ผู้เขียน หัวข้อ: กยท. เผยการดำเนินงานขับเคลื่อนยางพาราทั้งระบบครบวงจรของประเทศ ประจำเดือน  (อ่าน 737 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 85862
    • ดูรายละเอียด

กยท. เผยการดำเนินงานขับเคลื่อนยางพาราทั้งระบบครบวงจรของประเทศ ประจำเดือน


ThaiPR.net -- ศุกร์ที่ 23 กันยายน 2559 09:26:24 น.


กรุงเทพฯ--23 ก.ย.--การยางแห่งประเทศไทย

กยท. เผยการดำเนินงานขับเคลื่อนยางพาราทั้งระบบครบวงจรของประเทศ ประจำเดือน กันยายน 2559
 
การยางแห่งประเทศไทย เผยการดำเนินงานขับเคลื่อนยางพาราทั้งระบบครบวงจรของประเทศ โดยมีผลการที่สำคัญในการดำเนินงานด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับผู้มีส่วนได้ส่วนยางยางพาราทั้งระบบ ประจำเดือน กันยายน 2559 ดังนี้
 
1. กยท. เปิดรับคู่สัญญา โครงการยางพาราประชารัฐ ส่งเสริมจัดการสวนยางอย่างยั่งยืน นำร่อง ให้ความรู้การจัดการสวนยางมาตรฐาน FSCและ PEFC ให้ผู้นำเกษตรกรและพนักงาน กยท. กว่า 200 คน ครอบคลุมพื้นที่ภาคใต้ตอนบน 4 จังหวัด (ระนอง ประจวบคีรีขันธ์ สุราษฎร์ธานี ชุมพร) หวังเพิ่มมูลค่าไม้ยาง ขยายตลาดส่งออกสู่ระดับสากล



กยท.เปิดรับคู่สัญญา การจัดการสวนยางอย่างยั่งยืน ตามมาตรฐานFSC และ PEFC ในระดับสากล ภายใต้โครงการยางพาราประชารัฐ ผลักดันการส่งออกไม้ยางพารา เพิ่มมูลค่า ขยายฐานตลาดการส่งออก เพิ่มรายได้แก่เกษตรกร โดยลงพื้นที่นำร่องอบรมการจัดการสวนยางภายใต้มาตรฐาน FSC และ PEFC ณ แก้วสมุยรีสอร์ท อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี หวังถ่ายทอดความรู้การจัดการดูแลสวนยางให้แก่ผู้นำเกษตรกรและพนักงาน กยท.กว่า 200 คน พร้อมย้ำ กยท. เตรียมผลักดันไม้ยางพาราไทย สู่มาตรฐาน FSC และ PEFC ในทุกพื้นที่ทั่วประเทศ
 
ดร.ธีธัช สุขสะอาด ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย เผยว่าปัจจุบันทั่วโลกกำลังให้ความสำคัญเรื่องการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม การส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการปลูกไม้เพื่อใช้สอย เพื่อเป็นอาชีพ ซึ่งจะเป็นการสร้างความมั่นคงในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ให้คงอยู่อย่าง ยั่งยืน ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา การส่งเสริมการปลูกยางพาราอยู่ภายใต้พระราชบัญญัติ กยท. ได้ดำเนินการอบรม ให้ความรู้ในการปลูกยางพาราอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ แต่เพื่อให้ไม้ยางพาราเป็นไม้ที่ถูกต้องตามกฎหมาย เกษตรกรที่ทำการปลูก และโค่น สามารถขายได้มูลค่าสูงขึ้น จึงจำเป็นต้องเข้าสู่กระบวนการการรับรองโดยมาตรฐานที่ยอมรับกันทั่วโลกใน ระดับนานาชาติ โดยมาตรฐานดังกล่าว เรียกว่า FSC (Forest Stewardship Council) และ PEFC (Programme for the Endorsement of Forest Certification) และเป็นโครงการนำร่องที่ กยท. จะ ออกใบรับรองไม้ยางพาราร่วมกับ TFCC (Thailand Forest Certification Council)
 
ล่าสุด กยท. ได้ลงพื้นที่จ.สุราษฎร์ธานี จัดอบรมถ่ายทอดองค์ความรู้การจัดการสวนยางที่ดีอย่างยั่งยืนตามมาตรฐาน FSC และ PEFCเพื่อให้ผู้ปลูกยางมีความรู้ความเข้าใจในการพัฒนาสวนยางของตนเองให้ได้ มาตรฐาน โดยนำร่องพื้นที่ภาคใต้ตอนบน 4 จังหวัด ได้แก่ ระนอง ประจวบคีรีขันธ์ สุราษฎร์ธานี และ ชุมพร มีผู้นำเครือข่ายเกษตรกรชาวสวนยาง และพนักงาน กยท.เข้ารับการอบรมประมาณ 250 คน โดย กยท.ตั้งเป้า
 
