ผู้เขียน หัวข้อ: พิษราคายางธุรกิจผลิตกล้าทรุด!  (อ่าน 1214 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 84444
    • ดูรายละเอียด
พิษราคายางธุรกิจผลิตกล้าทรุด!
« เมื่อ: กันยายน 09, 2013, 07:05:30 AM »

วันจันทร์ที่ 9 กันยายน 2556
 
พิษราคายางธุรกิจผลิตกล้าทรุด!
 
พิษราคายางลามถึงธุรกิจผลิตต้นกล้า ต้องสังคายนาใหญ่ก่อนหายนะมาเยือน : ดลมนัส กาเจ ... รายงาน
 
 
                         นับตั้งแต่ราคายางพาราตกต่ำและหลุดเพดาต่ำกว่า กก.ละ 100 บาท เมื่อปลายเดือนตุลาคม 2554 และตกต่ำสุดขีดในวันที่ 2 สิงหาคม 2556 ที่ราคายางแผ่นดิบอยู่ที่ กก.ละ 67.20 บาท และน้ำยางสดอยู่ที่ กก.ละ 63 บาท สร้างความเดือดร้อนให้แก่เกษตรกรทั้งที่เป็นชาวสวนยางพารา คนรับจ้างกรีดยางอย่างทั่วหน้า จนกลายเป็นที่มาของการชุมนุมประท้วงปิดถนนในหลายพื้นที่ของ???าคใต้ตั้งแต่วันที่ 3 กันยายนที่ผ่านมา
                         การที่ราคายางพาราตกต่ำไม่เพียงแต่จะสร้างความเดือดร้อนให้เกษตรกรชาวสวนยางพาราและผู้กรีดยางเท่านั้น หากแต่ลามไปถึงผู้ประกอบการผลิตและจำหน่ายต้นกล้ายางพาราอีกด้วย โดยที่คนกลุ่มนี้ไม่มีใครพูดถึง ทั้งที่ความเป็นจริงเกษตรกรรายย่อยที่ประกอบกิจการผลิตและจำหน่ายต้นกล้าจำนวนไม่น้อยที่ต้องหยุดกิจการ ขณะที่ผู้ประกอบการรายใหญ่ที่อยู่ได้ต้องประคอง เพราะนอกจากยอดจำหน่ายต้นลดลงแล้ว ราคายังตกต่ำกว่า 50%
                         จากการสำรวจอย่างคร่าวๆ ของ "คม ชัด ลึก" พบว่าในพื้นที่???าคใต้ซึ่งเป็นแหล่งผลิตต้นกล้ายางพารา ปัจจุบันต้นกล้าตาเขียวพันธุ์อาร์อาร์ไอเอ็ม 600 อยู่ที่ 10-12 บาท จากเดิมอยู่ที่ต้นละ 30-35 บาท ต้นกล้าชำถุงราคาอยู่ที่ต้นละ 15-20 บาท จากเดิมอยู่ที่ 40-50 บาท ส่วนของเอกชนพันธุ์เคที 311 อยู่ที่ 50-60 จากเดิม 70-80 บาท ส่วนใน???าคอีสานปัจจุบันราคาต้นกล้าชำถุงพันธุ์อาร์อาร์ไอเอ็ม 600 อยู่ที่ต้นละ 25 บาท จากเดิมที่เคยสูงถึงต้นละ 60-80 บาท ส่วนพันธุ์อาร์อาร์ไอที 251 ราคาอยู่ที่ต้นละ 30 บาท ของเอกชนอย่างเจบีพี 80 ต้นละกว่า 50  บาท
