ผู้เขียน หัวข้อ: กยท. ยัน ตลาด RRM ซื้อ-ขายสินค้าจริงเป็นปัจจุบัน เน้นความเสมอภาคทางการค้าแก่กลุ่มสถาบันเกษตรกร สร้างโอกาสแสวงหาคู่ค้าต่า  (อ่าน 597 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 85852
    • ดูรายละเอียด
กยท. ยัน ตลาด RRM ซื้อ-ขายสินค้าจริงเป็นปัจจุบัน เน้นความเสมอภาคทางการค้าแก่กลุ่มสถาบันเกษตรกร สร้างโอกาสแสวงหาคู่ค้าต่างชาติ (03/10/2559)

กยท. ยัน ตลาด RRM ต่างจากตลาดรับซื้อล่วงหน้า ชี้ ซื้อ-ขายสินค้าจริงเป็นปัจจุบัน เกิดการส่งมอบสินค้าจริงร้อยเปอร์เซ็นต์ เน้น เกิดประโยชน์และความเสมอภาคแก่เกษตรกรชาวสวนยางในการทำการค้าระหว่างประเทศ เพื่อเปิดตลาดใหม่แสวงหาคู่ค้าและเพิ่มรายได้จากผลผลิตยางที่มีคุณภาพ ผ่านมาตรฐานสากล

          ดร.ธีธัช สุขสะอาด ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย เผยว่า ตลาดกลางยางพาราระดับภูมิภาค (RRM) เป็นตลาดที่สามารถซื้อขายได้ทั้งยางแท่งมาตรฐาน และยางแผ่นรมควัน เพราะปัจจุบัน ตลาดโลกมีความต้องการยางแท่งมาตรฐาน และยางแผ่นรมควันในการแปรรูปเพื่อนำไปใช้ในภาคอุตสาหกรรมยางล้อเป็นหลัก ในขณะที่ประเทศไทยเป็นผู้ผลิตและผู้ส่งออกรายใหญ่ของโลก โดยเฉลี่ยแต่ละปีมีการส่งออกยางแท่งมาตรฐานประมาณ 1.8 ล้านตัน และยางแผ่นรมควัน 6.4 แสนตัน ฉะนั้น ตลาด RRM จะมีจุดเด่นที่ต่างจากตลาดซื้อขายยางอื่นอย่างชัดเจน เพราะรองรับการซื้อขายยางแท่งมาตรฐาน และยางแผ่นรมควัน และที่สำคัญ มีการส่งมอบยางจริง100% โดยระบบได้กำหนดเงื่อนไขสำหรับผู้ซื้อและผู้ขายยาง จะต้องวางเงินประกันร้อยละ 20ของมูลค่าการเสนอซื้อขายในแต่ละครั้ง เพื่อเป็นการสร้างความมั่นใจในการซื้อขายแต่ละสัญญา นอกจากนี้ ผู้ขายยังสามารถใช้ยางที่มีอยู่จริงในโกดังเป็นหลักประกันแทนเงินสดได้ ซึ่งเงื่อนไข นี้เป็นโอกาสที่ดีสำหรับกลุ่มสถาบันเกษตรกรสามารถใช้ยางที่มีอยู่จริงขายได้ในระบบตลาดต่างประเทศโดยตรง การซื้อขายยางจะเป็นไปด้วยความยุติธรรมแน่นอน เนื่องจากเป็นราคาที่ผู้ซื้อและผู้ขายกำหนดตรงกันและเกิดจากความพึงพอใจทั้งสองฝ่าย

          ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย กล่าวเพิ่มเติมว่า ตลาด RRM ถือเป็นการเปิดตลาดใหม่ ไทยควรจะพัฒนาระบบตลาดเพื่อมองหาผู้ซื้อยางต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการส่งเสริมให้กับทุกภาคส่วนให้สามารถขายสินค้าได้หลากหลายช่องทางมากขึ้น กรณีสถาบันเกษตรกรดำเนินการ โดยส่วนมากจะซื้อขายตลาดในประเทศ ตลาด RRM จะช่วยสร้างโอกาสขยายตลาดต่างประเทศมากขึ้น ที่สำคัญ บริษัทและสถาบันเกษตรกรที่เข้ามาสมัครต่างผ่านกระบวนการรับรองมาตรฐานมาแล้ว ฉะนั้น มั่นใจในเรื่องคุณภาพของสินค้าได้อย่างแน่นอน นอกจากนี้ ตลาด RRMยังเป็นการพัฒนาตลาดยางที่ช่วยสร้างความเสมอภาคทางการค้าและซื้อขายยางกับตลาดต่างประเทศให้กับเกษตรกร รวมทั้งจะช่วยสร้างโอกาสในการหาตลาดวัตถุดิบแก่ผู้ซื้อทั้งในและต่างประเทศด้วย "ล่าสุดมีบริษัทผู้ประกอบการยางทยอยเข้ามาเป็นสมาชิกในตลาดเพิ่มขึ้นอีก ได้แก่ บริษัท รับเบอร์แลนด์โปรดักส์ จำกัด บริษัท ศรีตรังแอโกรอินดัสทรี จำกัด(มหาชน) บริษัท ไทยฮั้วยางพารา จำกัด(มหาชน) และบริษัท สยามอินโดรับเบอร์ จำกัด"

          นายพรหม พักตร์จันทร์ ประธานกลุ่มเกษตรกรทำสวนควนเมา จ.ตรัง เป็นหนึ่งในสถาบันเกษตรกรที่เข้าร่วมตลาด RRM กล่าวว่า การเปิดตลาดยางพาราระดับภูมิภาคเป็นแนวคิดใหม่ที่ดีของรัฐบาลและการยางแห่งประเทศไทย ที่ร่วมกับประเทศอินโดนีเซียและมาเลเซีย ในการเปิดซื้อยางพาราระดับสากล จะสร้างโอกาสที่จะให้สถาบันเกษตรกรสามารถขายผลผลิตของตัวเองจากการแปรรูปเป็นการช่วยเพิ่มคู่ค้าต่างประเทศและเพิ่มรายได้ให้สถาบันเกษตรกรด้วย ทั้งนี้ กลุ่มเกษตรกรทำสวนควนเมามีความพร้อมและได้สมัครเข้าเป็นผู้ขายยางในตลาด RRM แล้ว โดยกลุ่มเน้นให้ความสำคัญเรื่องมาตรฐานยางที่ผลิต ตั้งแต่กระบวนการกรีด การรับน้ำยางจากสถาบันเครือข่าย 5 สถาบัน การรักษาคุณภาพยางให้เป็นไปมาตรฐาน GMP ซึ่งทั้ง 5 สถาบันที่เป็นเครือข่ายของกลุ่มควนเมาได้รับมาตรฐานดังกล่าวจาก กยท.แล้ว ทั้งมาตรฐาน GMP น้ำยางสด และ GMP ยางแผ่นรมควันอัดก้อน นอกจากนี้ อยู่ระหว่างการรับรอง มาตรฐาน ISO 9001 เวอร์ชั่น 2015 ซึ่งจะได้รับใบรับรองดังกล่าวไม่เกินวันที่ 10 ตุลาคมนี้ เพื่อเตรียมไว้รับรองมาตรฐานยางที่จะขายในตลาด RRM โดยตรง

          "ตลาด RRM เป็นตลาดที่สามารถช่วยให้เกิดการซื้อขายและเพิ่มปริมาณการขายยางของไทยให้สูงขึ้นได้อย่างแน่นอน เชื่อมั่นว่าหากสถาบันเกษตรกร กลุ่มเกษตรกรผลิตยางแผ่นรมควันให้มีคุณภาพดี ยังคงเป็นที่ต้องการในตลาด RRM เป็นจำนวนมาก และที่สำคัญ หากเสนอขายสินค้าที่มีคุณภาพในตลาดนี้ ผู้ซื้อย่อมมีความต้องการและไม่มีทางปฏิเสธสินค้าของเราอย่างแน่นอน" นายพรหม กล่าวเพิ่มเติม