3 เดือน พื้นที่ปลูกสร้างสวนยางใน จ.สุราษฎร์ธานี ต้องได้การรับรองจาก FSC และ PEFC ให้ได้เกือบ 100% ของพื้นที่ปลูกยางทั้งหมดในจังหวัด ทั้งนี้ เพื่อเป็นการสร้างความเชื่อมั่นในคุณภาพของไม้ยางพารา และผลิตภัณฑ์จากไม้ยางพาราของไทย รวมถึงขยายตลาดการส่งออกให้แก่กลุ่มสหกรณ์ สถาบันเกษตรกร และเกษตรกรชาวสวนยางทั่วประเทศ ที่ผ่านมาเกษตรกรเมื่อโค่นสวนยางพารา 1 ไร่ จะขายไม้ยางพาราได้ไร่ละ 70,000 ? 80,000 บาท แต่ปัจจุบันขายได้เพียงไร่ละ 20,000 ? 30,000 บาท เท่านั้น เนื่องจากตลาดต่างประเทศที่รับซื้อไม้ยางพารามีมาตรฐานการรับซื้อที่สูงขึ้น ส่งผลให้ไทยส่งขายไม้ยางได้เพียงบางประเทศเท่านั้น ซึ่งการรับรองการจัดการสวนยางอย่างยั่งยืนตามมาตรฐาน FSC และ PEFC จะเป็นการขยายตลาดการส่งออกไม้ยางพาราไปยังประเทศที่ต้องการการรับรองคุณภาพ ในระดับสากล เช่น ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ อเมริกา และประเทศในแถบยุโรป
 
ดร.ธีธัช สุขสะอาด ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย กล่าวเพิ่มเติมว่าการยางฯ ได้ทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในโครงการยางพาราประชารัฐ กับบริษัท สยามฟอร์เรส แมเนจเม้นท์ จำกัด เป็นหนึ่งในบริษัทเอกชนที่ให้ความร่วมมือสนับสนุนเกษตรกรชาวสวนยางในการ เพิ่มมูลค่าในการขายไม้ยาง และผลิตภัณฑ์จากไม้ยางทั้งในและต่างประเทศ พร้อมรับซื้อไม้ยางพาราที่เหลือใช้จากการผลิตเฟอร์นิเจอร์ เช่น กิ่ง แขนง ราก เศษขี้เลื่อย เป็นต้น เพื่อนำมาใช้เป็นวัตถุดิบหลักในการผลิตแท่งเชื้อที่สะอาด อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ซึ่งจะทำให้เกษตรกรชาวสวนยางได้รายได้เพิ่มจากการส่งขายไม้ยางพารา และวัสดุไม้อื่นๆ ทั้งหมดได้อีกทางหนึ่งด้วย สิ่งสำคัญ กยท. จะเข้ามาสนับสนุนส่งเสริมและถ่ายทอดองค์ความรู้ให้แก่เกษตรกร ตั้งแต่การปลูก การกรีด และการโค่นยางพารา โดยให้ทุกกระบวนการอยู่ในขั้นตอนตามมาตรฐาน FSC และ PEFC นอกจากนี้ กยท.จะเร่งจัดอบรมพนักงานของ กยท. หลักสูตร Train the Trainer เพื่อให้พนักงาน กยท.ทั่วประเทศที่ดูแลและส่งเสริมสวนยางสามารถตรวจรับรองในทุกขั้นตอนของการ จัดการสวนยางในทุกพื้นที่ทั่วประเทศ นอกจากจะเป็นการเพิ่มรายได้สู่เกษตรกรชาวสวนยางแล้ว ตัวแทนภาคเอกชนอื่นๆ ที่ดำเนินธุรกิจการแปรรูป หรือการนำไม้ยางพาราไปใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ จะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นด้วยเช่นกันดังนั้น "การอบรมโครงการดังกล่าวใน จ.สุราษฎร์ฯ เป็นการนำร่องที่แรก และพร้อมจะขยายไปในทุกพื้นที่ปลูกยางทั่วประเทศ"
 
2. กยท. เตรียมเดินหน้า พัฒนาคุณภาพยางไทย ผลักดันการแปรรูป พร้อมป้อนเข้าตลาดใหม่สู่อินเดีย
 
กยท.เผยผลการมาเยือนของนักธุรกิจอินเดีย ในการเจรจาผู้ซื้อพบผู้ขายทั้งในพื้นที่ภาคใต้ จ.สงขลา และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.บึงกาฬ ที่ผ่านมา พร้อมเตรียมให้การยางฯ เดินหน้าพัฒนาคุณภาพยางพาราไทยให้มีมาตรฐาน เพื่อส่งออกไปยังตลาดต่างประเทศ
 
ดร.ธีธัช สุขสะอาด ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย กล่าวว่าการเดินทางไปประเทศอินเดีย ซึ่งเป็นประเทศมหาอำนาจในภูมิภาคที่มีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจสูงที่สุด แห่งหนึ่งในโลก ของนายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นับว่าเป็นโอกาสของไทยในการขยายตลาดและความร่วมมือในด้านต่างๆ ให้มากขึ้น
 
