ผู้เขียน หัวข้อ: "จุดจบแมงเม่า" บนเส้นทางการเก็งกำไร  (อ่าน 638 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 85147
    • ดูรายละเอียด
"จุดจบแมงเม่า" บนเส้นทางการเก็งกำไร
« เมื่อ: มิถุนายน 09, 2017, 09:56:24 PM »
"จุดจบแมงเม่า" บนเส้นทางการเก็งกำไร

Update: 15.39 น. 9 มิ.ย. 60 ที่มา moneychannel



 




ในปี 2536 ซึ่งเป็นช่วงที่ตลาดหุ้นไทยบูมมาก ดัชนีขยับจาก 900 จุด ในเดือนกันยายนมาทะลุ 1,600 จุดปลายๆ ในช่วงปลายปี โดยเขาใช้ ?มาร์จิ้น?  มาช่วยเร่งการเติบโตเช่นเดิม ซึ่งก็ทำให้พอร์ตลงทุนของเขาขยายตัวเร็วมาก

   เปิดศักราชปี 2537 ไม่นาน ตลาดหุ้นไทยมีแรงขายอย่างหนัก ด้วยความเชื่อว่า เดี๋ยวตลาดหุ้นก็ขึ้นเขาจึงเก็บหุ้นเข้าพอร์ตเพิ่ม ซึ่งในช่วง 2-3 เดือนนั้น หุ้นไทยขึ้นแรงลงแรงจนเขาเริ่มคิดได้ว่าเหตุที่หุ้นไทยไหลลงแรงเป็นเพราะ การเก็งกำไรของนักลงทุนต่างชาติเขาจึงตัดสินใจล้างพอร์ต ซึ่งขณะนั้นมีหุ้น ราว 5-6 ตัว

   จากมูลค่าพอร์ตสูงสุดที่หนึ่งร้อยล้านบาทในช่วง 2 ปีก่อนหน้า หลังขายหุ้นทิ้ง เขาคงเหลือเงินเพียง 5 ล้านบาท โดยเหตุผลของการขาดทุนสาหัสนี้ เป็นเพราะเขาใช้มาร์จิ้นถึง 4-5 เท่าของพอร์ต
   หลังขาดทุนหนักในครั้งนี้ นเรศและเพื่อนสนิทตัดสินใจ ?พักยก? การลงทุน ทันทีเพราะเชื่อว่าตลาดหุ้นไทยจะผันผวนและตกต่ำไปอีกนาน

?กู้ฐานะ? ด้วยวอร์แรนต์
   ตลอด 4 ปีที่รอตลาดหุ้นกลับมานเรศใช้เวลาว่างศึกษาการลงทุนแนว วีไอควบคู่กับเข้าวัดนั่งสมาธิ กระทั่งปี 2541 ฝันที่รอคอยก็มาถึงดัชนีตลาดหุ้นที่ต่ำลงจากวิกฤติต้มยำกุ้งเริ่มยืนอยู่ระดับ 400 จุด เขาจึงกลับเข้ามาลงทุน อีกรอบ ขณะที่เพื่อนสนิทกลับโบกมือลา ตลาดหุ้นเนื่องจากผันตัวไปทำธุรกิจ
   ดัชนีตลาดหุ้นจาก 400 จุดที่เขาเชื่อว่าน่าจะเป็นจุดต่ำสุดยังคงลงไปต่อจนแตะจุดต่ำสุดของวิกฤติต้มยำกุ้งที่ระดับ 214.53 จุด ในเดือนสิงหาคม ปี 2541 ส่งผลให้เงินต้นกว่า 5 ล้านบาทที่เหลือจากตลาดหุ้นครั้งก่อนลดลงไปอีกเกือบครึ่ง

   แต่เพราะความมั่นใจว่า ตลาดหุ้นจะกลับมาแน่ เขาจึงอดใจรอ จนปี 2542 ดัชนีตลาดหุ้นกลับมาที่ 500 จุด มูลค่าพอร์ตของเขาโตขึ้นราว 30 เท่า หรือ 3,000% ด้วยหุ้นตัวเดียวคือ หุ้นเอกธำรง หรือ S-ONE โดยเขาใช้มาร์จิ้นและ ซื้อหุ้นแม่สลับกับวอร์แรนต์ (Warrant) เพื่อเร่งกำไรจำนวนมาก
   วอร์แรนต์คือสิทธิ์ในการซื้อหุ้นสามัญในเวลาที่กำหนด ซึ่งส่วนใหญ่ วอร์แรนต์มักกำหนดราคาไว้สูงกว่าราคาหุ้นแม่ในตลาด ณ วันที่ออกวอร์แรนต์ คนจึงจะไม่ใช้สิทธิ์จนกว่าราคาหุ้นแม่ในตลาดจะสูงกว่าราคาใช้สิทธิ์

   ?วอร์แรนต์เป็นเสน่ห์ของหุ้น ซึ่งคนทั่วไปไม่ค่อยมองกัน หุ้นสามัญที่มี วอร์แรนต์ประกอบในการซื้อขายมักจะได้รับความสนใจมากขึ้นทำให้ผมบางทีก็ซื้อหุ้นบ้าง วอร์แรนต์บ้าง แต่ผมจะเล่นวอร์แรนต์ที่สมเหตุสมผลเท่านั้นคือ หุ้นแม่ต้องดี และในอนาคตก็ต้องดีพอที่จะทำให้เราอยากใช้สิทธิ์ซื้อหุ้นแม่?

   เพราะวอร์แรนต์มีมาร์จิ้น (ส่วนต่างกำไรขาดทุน) ที่สูงกว่า เพราะราคาขึ้นลง ได้มากกว่าและเร็วกว่าหุ้นแม่อัตราผลตอบแทนจึงสูงกว่าขณะที่ความเสี่ยง ก็สูงกว่า จึงมีคำกล่าวว่า ?วอร์แรนต์เป็นสิ่งที่อันตรายยิ่ง แต่ก็ให้ผลตอบแทนที่ดียิ่ง หากลงทุนถูกจังหวะ? ซึ่งจังหวะในการลงทุนวอร์แรนต์คือช่วงที่ภาวะตลาดหุ้นอยู่ในขาขึ้น

   นเรศอวดว่า หลายคนอาจยังไม่รู้ว่า เขาเป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่องการลงทุน วอร์แรนต์คนหนึ่ง ซึ่งถ้าสังเกตดีๆ เขามีหุ้นหลายตัวที่ถือคู่กับวอร์แรนต์
   เพียงไม่นาน พอร์ตของเขาก็กลับมาเท่ากับช่วงก่อนปี 2537 แล้วขยับ ขึ้นไปถึง 170 ล้านบาท ณ ปลายปี 2542

ก่อน "นเรศ งามอภิชน" จะเริ่มก้าวเข้าสู่การลงทุนแนว วีไอ (Value Investment) ...