ผู้เขียน หัวข้อ: 'กทพ.-เอสซีจี'ผลิตนวัตกรรมไฮเทค ทั้ง 'หุ่นยนต์-กำแพงกันเสียง'เน้นใช้ยางพาราเป็นส่วนผสม  (อ่าน 556 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 85852
    • ดูรายละเอียด

'กทพ.-เอสซีจี'ผลิตนวัตกรรมไฮเทค ทั้ง 'หุ่นยนต์-กำแพงกันเสียง'เน้นใช้ยางพาราเป็นส่วนผสม



หนังสือพิมพ์แนวหน้า -- อังคารที่ 11 ตุลาคม 2559 00:00:39 น.
 
นายณรงค์ เขียดเดช ผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทย(กทพ.) เปิดเผยภายหลังการลงนามความร่วมมือฯว่า การลงนามในครั้งนี้เป็นการร่วมมือเพื่อพัฒนาระหว่างองค์กรภายในประเทศ โดยเน้น 3 นวัตกรรมหลักได้แก่ 1)หุ่นยนต์เพื่อการตรวจและรายงานสภาพโครงสร้างสิ่งปลูกสร้าง เช่น สะพานและทางพิเศษ รวมถึงทางด่วนหรือทางพิเศษ 2)การออกแบบกำแพงกันเสียงบนสะพานด้วยพลาสติกน้ำหนักเบาแต่แข็งแรงเท่าเดิมที่เน้นการใช้วัตถุดิบภายในประเทศ ซึ่งจะมีการนำยางพารามาเป็นวัสดุส่วนผสม และสามารถออกแบบให้เป็นมาตรฐานรองรับงานได้ทุกขนาด และ 3)ตู้เก็บค่าผ่านทางที่ออกแบบพิเศษ ที่ผลิตจากพอลิเอทิลีน ขึ้นรูปด้วยเทคนิคพิเศษ ทำความสะอาดง่ายและช่วยประหยัดพลังงาน และเน้นการออกแบบพื้นที่ใช้สอยตามสรีรวิทยาเพื่อสุขภาพที่ดีของพนักงาน ซึ่ง คาดว่าโครงการทั้งหมดจะแล้วเสร็จไม่เกิน 6 เดือน


ทั้งนี้ นวัตกรรมดังกล่าวจะมีการนำมาตรวจสอบและรายงานสภาพโครงสร้างสิ่งปลูกสร้างเช่น เสาสะพาน และเคเบิลสะพานแขวน ซึ่งจะประหยัดเวลามากขึ้นยกตัวอย่างเช่นการตรวจสอบเคเบิลสะพานแขวน 1 เส้นหุ่นยนต์จะใช้ระยะเวลาในการตรวจไม่เกิน 20 นาที ระยะในการตรวจสอบอยู่ที่ประมาณ 5 กิโลเมตร แต่หากเป็นการตรวจด้วยคนจะต้องใช้ระยะเวลาถึง 3 วัน ซึ่งเป็นการสูญเสียงบประมาณอย่างมากและต้องมีการใช้พื้นที่ในการตรวจสอบ
 
นอกจากนี้ในส่วนกำแพงกันเสียงที่ปัจจุบันมีต้นทุนประมาณ 7,000-8,000 บาทต่อ 1 เมตร หากสามารถใช้วัสดุในประเทศเช่น ยางพารา เข้าไปเป็นส่วนผสมได้มากขึ้น และทำให้ต้นทุนลดลงได้เหลือ 5,000-6,000 บาท ก็ถือเป็นเรื่องดีที่อาจจะส่งผลให้ราคายางพาราในประเทศสูงขึ้นได้และเป็นการตอบสนองนโยบายการใช้ยางพาราของรัฐบาลด้วย สำหรับงบประมาณการซ่อมทางของการทางพิเศษฯอยู่ที่ประมาณ 300-400 ล้านบาท ต่อปี
 
ด้านนายชลณัฐ ญาณารณพ กรรมการผู้จัดการใหญ่ เอสซีจี เคมิคอลส์ เปิดเผยว่า ทาง เอสซีจี เคมิคอลส์ จะมีการนำนวัตกรรมจากการวิจัยและพัฒนาที่ใช้งานได้จริงเชิงพาณิชย์ 3 โครงการ มาเสริมสร้างประสิทธิภาพโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคม ซึ่งในการพัฒนานวัตกรรมดังกล่าวจะต้องรอการทางพิเศษฯส่งข้อมูลเกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานที่ต้องการตรวจสอบพื้นที่ทางพิเศษและอุปกรณ์ต่างๆ มาให้ โดยคาดว่าในเดือนหน้าก็จะได้ข้อสรุป เพื่อนำมาปรับปรุงหุ่นยนต์ในการตรวจสอบสภาพให้ได้ตามที่ต้องการทั้งเรื่องสี, รอยแตก, รอยร้าวหรือสิ่งผิดปกติภายใน
 
ทั้งนี้ในการพัฒนาดังกล่าวจะช่วยตอบสนองเรื่องความปลอดภัย และลดการใช้ทรัพยากรบุคคลได้มาก เพราะ หุ่นยนต์ตัวนี้มีความละเอียดในการตรวจสอบการชำรุดได้ถึง 0.1 มิลลิเมตร ทรัพยากรบุคคลได้มาก เนื่องจากหุ่นยนต์ตัว ดังกล่าวมีความละเอียดในการตรวจสอบการชำรุดได้ถึง 0.1 มิลลิเมตร