ผู้เขียน หัวข้อ: ชาวสวนยาง300ราย ร้องไม่มีเงินจ่ายหนี้ธกส. วอนรัฐช่วย  (อ่าน 812 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 84473
    • ดูรายละเอียด
ชาวสวนยาง300ราย ร้องไม่มีเงินจ่ายหนี้ธกส. วอนรัฐช่วย

7 พฤศจิกายน 2560   


 
ที่มา กรุงเทพธุรกิจ 
 สหกรณ์ยางสังกัด กยท. และสมาชิกสหกรณ์ร้องไม่มีเงินจ่ายหนี้ ธกส. สิ้นปีนี้ วอนกยท.และรัฐบาลเร่งปัญหาราคายางตกต่ำ

(7 พฤศจิกายน 2560) ที่สหกรณ์กองทุนสวนยางบ้านทุ่งต่อ ต.ทุ่งต่อ อ.ห้วยยอด จ.ตรัง ชาวสวนยางเกือบ 300 ราย ซึ่งเป็นสมาชิกสหกรณ์ฯต่างต้องขยันกรีดยางพารา แม้จะมีฝนตกโปรยปรายลงมาในเวลากลางคืน ก็ยังต้องออกกรีดยางแม้จะเสี่ยงกับการถูกฝนตกใส่น้ำยาง อาจเก็บน้ำยางไม่ได้ และราคายางพาราตกต่ำ


เนื่องจากมีรายได้ไม่เพียงพอรายจ่าย และต่างก็เป็นหนี้สิน และยังต้องส่งลูกหลานเรียนหนังสือ แต่ละรายกำลังได้รับความเดือดร้อนอย่างหนัก จากการหนี้สินธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์(ธกส.) รวมทั้งเป็นหนี้สหกรณ์ หนี้กองทุนหมู่บ้าน และหนี้นอกระบบ ต่างวอนขอให้การยางแห่งประเทศไทย และรัฐบาลซึ่งมีหน้าที่โดยตรง เร่งแก้ปัญหา ทั้งนี้ แต่ละรายเป็นสหกรณ์และหนี้ ธกส.คนละหมายหมื่นบาท จนถึงหลายแสนบาท ได้รับความเดือดร้อนอย่างมาก
นางอัมพร สิทธิชัย อายุ 56 ปี กล่าวว่า ตนเป็นหนี้ ธกส.จำนวน 130,000 บาท เดือนธันวาคมนี้ ก็จะต้องเอาเงินผ่อนจ่ายตามสัญญา แต่ยังไม่มีเงิน เช่นเดียวกับนายโสภณ พฤฒิฌาญาณ อายุ 60 ปี กล่าวว่า ตนเองเป็นหนี้สหกรณ์การเกษตร อ.ห้วยยอด จำนวน 50,000 บาท จะต้องผ่อนจ่ายทุกเดือนๆละ 3,000 บาท แต่ขณะนี้ค้างจ่ายมาแล้ว 4 เดือน และก็ต้องถูกปรับด้วย แต่ก็ยังไม่มีเงินจ่ายเช่นเดียวกัน

ขณะที่นางทฤษฎี เลาหประภานนท์ อายุ 50 ปี กล่าวว่า ตนเองเป็นหนี้ ธกส.จำนวน 250,000 บาท ปลายเดือนธันวาคมนี้ ก็ถึงกำหนดผ่านจ่ายเช่นกัน แต่ขณะนี้ยังไม่มีเงินจะจ่ายเช่นกัน โดยทุกคนต่างวอนขอให้รัฐบาล และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งแก้ปัญหา อยากให้ราคายางปรับไปอยู่ที่กิโลกรัมละ 70 บาท จะทำให้สามารถลืมตาอ้าปาก มีเงินไปใช้หนี้ได้ในสิ้นปีนี้ เพราะต้นทุนการผลิตยางอยู่ที่กิโลกรัมละ 66 บาทแล้ว