ซึ่งหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้เร่งประสานความร่วมมืออย่างต่อเนื่อง และส่งผลให้สินค้าเกษตรอย่างยางพารา ซึ่งเป็นที่ต้องการของประเทศอินเดียในการแปรรูปอุตสาหกรรมยางล้อ และผลิตภัณฑ์ยางอื่นๆ เพื่อใช้ภายในประเทศค่อนข้างสูง โดยประเทศอินเดีย มีปริมาณการใช้ยางในประเทศ 9 แสน ? 1.1 ล้านตันต่อปี ในขณะที่ผลิตยางภายในประเทศได้ปีละ 5 แสนตัน ดังนั้น ประเทศอินเดียยังมีความต้องการใช้ยางในประเทศประมาณ 4-5 แสนตันต่อปี จึงเป็นโอกาสของประเทศไทย ในฐานะผู้ผลิตยางรายใหญ่ของโลก จะส่งวัตถุดิบป้อนเข้าสู่อุตสาหกรรมต่างๆ ภายในประเทศ
 
การต้อนรับคณะนักธุรกิจยางพาราจากอินเดีย เพื่อพบปะและเจรจาการค้ากับผู้ประกอบการทั้งภาคเอกชน และสถาบันเกษตรกรของไทยในพื้นที่ภาคใต้ ที่ จ.สงขลา และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่ จ.บึงกาฬ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีการปลูกยางเป็นอันดับต้นๆ ของประเทศไทย และมีศักยภาพในการรวบรวมผลผลิต การแปรรูปยางเพื่อส่งออก รวมถึงความได้เปรียบในระบบการคมนาคมขนส่งสินค้าไปต่างประเทศ โดยได้รับการประสานงานเป็นอย่างดีจาก การยางแห่งประเทศไทย สมาคมนักธุรกิจไทย-อินเดีย และสถานเอกอัครราชฑูตไทย ณ กรุงนิวเดลี โดยผลการเจรจาในครั้งนี้ ประเทศไทยได้ทราบถึงปริมาณความต้องการยางพารา และความต้องการของบริษัทผู้ผลิตยางล้อ โดยเฉพาะเรื่องคุณภาพและมาตรฐานของวัตถุดิบ ปัญหาเรื่องกลิ่น ทั้งนี้ เตรียมมอบให้ กยท. เร่งให้ความรู้แก่เกษตรกรชาวสวนยาง ผู้ประกอบการทุกภาคส่วน เพื่อพัฒนาคุณภาพยางไทยทั้งระบบให้ได้มาตรฐานระดับสากล
 
"การมาเยือนของคณะนักธุรกิจอินเดียในครั้งนี้ มีผู้ซื้อยางหลายบริษัทที่ให้การตอบรับเป็นอย่างดี ผ่านทางการยางแห่งประเทศไทย โดย กยท.จะเป็นผู้ประสานงานหาตัวอย่างผลิตภัณฑ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง STR 20 จากสหกรณ์ต่างๆ ทั่วประเทศ ที่มีความพร้อมด้านการแปรรูป ซึ่งจะช่วยสร้างความเชื่อมั่นด้านมาตรฐานการรับรองกับผู้ซื้อ และส่งให้บริษัทในประเทศอินเดียพิจารณาก่อนซื้อขาย นอกจากนี้ ยังมีความต้องการยางไทยจากหลายบริษัทในประเทศจีนที่ติดต่อเข้ามา จึงได้มอบให้ กยท. พิจารณาการจะเข้าไปรับซื้อยางตลาดในประเทศ เพื่อให้ได้สินค้าตรงตามความต้องการของผู้ซื้อแต่ละรายต่อไป" ดร.ธีธัช กล่าวทิ้งท้าย
3. ประเด็นการระบายสต็อกยางพาราประมาณ3.1 แสนตัน
 
ดร.ธีธัช สุขสะอาด ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทยกล่าวว่า การระบายสต็อกยาง 3.1 แสนตัน ที่มาจากโครงการพัฒนาศักยภาพสถาบันเกษตรกรเพื่อรักษาเสถียรภาพราคายาง และโครงการสร้างมูลภัณฑ์กันชนเพื่อรักษาเสถียรภาพราคายาง จำนวนประมาณ3.1 แสนตัน นั้น กยท. เน้นการดำเนินงานตามนโยบายของรัฐบาล โดยจะนำยางในสต็อกดังกล่าวมาใช้ในโครงการส่งเสริมการใช้ยางในหน่วยงานภาครัฐ ก่อน จากนั้น จะนำยางไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์และนำมาใช้ภายในประเทศให้ได้มากที่สุด โดยในส่วนที่เหลือ อาจจะต้องระบายขายเพื่อลดค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษา และต้องคำนึงถึงคุณภาพยางควบคู่ด้วย อย่างไรก็ตาม มาตรการ
 
ในการขายยางในสต็อกส่วนที่เหลือจากวัตถุประสงค์ข้างต้น ทาง กยท. ยืนยันจะไม่ขายยางแบบล็อตอย่างแน่นอน โดยจะดำเนินการแบ่งขายเป็นล็อตเล็กๆ และค่อยๆ ระบายออกไป เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อราคายางพาราในตลาด และที่สำคัญ การขายจะต้องไม่ส่งผลกระทบต่อพี่น้องชาวสวนยาง