                         นายขุนศรี ทองย้อย รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส บริษัท เจริญโ???ค???ัณฑ์พืชครบวงจร จำกัด หรือเจริญโ???ค???ัณฑ์ (ซีพี) ซึ่งดูแลธุรกิจเกี่ยวกับการผลิตและจำหน่ายต้นกล้ายางพาราพันธุ์เจบีพี 80 ที่ระบุว่าตลอดระยะเวลา 2 ปีที่ผ่านมานับตั้งแต่ราคายางพาราลดลงหลุดเพดานราคา กก.ละ 100 บาท ทำให้กิจการด้านผลิตและจำหน่ายกล้ายางพาราลดลงอย่างต่อเนื่อง ยิ่งในปีนี้เกิด???าวะแล้งหนัก ทำให้เกษตรกรหันไปปลูกพืชอื่นแทน ส่งผลให้ยอดขายกล้ายางลดลงกว่า 50% และราคาตกต่ำอีกด้วยอย่างกล้าพันธุ์จีบีพี 80 เมื่อ 3 ปีก่อนยอดขายปีละกว่า 1 ล้านต้น ปีนี้เหลือเพียง 5 แสนต้นเท่านั้น ราคาต้นละ 100 บาท ซื้อ 1 ต้น แถม 1 ต้น เท่ากับขายจริงอยู่ที่ต้นละ 50 บาท
                         "ยางพาราเป็นไม้ยืนต้น อยู่ได้ 25-30 ปี หลังจากอายุ 7 ปี กรีดได้ตลอด ฉะนั้นปัจจัยด้านราคาไม่แน่นอน ขึ้นๆ ลงๆ ไม่ใช่ว่าปีนี้ราคาตกต่ำเราจะขาดทุนทันที แต่ปีหน้าราคาอาจดีขึ้นเกษตรกรก็มีรายเพิ่ม ขึ้นอยู่กับกลไกลตลาด แต่ในช่วงที่ราคาตกต่ำ ยางล้นตลาดก็ควรให้เกษตรกรงดการกรีดไว้ก่อน แต่ให้รัฐจ่ายค่าชดเฉยในส่วนที่หยุดกรีด เมื่อตลาดต้องการยางสูง ราคาขึ้นให้เกษตรกรกรีดเหมือนเดิม  รัฐก็ยกเลิกค่าชดเชยเป็นกรณีๆ ไป ส่วนที่เหลือค้างสต็อก ต้องหาแนวทางแปรรูป โดยเฉพาะการสร้างถนนผสมยางมะตอยผสมเพียง 2% สามารถแปรรูปได้ถึง 2 แสนตัน" นายขุนศรี กล่าว
                         สอดคล้องกับ นายทรงศักดิ์ ประจงจัด นายกสมาคมชาวสวนยางจังหวัดเลย และรองประธานคณะเกษตร ส???าที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่กล่าวในรายการ "เกษตรทำกินกับคมชัดลึก" ช่วง "???ัยเกษตรกร" ออกอากาศทางช่อง "คมชัดลึก ทีวี" เมื่อวันอาทิตย์ที่ 8 กันยายนที่ผ่านมาว่า ช่วงที่ราคา กก.ละ 120-150 บาท ทำให้เกษตรกรใน???าคอีสานตื่นตัวและหันมาปลูกยางพาราเป็นจำนวนมาก พ่อค้า ผู้ผลิตและจำหน่ายต้นกล้ายางจาก???าคใต้ไปตั้งโรงเรือนหรือเนิร์สเซอรี ขายกล้าพันธุ์ยางชำถุงในพื้นที่???าคอีสานหลายจังหวัด แต่พอราคายางตกต่ำมาตั้งแต่ช่วงกลางปี 2554 กิจการผลิตและจำหน่ายต้นกล้าชำถุงใน???าคอีสานซบเซาอย่างเห็นได้ชัด รายย่อยปิดกิจการ ที่เหลือก็มีต้นกล้าจำนวนมากและราคาถูกด้วย อย่างพันธุ์ยางอาร์อาร์ไอเอ็ม 600 ขายกันต้นละ 25 บาท จากเดิมที่เคยสูงถึงต้นละ 50-70  บาท ส่วนพันธุ์อาร์อาร์ไอที 251 ต้นละ 30 บาท ของเอกชนราคาก็ลดงเช่นกัน