ขณะที่นายอุทัย ศรีเทพ ประธานสหกรณ์กองทุนสวนยางบ้านทุ่งต่อ กล่าวว่า ขณะนี้ชาวสวนยางทั่วประเทศกำลังจะล้มละลาย เนื่องจากว่า ขณะนี้ราคายางพาราตกต่ำเหลือกิโลกรัมละ 40 ? 41 บาท (ซื้อที่สหกรณ์ 40-41 บาท แต่ตามจุดรับซื้อทั่วไปตามตำบล หมู่บ้าน จะอยู่ที่กิโลกรัมละ 38 ? 39 บาท ) แต่ต้นทุนของเกษตรกรจะอยู่ที่กิโลกรัมละ 66 บาท ตามที่กรมวิชาการเกษตรได้คำนวณไว้ แต่ขณะนี้ราคายางลงมาอยู่ที่กิโลกรัมละ 40 บาท บางแห่งไม่ถึง เท่ากับว่าเกษตรกรชาวสวนยางจะขาดทุนยางพาราทุกๆกิโลกรัมๆละกว่า 26 ? 28 บาท ชีวิตชาวสวนยางจึงจะล้มลาย จะมีชีวิตยืนอยู่ไม่ได้แล้ว
ในส่วนของสมาชิกสหกรณ์กองทุนสวนยางบ้านทุ่งต่อเองมีสมาชิกเกือบ 300 คน ทั้งหมดเป็นหนี้ ทั้ง ธกส ,หนี้สหกรณ์,หนี้กองทุนหมู่บ้าน และหนี้นอกระบบอีกเป็นจำนวนมาก ทั้งนี้ มีจำนวนมากที่ขอกู้เงินจากสหกรณ์ไปใช้จ่ายก่อน โดยเมื่อปี 2559 ที่ผ่านมา มีสมาชิกเป็นหนี้สหกรณ์อยู่รวมประมาณ 50,000 บาท แต่ปีนี้สมาชิกเป็นหนี้เพิ่มรวมแล้วประมาณ 300,000 บาท สหกรณ์แม้ไม่มีเงินเนื่องจากกำลังประสบปัญหาเดือดร้อนจากราคายางพาราตกต่ำรายวันเช่นเดียวกัน ก็ไม่มีเงิน แต่เมื่อสมาชิกเดือดร้อนขอกู้ไปหมุนเวียนใช้จ่ายก่อน ก็จะเป็นต้องช่วยเหลือ

ทั้งนี้ การที่มีเกษตรกรชาวสวนยางออกมาเรียกร้องให้ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย และคณะกรรมการการยางแห่งประเทศไทย (บอร์ด) แสดงความรับผิดชอบต่อปัญหาราคายางที่เกิดขึ้น ส่วนตัวก็เห็นด้วย เพราะรายได้หลักของการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) มาจากเงินภาษีจากน้ำยางทุกหยด / ทุกกิโลกรัมของชาวสวนยางทั่วประเทศ ซึ่งชาวสวนยางทั่วประเทศ เป็นผู้ไม่มีทางต่อสู้ แต่เราจ่ายเงินภาษีจากน้ำยางทุกหยดให้เขาเข้าไปทำงานเป็นตัวแทนแทนชาวสวนยางทั่วประเทศแล้ว
ดังนั้น ปัญหาที่เกิดขึ้นผู้บริหาร กยท.และตัวแทนเกษตรกรที่เข้าไปทำหน้าที่แทนชาวสวนยางจะต้องต่อสู้แก้ไขปัญหาแทนชาวสวนยางทุกคน นอกจากนั้น ปัญหาราคายางพาราตกต่ำขณะนี้ ยังทำให้คนงานกรีดยางในสวนยางหลายแปลงลาออกไปทำอาชีพอื่นจึงทำให้หลายแปลงไม่มีคนกรีดยาง ต้องปล่อยให้ทิ้งร้าง ขณะที่สหกรณ์เอง ซึ่งรับซื้อน้ำยางสดจากสมาชิกต้องนำมาแปรรูปเป็นยางแผ่นรมควัน ต่างก็ประสบปัญหาขาดทุนเช่นเดียวกัน เนื่องจากราคายางลดลงทุกวัน ขายไม่ได้กำไร ทำให้สหกรณ์หลายแห่งขาดสภาพคล่องในการดำเนินงานเช่นเดียวกัน จึงอยากเรียกร้องให้ กยท.และตัวแทนชาวสวนยางที่เข้าไปทำหน้าที่ในบอร์ด กยท.ทำหน้าที่ของตนเองในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นโดยด่วน เพราะขณะนี้ชาวสวนได้รับความเดือดร้อนอย่างหนัก
     
 คลิปข่าว


http://videolink.nationchannel.com/data/11/2017/11/07/hk6eke6g9bic9d9ddj8dj.mp4