ผู้เขียน หัวข้อ: ยางพาราแพง ชาวสวนเร่งกรีดยาง ก่อนโค่นขายไม้ (10/03/2560)  (อ่าน 1168 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 84889
    • ดูรายละเอียด
ยางพาราแพง ชาวสวนเร่งกรีดยาง ก่อนโค่นขายไม้ (10/03/2560)

การยางแห่งประเทศไทย เร่งให้การช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย น้ำท่วมในพื้นที่ อ.ท่าชนะ- อ.ไชยา ขณะที่ชาวสวนเร่งกรีดยางช่วงกลางวันเนื่องจากยางแพง
ภาย หลังจากหลายพื้นที่ใน จ.สุราษฎร์ธานีประสบภัยพิบัติจากน้ำป่าไหลหลาก และน้ำท่วมขังเป็นบริเวณกว้าง และขณะนี้ยังมีร่องรอยความเสียหายให้เห็นเป็นจำนวนมาก โดยหน่วยงานภาครัฐทยอยให้การช่วยเหลืออย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการฟื้นฟูและการประกอบอาชีพเสริม และล่าสุดทางการยางแห่งประเทศไทย สาขาไชยา ได้ทยอยให้ความช่วยเหลือชาวสวนยาง ที่ประสบกับภัยพิบัติกับเจ้าของสวนยาง ที่มียางล้มตายและเสียหายจากภัยพิบัติรายละ 3,000 บาท

นายญาณกิตต์ ฮารุดีน ผู้อำนวยการ การยางแห่งประเทศไทย สาขา ไชยา กล่าวว่า การยางแห่งประเทศไทยให้การช่วยเหลือชาวสวนยาง ที่ประสบอุทกภัยในช่วงต้นปีที่ผ่านมา กับเจ้าของสวนยางรายละ 3,000 บาท ตามระเบียบของทางราชการโดยช่วงนี้ทยอยให้การช่วยเหลือเรื่อยๆ และสำหรับเจ้าของสวนยางที่ต้องการปลูกยางใหม่ ทางการยางแห่งประเทศไทยให้การดูแลไร่ละ 16,000 บาท เป็นเวลา 6 ปีครึ่งจนกว่าจะกรีดยางได้ พร้อมกับแนะนำการปลูกพืชเสริม ช่วงระหว่างที่กรีดยางไม่ได้เช่นเพาะเห็ด ปลูกกล้วยหอม เพื่อสร้างรายได้ ซึ่งช่วงน้ำป่าไหลหลากในพื้นที่ อ.ท่าชนะและไชยาครั้งนี้นับว่ารุนแรงมาก สวนยางแปรเปลี่ยนสภาพเป็นบริเวณกว้าง

ขณะเดียวกันชาวสวนยางบางราย เร่งกรีดยางในช่วงกลางวัน เพื่อที่จะเอาน้ำยางให้ได้มากที่สุด ก่อนที่จะโค่นยางเตรียมปลูกยางใหม่ เนื่องจากยางราคาแพงโดยยางแผ่นดิบ กก.ละกว่า 70 บาท น้ำยาง กิโลกรัมละกว่า 50 บาท ยางก้อนถ้วยและเศษยางโดยราคาแต่ละวันพุ่งสูงขึ้นเรื่อยๆ เพราะปริมาณยางในท้องตลาดมีน้อย และยางที่เหลือจากประสบอุทกภัยกำลังเริ่มเข้าสู่ช่วงผลัดใบอีกด้วย

น. ส.วิไลวรรณ แก้วงาม อายุ 30 ปี อยู่บ้านเลขที่ 146 ม.4 ต.สมอทอง (บ้านทุ่งเสียน) อ.ท่าชนะ จ.สุราษฎร์ธานี กล่าวว่า ตนเองเป็นลูกจ้างกรีดยางตอนนี้ยางราคาดีมาก เจ้าของสวนยางให้เร่งกรีดก่อนที่โค่น และขายยางถ้วยจะไม่เน้นทำยางแผ่น โดยมีรายได้เมื่อแบ่งกับเจ้าของสวนยางคนละครึ่งแล้ว จะมีรายได้วันละประมาณ 700 บาท และกรีดทุกวันเพื่อที่จะเร่งเอาผลผลิตให้ได้มากที่สุดก่อนโค่นยาง


ที่มา : สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (วันที่ 9 มีนาคม 2560)