                         อย่างไรก็ตาม แม้ราคายางพาราตกต่ำ แต่ยังมีเกษตรกรส่วนหนึ่งยังต้องการปลูกยางพารา เพราะคำนวณแล้วยังมีรายได้ดีกว่าปลูกพืชอย่างอื่น นายทรงศักดิ์ จึงแนะนำว่า เกษตรกรต้องหาแนวทางลดต้นทุนการผลิต ขณะนี้เขากำลังศึกษาอยู่ โดยเฉพาะเรื่องของปุ๋ย บางครั้งใช้ปุ๋ยไม่ตรงกับความต้องการของดิน และใช้ปุ๋ยเคมี หากเกษตรกรไม่มีความรู้ สามารถปรึกษาพัฒนาที่ดินของกรมพัฒนาที่ดินในพื้นที่ได้ทุกจังหวัด และพร้อมจะบริการและอบรมเกษตรกร ทั้งการตรวจดิน การผลิตปุ๋ย ยาฆ่าแมลงสูตรต่างๆ มาใช้เอง
                         ขณะที่ นาย???ราดร นุชิตศิริ???ัทรา รองเลขาธิการหอการค้าจังหวัดตรังฝ่ายเกษตร ในฐานะผู้ประกอบการผลิตและจำหน่ายกล้ายางพารา และเจ้าของพันธุ์ยางเคที 311 ที่ อ.ปะเหลียน จ.ตรัง ระบุว่า เขาเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายกล้ายางพารารายใหญ่และเก่าแก่ใน จ.ตรัง ทำให้เกษตรกรมีความเชื่อถือมายาวนาน จึงสามารถประคองอยู่ได้แม้ยอดขายลดลง และราคาตกต่ำ แต่รายย่อยกระทบหนักบางรายเลิกกิจการ
                         "ของผมที่อยู่ได้เพราะพันธุ์เคที 311 ผมมีเจ้าเดียว คนที่ทราบถึงคุณสมบัติของยางพันธุ์เคที 311 ต้องมาที่ผมเท่านั้น ผมจึงแนะนำว่าในช่วงที่ราคายางตกต่ำเราต้องหาแนวทางแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน คือลดต้นทุนโดยเฉพาะการเลือกต้นกล้าพันธุ์ ต้องเลือกสายพันธุ์ที่แข็งแรง ให้ผลผลิตมาก เมื่อต้นยางแข็งแรง โรคต่างๆ ก็ไม่มี ยาฆ่าแมลงก็ใช้น้อยลงด้วย" นาย???ราดร กล่าว
                         เป็นที่น่าสังเกตท่ามกลางราคายางพาราตกต่ำ และส่งผลให้ต้นกล้าพันธุ์ยางตกต่ำกว่า 50% แต่หากดูข้อมูลจากสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร พบว่าต้นทุนการผลิตยางพารากลับแพงขึ้นจาก กก.ละ 52 บาทในปี 2554 มาเป็น 64.19 บาทในปี 2555 นั่นหมายถึงว่าการทำสวนยางต้องใช้ทุนมากขึ้น แต่รายได้ลดลง
                         ถึงเวลาแล้วที่ทุก???าคส่วนต้องหันหน้ามาสังคายนาทั้งระบบ เริ่มจากต้นน้ำคือ???าคการเพาะปลูกที่ต้องเลือกที่ดินที่เหมาะสม ใส่ปุ๋ยตามที่พืชต้องการ ผลิตปุ๋ย ยาฆ่าแมลงใช้เอง ใช้ปุ๋ยเคมีเท่าที่จำเป็น เลือกกล้ายางมีคุณ???าพ ส่วนที่กลางน้ำต้องหาแนวทางในการแปรรูป ที่ทำได้ทันทีคือนำมาเป็นส่วนผสมในการทำถนน ขณะที่ปลายน้ำต้องขยายตลาดให้มากขึ้น ก่อนที่วงการผลิตยางพาราของไทยจะประสบกับความหายนะมากกว่าที่เป็นอยู่
 
 
-----------------------
(พิษราคายางลามถึงธุรกิจผลิตต้นกล้า ต้องสังคายนาใหญ่ก่อนหายนะมาเยือน : ดลมนัส กาเจ ... รายงาน)