ที่มา : ThaiPR.net (วันที่ 3 ตุลาคม 2559)

กยท. ยัน ตลาด RRM ต่างจากตลาดรับซื้อล่วงหน้า ชี้ ซื้อ-ขายสินค้าจริงเป็นปัจจุบัน เกิดการส่งมอบสินค้าจริงร้อยเปอร์เซ็นต์ เน้น เกิดประโยชน์และความเสมอภาคแก่เกษตรกรชาวสวนยางในการทำการค้าระหว่างประเทศ เพื่อเปิดตลาดใหม่แสวงหาคู่ค้าและเพิ่มรายได้จากผลผลิตยางที่มีคุณภาพ ผ่านมาตรฐานสากล [/size]          ดร.ธีธัช สุขสะอาด ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย เผยว่า ตลาดกลางยางพาราระดับภูมิภาค (RRM) เป็นตลาดที่สามารถซื้อขายได้ทั้งยางแท่งมาตรฐาน และยางแผ่นรมควัน เพราะปัจจุบัน ตลาดโลกมีความต้องการยางแท่งมาตรฐาน และยางแผ่นรมควันในการแปรรูปเพื่อนำไปใช้ในภาคอุตสาหกรรมยางล้อเป็นหลัก ในขณะที่ประเทศไทยเป็นผู้ผลิตและผู้ส่งออกรายใหญ่ของโลก โดยเฉลี่ยแต่ละปีมีการส่งออกยางแท่งมาตรฐานประมาณ 1.8 ล้านตัน และยางแผ่นรมควัน 6.4 แสนตัน ฉะนั้น ตลาด RRM จะมีจุดเด่นที่ต่างจากตลาดซื้อขายยางอื่นอย่างชัดเจน เพราะรองรับการซื้อขายยางแท่งมาตรฐาน และยางแผ่นรมควัน และที่สำคัญ มีการส่งมอบยางจริง100% โดยระบบได้กำหนดเงื่อนไขสำหรับผู้ซื้อและผู้ขายยาง จะต้องวางเงินประกันร้อยละ 20ของมูลค่าการเสนอซื้อขายในแต่ละครั้ง เพื่อเป็นการสร้างความมั่นใจในการซื้อขายแต่ละสัญญา นอกจากนี้ ผู้ขายยังสามารถใช้ยางที่มีอยู่จริงในโกดังเป็นหลักประกันแทนเงินสดได้ ซึ่งเงื่อนไข นี้เป็นโอกาสที่ดีสำหรับกลุ่มสถาบันเกษตรกรสามารถใช้ยางที่มีอยู่จริงขายได้ในระบบตลาดต่างประเทศโดยตรง การซื้อขายยางจะเป็นไปด้วยความยุติธรรมแน่นอน เนื่องจากเป็นราคาที่ผู้ซื้อและผู้ขายกำหนดตรงกันและเกิดจากความพึงพอใจทั้งสองฝ่าย          ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย กล่าวเพิ่มเติมว่า ตลาด RRM ถือเป็นการเปิดตลาดใหม่ ไทยควรจะพัฒนาระบบตลาดเพื่อมองหาผู้ซื้อยางต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการส่งเสริมให้กับทุกภาคส่วนให้สามารถขายสินค้าได้หลากหลายช่องทางมากขึ้น กรณีสถาบันเกษตรกรดำเนินการ โดยส่วนมากจะซื้อขายตลาดในประเทศ ตลาด RRM จะช่วยสร้างโอกาสขยายตลาดต่างประเทศมากขึ้น ที่สำคัญ บริษัทและสถาบันเกษตรกรที่เข้ามาสมัครต่างผ่านกระบวนการรับรองมาตรฐานมาแล้ว ฉะนั้น มั่นใจในเรื่องคุณภาพของสินค้าได้อย่างแน่นอน