ผู้เขียน หัวข้อ: ทิศทางอนาคตยางพาราไทย ภายใต้โมเดล ?ไทยแแลนด์ 4.0? (03/10/2559)  (อ่าน 543 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 85841
    • ดูรายละเอียด
ทิศทางอนาคตยางพาราไทย ภายใต้โมเดล ?ไทยแแลนด์ 4.0? (03/10/2559)

ดร.ธนิต โสรัตน์ เลขานุการอนุกรรมาธิการการขับเคลื่อนการปฏิรูปเศรษฐกิจด้านการเกษตร (สปท.) เกริ่นนำในฐานะผู้ดำเนินรายการว่า อุตสาหกรรม 4.0 เป็นเรื่องยากและยังใหม่สำหรับสังคมไทย แต่เนื่องจากยางพาราเป็น 1 ใน 5 พืชหลักของประเทศ และเป็นพืชเดียวที่ไม่ใช่พืชอาหาร ขณะที่การส่งออกร้อยละ 86 เป็นเรื่องของวัตถุดิบ มีเพียงร้อยละ 14 ที่ส่งออกในรูปผลิตภัณฑ์แปรรูป การแก้ปัญหายางพาราจึงมีความซับซ้อนมากกว่าพืชอื่นๆ ถามว่าทำไมเกษตรกรต้องเกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรม 4.0 เพราะยางเป็นวัตถุดิบที่ใช้ในวงการอุตสาหกรรม

    ฉะนั้น สิ่งที่กระทบอุตสาหกรรมก็จะส่งผลกระทบต่อยางพาราเช่นกัน ที่ผ่านมายางพาราเป็นพืชที่มีความอ่อนไหวและเชื่อมโยงกับราคาน้ำมันมาตลอด เช่นเมื่อธนาคารกลางสหรัฐอเมริกา ประกาศขึ้นดอกเบี้ย คนเกิดความเชื่อมั่น ราคายางปรับตัวเพิ่มขึ้น ปัจจุบันโลกเกิดสวิงกลับ เชื่อว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงในอุตสาหกรรม โดยบริบทอุตสาหกรรม 4.0 เริ่มจากยุโรป เริ่มจากเยอรมันที่บอกว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ซึ่งประเทศไทยต้องปรับให้สอดคล้องด้วย รัฐบาลจึงได้วางแผนพัฒนาประเทศ 20 ปีข้างหน้า
   ด้านนายอำนวย ปะติเส ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า ที่ผ่านมา ได้มีการหารือเรื่องนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ภายใต้บริบทของกระทรวงเกษตรฯได้ข้อสรุปว่า ยึดยุทธศาสตร์เป้าหมายของรัฐคือ มั่นคง มั่นคั่งและยั่งยืน ในทุกมิติเบื้องต้นกระทรวงเกษตรฯ ได้มีการหารือการดำเนินการในทุกด้าน โดยเฉพาะเรื่องยางพารา แผนงานอนาคตค่อนข้างชัดเจน หลังจาก คสช.ประกาศ 16 โครงการ และยังมีกม.กองทุนยางพารา วัดจากเกษตรกรและองค์กรเกษตรกร สามารถผลิตและใช้ยางเพิ่มมากขึ้นได้ ไม่เช่นนั้นก็จะประสบปัญหาเช่นเดียวกับประเทศบราซิล ดังนั้นไทยแลนด์ 4.0 เบื้องต้นต้องช่วยตัวเอง เริ่มจาก กม.กองทุนยางพาราต้องผ่านและเข้าสู่ 4.0 ให้ได้ และต้องใช้งบประมาณภายใน 3 เดือนนี้ให้ได้

   ในมุมมองของนายอุทัย สอนหลักทรัพย์ ประธานสภาเครื่อข่ายยางและสถาบันเกษตรกรยางพาราแห่งประเทศไทย (สยยท.) ที่คลุกคลีอยู่กับวงการยางพารามาเกือบ 40 ปีเห็นว่า ล่าสุดรัฐบาลได้กำหนดเรื่อง Thailand 4.0 พร้อมแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 12 โดยมีการกำหนดแนวทางการพัฒนาประเทศ 20 ปีข้างหน้า เกษตรกรชาวสวนยางจึงจำเป็นต้องปรับตัวให้ทันกับแนวทางการพัฒนาประเทศ โดยจากนี้เกษตรกรจะพึ่งพาการส่งออกวัตถุดิบเพียงอย่างเดียวเหมือนที่ผ่านมาไม่ได้ เพราะเมื่อพิจารณาจากตัวเลขการส่งออกแต่ละปีพบว่า ประเทศไทยมีการส่งออกน้ำยางดิบสูงถึงร้อยละ 86 คิดเป็นมูลค่า 1.7 แสนล้านบาท ขณะที่การส่งออกผลิตภัณฑ์ยางเพียงร้อยละ 14 มีมูลค่าสูงถึง 4.67 แสนล้านบาท

