูปคณะกรรมการบริษัทนั้น
 
 นายหลักชัย กิตติพล ประธานกิตติมศักดิ์ บมจ.ไทยฮั้วยางพารา เผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า การควบรวมกิจการดังกล่าวได้เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปีที่แล้ว ซึ่งล่าสุด ได้รวมกิจการโรงงานแปรรูปยางพาราของไทยก๋วงเขิ่น 5 โรงงาน เข้ามารวมในไทยฮั้ว ซึ่งมี 17 โรงงาน เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ส่งผลให้เครือมีโรงงานแปรรูปยาง (ยางแท่ง ยางแผ่น นํ้ายางข้น) รวม 22 โรงงาน กำลังผลิตรวมประมาณ 9 แสน - 1 ล้านตันต่อปี ขณะที่ ทางกลุ่มอยู่ระหว่างการสร้างโรงงานแปรูปยางที่ได้รับการส่งเสริมจากบีโอไอแล้วอีก 6 โรงงาน (เชียงราย ยโสธร ศรีสะเกษ มุกดาหาร กาฬสินธุ์ อุบลราชธานี) เป้าหมายกำลังการผลิตโรงงานละ 5 หมื่นตัน ขณะนี้อยู่ระหว่างการสร้างโรงงานที่ยโสธร หากแล้วเสร็จก็จะเริ่มดำเนินการในจังหวัดที่เหลือต่อไป
 
 ขณะเดียวกัน อยู่ระหว่างการก่อสร้างโรงงานยางแท่งที่นครหลวงเวียงจันทน์ของ สปป.ลาว เป้าหมายกำลังผลิต 5 หมื่นตัน แต่ระยะเริ่มต้นจะเริ่มที่ 2 หมื่นตันต่อปีก่อน เพราะยังไม่แน่ใจว่าจะมีวัตถุดิบยางพารารองรับเพียงพอต่อเป้าหมายหรือไม่ ซึ่งขณะนี้ ทางเครือมีสวนยางในลาว 4 พื้นที่ (เวียงจันทน์ บอลิคำไซ คำม่วน สะหวันเขต) ราว 5 หมื่นไร่ ซึ่งการลงทุนตั้งโรงงานเพิ่ม ทั้งในและต่างประเทศ จะช่วยเพิ่มกำลังผลิตของเครือเป็น 1.5 ล้านตัน ใน 2-3 ปีนับจากนี้




"ในปี 2562 คาดไทยฮั้วจะมียอดขายประมาณ 1 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่า 3-4 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2561 ที่มียอดขายกว่า 5 แสนตัน มูลค่าราว 2 หมื่นล้านบาท ยอดขายที่จะเพิ่มขึ้น ผลพวงจากเรามีกำลังผลิตเพิ่มขึ้นหลังควบรวมกับไทยก๋วงเขิ่นแล้ว ขณะที่ มองว่าราคายางในประเทศจะปรับตัวสูงขึ้นจากที่นักการเมืองที่จะมาเป็นว่าที่รัฐบาลใหม่ได้ให้คำมั่นสัญญา ว่า จะผลักดันราคายางในประเทศให้ได้ 60-70 บาทต่อกิโลกรัม (กก.) ซึ่งจะทำให้เกษตรกรและผู้ส่งออกมีรายได้เพิ่มขึ้นจากราคายางที่จะปรับสูงขึ้น เรื่องนี้ขอให้นักการเมืองได้รักษาสัญญาด้วย"
 
 สำหรับสถานการณ์ราคายางพารา ณ เวลานี้ ปรับตัวสูงขึ้น (ราคาอ้างอิง ณ ตลาดท้องถิ่น จ.สงขลา วันที่ 11 เม.ย. 2562 ยางแผ่นดิบอยู่ที่ 48.70 บาทต่อ กก., นํ้ายางสด ณ โรงงาน 51.50 บาท/กก., ราคาประมูล ณ ตลาดกลางฯ ยางแผ่นดิบ 51.35 บาท/กก., ยางแผ่นรมควันชั้น 3 54.45 บาท/กก.) ปัจจัยที่มีผลทำให้ราคายางปรับตัวสูงขึ้น ได้แก่ 1.เกษตรกรหยุดกรีดยางช่วงหน้าแล้ง 2.อินโดนีเซียและมาเลเซียได้เริ่มจำกัดการส่งออกยางตั้งแต่เดือน เม.ย. นี้ ส่วนไทยรอรัฐบาลใหม่มาดำเนินการในเรื่องนี้ เพื่อรักษาสัญญาที่ให้ไว้กับทั้ง 2 ประเทศ



หน้า 8 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 39 ฉบับ 3,461 วันที่ 14-17 เมษายน 2562