นอกจากนี้ ตลาด RRMยังเป็นการพัฒนาตลาดยางที่ช่วยสร้างความเสมอภาคทางการค้าและซื้อขายยางกับตลาดต่างประเทศให้กับเกษตรกร รวมทั้งจะช่วยสร้างโอกาสในการหาตลาดวัตถุดิบแก่ผู้ซื้อทั้งในและต่างประเทศด้วย "ล่าสุดมีบริษัทผู้ประกอบการยางทยอยเข้ามาเป็นสมาชิกในตลาดเพิ่มขึ้นอีก ได้แก่ บริษัท รับเบอร์แลนด์โปรดักส์ จำกัด บริษัท ศรีตรังแอโกรอินดัสทรี จำกัด(มหาชน) บริษัท ไทยฮั้วยางพารา จำกัด(มหาชน) และบริษัท สยามอินโดรับเบอร์ จำกัด"          นายพรหม พักตร์จันทร์ ประธานกลุ่มเกษตรกรทำสวนควนเมา จ.ตรัง เป็นหนึ่งในสถาบันเกษตรกรที่เข้าร่วมตลาด RRM กล่าวว่า การเปิดตลาดยางพาราระดับภูมิภาคเป็นแนวคิดใหม่ที่ดีของรัฐบาลและการยางแห่งประเทศไทย ที่ร่วมกับประเทศอินโดนีเซียและมาเลเซีย ในการเปิดซื้อยางพาราระดับสากล จะสร้างโอกาสที่จะให้สถาบันเกษตรกรสามารถขายผลผลิตของตัวเองจากการแปรรูปเป็นการช่วยเพิ่มคู่ค้าต่างประเทศและเพิ่มรายได้ให้สถาบันเกษตรกรด้วย ทั้งนี้ กลุ่มเกษตรกรทำสวนควนเมามีความพร้อมและได้สมัครเข้าเป็นผู้ขายยางในตลาด RRM แล้ว โดยกลุ่มเน้นให้ความสำคัญเรื่องมาตรฐานยางที่ผลิต ตั้งแต่กระบวนการกรีด การรับน้ำยางจากสถาบันเครือข่าย 5 สถาบัน การรักษาคุณภาพยางให้เป็นไปมาตรฐาน GMP ซึ่งทั้ง 5 สถาบันที่เป็นเครือข่ายของกลุ่มควนเมาได้รับมาตรฐานดังกล่าวจาก กยท.แล้ว ทั้งมาตรฐาน GMP น้ำยางสด และ GMP ยางแผ่นรมควันอัดก้อน นอกจากนี้ อยู่ระหว่างการรับรอง มาตรฐาน ISO 9001 เวอร์ชั่น 2015 ซึ่งจะได้รับใบรับรองดังกล่าวไม่เกินวันที่ 10 ตุลาคมนี้ เพื่อเตรียมไว้รับรองมาตรฐานยางที่จะขายในตลาด RRM โดยตรง          "ตลาด RRM เป็นตลาดที่สามารถช่วยให้เกิดการซื้อขายและเพิ่มปริมาณการขายยางของไทยให้สูงขึ้นได้อย่างแน่นอน เชื่อมั่นว่าหากสถาบันเกษตรกร กลุ่มเกษตรกรผลิตยางแผ่นรมควันให้มีคุณภาพดี ยังคงเป็นที่ต้องการในตลาด RRM เป็นจำนวนมาก และที่สำคัญ หากเสนอขายสินค้าที่มีคุณภาพในตลาดนี้ ผู้ซื้อย่อมมีความต้องการและไม่มีทางปฏิเสธสินค้าของเราอย่างแน่นอน" นายพรหม กล่าวเพิ่มเติม
ที่มา : ThaiPR.net (วันที่ 3 ตุลาคม 2559)
- See more at: http://www.rubberthai.com/index.php/newsyang/news-on-rubber/item/6003-rrm-03-10-2559#sthash.mkJZkQBm.dpuf
[/color]