   ทั้งนี้ สยยท. จะเร่งเดินหน้าผลักดันการจัดตั้งศูนย์ใน 61 จังหวัด เพื่อทำหน้าที่สำมะโนเกษตรร่วมกับการยางแห่งประเทศไทย(กยท).ต่อไป รวมทั้งทำความเข้าใจทิศทางการพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพให้กับชาวสวนยาง พร้อมต้องส่งเสริมการพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ และจะต้องมียุทธศาสตร์ขับเคลื่อนเพื่อผลักดันให้เกษตรกรเข้าสู่อุตสาหกรรม 4.0 ให้ได้
    ขณะที่นายวรเทพ วงศาสุทธิกุล อุปนายกสมาคมยางพาราไทย กล่าวว่า ในฐานะผู้ประกอบการได้ประเมินขีดความสามารถการแข่งขันไว้ว่า ปัจจุบันเกษตรกรในต้นน้ำอยู่ในระดับ 1 กลางน้ำอยู่ระดับ 2 และปลายน้ำอยู่ระดับ 3 ทั้งนี้ตลอด 40 ปีที่ทำธุรกิจมายังไม่เห็นว่าทั้งต้นน้ำ และกลางน้ำจะสามารถขยับไปสู่ 4.0 ได้อย่างไร่ และเชื่อว่าเกษตรกรส่วนใหญ่จะยังไม่เข้าใจอะไรคือ 4.0 และสำคัญที่ผ่านมานโยบายเปลี่ยนบ่อย จึงเป็นอุปสรรคและไม่เกิดความต่อเนื่อง เพราะยางพาราเป็นการขายล่วงหน้า ทำให้ผู้ประกอบการไม่กล้าเสี่ยง อีกใน 10 ปีข้างหน้าเชื่อว่าอุตสาหกรรมกลางน้ำ และปลายน้ำ จะเกิดการเปลี่ยนแปลง โดยอุตสาหกรรมกลางน้ำในส่วนของรายย่อยจะอยู่ไม่ได้ จะอยู่ได้เฉพาะรายใหญ่ที่ใหญ่กว่า 5 เสือ เพราะทุนจากต่างประเทศโดยเฉพาะจีนเริ่มเข้ามา เพราะมีการใช้ยางมากที่สุดจึงต้องการลดความเสี่ยง จึงได้เข้ามาซื้อโรงงานเล็กๆในประเทศไทย เรื่องนี้ถือว่าอันตรายเป็นอย่างยิ่ง

   นับเรื่องที่จำเป็นอย่างที่ทุกภาคส่วนต้องบูรณาการอย่างจริงจริง เพื่อขับเคลื่อนวงการอุตสหกรรมยางพาราไทย เพื่อเกาตรกรอยู่ได้อย่างยั่งยืนในอนาคต
    กยท.กระจายอำนาจบริหารสู่พื้นที่

    ดร.ธีรัช สุขสะอาด: ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) กล่าวว่า ปัจจุบันเกษตรกรนอกจากจะมีเข้าใจและทักษะด้านการผลิตที่ดีแล้ว ยังต้องเข้าใจการตลาดเพื่อนำไปสู่การแปรรูปเพิ่มมูลค่า กยท.จะทำหน้าที่ประสานทั้งเรื่องวิชาการ และแหล่งทุนเพื่อสร้างโอกาสทางตลาด โดยได้เริ่มไปที่อินเดีย และกำลังหาตลาดใหม่ๆ เพื่อให้เกษตรกรทำหน้าที่รวบรวมผลิตภัณฑ์และส่งออกไปจำหน่าย ทำอย่างไรให้เกษตรกรพึ่งพาตนเองได้โดยไม่ต้องรอมาตรการช่วยเหลือ เบื้องต้นคิดว่าควรมีการกระจายอำนาจบริหารจัดการสู่พื้นที่ เพื่อให้เกษตรกรมีส่วนร่วมในการแก้ไขหรือเสนอแนวคิดต่างๆ จากนั้นจะร่วมกันวางแผนเพื่อให้สอดคล้องกับแต่ละพื้นที่ ลดปัญหาผลิตภัณฑ์ล้นตลาดอีกทางหนึ่ง
   ?ปัญหาผ่านช่องทางเครือข่ายเกษตรกรมาสู่ กยท. และ กยท.สามารถนำไปวิเคราะห์เพื่อจัดทำแนวทาง หรือมาตรการช่วยเหลือที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น อีกทั้งองค์ความรู้ต่างๆเพื่อบริหารจัดการสวนยางอย่างมีประสิทธิภาพที่ดีขึ้นด้วย พร้อมเอาใจช่วยให้ทุกท่านประสบผลสำเร็จ และนำไปสู่การปฏิวัติวงการยางพาราไทยปสู่การสร้างความมั่นคงให้กับเกษตรกรชาวสวนยางต่อไป? ผู้ว่า กยท. กล่าว

 
ที่มา: หนังสือพิมพ์คมชัดลึก ประจำวันที่ 3 ตุลาคม 2559