ผู้เขียน หัวข้อ: ค่าบาท 'ทรงตัว' รอเฟดขึ้นดอกเบี้ย  (อ่าน 553 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 85163
    • ดูรายละเอียด
ค่าบาท 'ทรงตัว' รอเฟดขึ้นดอกเบี้ย
« เมื่อ: มิถุนายน 12, 2017, 09:00:53 AM »
ค่าบาท 'ทรงตัว' รอเฟดขึ้นดอกเบี้ย



จันทร์ 12  มิถุนายน 2560  ที่มา กรุงเทพธุรกิจ

 
บาทเปิดตลาดทรงตัวที่ "34.06 บาทต่อดอลลาร์" รอการขี้นดอกเบี้ยเฟดในวันพุธนี้ มองตลาดรับข่าวไปหมดแล้วระยะสั้นเงินบาทไม่น่าอ่อนค่ามากนัก
นายจิติพล พฤกษาเมธานันท์ นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า ค่าเงินบาทเปิดเช้าวันนี้ที่ระดับ 34.06 บาทต่อดอลลาร์ ไม่เปลี่ยนแปลงจากปิดสิ้นวันก่อน นักลงทุนยังคงรอดูการขึ้นดอกเบี้ยของเฟดในคืนวันพุธนี้
ฝั่งเงินบาทมองว่าตลาด ?รับข่าว? การขึ้นดอกเบี้ยไปหมดแล้ว ดังนั้นอาจจะไม่มีการปรับตัวอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์ในระยะสั้นมากนัก อย่างไรก็ตามยังมองว่าในระยะยาว ต้นทุนที่สูงขึ้นของเงินดอลลาร์จะส่งผลให้ความน่าสนใจของบอนด์ไทยมีน้อยลง เงินทุนไหลเข้าฝั่งไทยจะค่อย ๆ ปรับตัวลดลง แต่เงินบาทจะอ่อนค่าได้ก็ต่อเมื่อดอกเบี้ยนโยบายของเฟด ปรับสูงขึ้นกว่าระดับดอกเบี้ยนโยบายของธปท. ที่ 1.50%


มองกรอบค่าเงินระหว่างวันที่ระดับ 34.00-34.10 บาทต่อดอลลาร์และมองกรอบสัปดาห์ที่ระดับ 33.80-34.30 บาทต่อดอลลาร์
ในสัปดาห์นี้จับตาการประชุมธนาคารกลางสหรัฐในวันอังคารถึงพุธ และธนาคารกลางญี่ปุ่นในวันศุกร์
ที่น่าสนใจมากที่สุดคือส่วนของธนาคารกลางสหรัฐหรือเฟด โดยในการประชุมครั้งนี้ มองว่าเฟดจะ ?ขึ้นดอกเบี้ย 0.25%? มาที่ระดับ 1.00-1.25% เนื่องจากเศรษฐกิจสหรัฐเติบโตได้ดีและการว่างงานต่ำกว่าเป้าหมายของเฟด สิ่งที่ตลาดน่าจะให้ความสนใจมากนอกจากการขึ้นดอกเบี้ยคือประมาณการตัวเลขเศรษฐกิจของเฟดและแนวโน้มการขึ้นดอกเบี้ยในอนาคต (dot plot) ในครั้งนี้มองว่ามีความเสี่ยงที่คาดการดอกเบี้ยของเฟดอาจมีการ ?ปรับลดลง? เล็กน้อย เนื่องจากมีเฟดสองท่านที่เปลี่ยนแปลงในรอบนี้ (Tarullo และ Lanker ที่ทั้งสองท่านเป็นผู้สนับสนุนการขึ้นดอกเบี้ยเร็วขึ้นกว่าปัจจุบัน) แต่อาจมีการ ?ปรับมุมมอง? การว่างงานลงพร้อมกับเงินเฟ้อจึงอาจส่งผลให้ค่างเงินดอลลาร์ไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก ในส่วนสุดท้ายเรื่องการลดขนาดงบดุลของเฟด น่า ?จะยังไม่มีการให้ข้อมูลเพิ่มเติม? ในครั้งนี้เช่นเดิม โดยมองว่าเฟดจะเริ่มให้ข้อมูลในการประชุมวิชาการ Jackson Hole Symposium เดือนส.ค. นี้
ในส่วนของธนาคารกลางญี่ปุ่นคาดว่าจะคงนโยบายการเงินทั้งหมด โดยดอกเบี้ย Policy balance rate ที่ระดับ -0.10% และเป้าหมายบอนด์ยีลด์ญี่ปุ่นอายุ 10ปีที่ระดับ 0.00% เนื่องจากเศรษฐกิจญี่ปุ่นพึ่งเริ่มฟื้นตัวขณะที่เงินเฟ้อยังอยู่ในระดับต่ำ