ผู้เขียน หัวข้อ: ?ถูก เร็ว ดี? ตัวอย่างถนนยางพารารูปแบบใหม่ ครั้งแรกในเมืองไทย  (อ่าน 988 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 85906
    • ดูรายละเอียด
"ถูก เร็ว ดี" ตัวอย่างถนนยางพารารูปแบบใหม่ ครั้งแรกในเมืองไทย

หลังเปิดตัวงานวิจัย ?ถนนยางพารา? รูปแบบใหม่ล่าสุด ครั้งแรกที่งาน ?วันยางพาราและกาชาดบึงกาฬ? เมื่อปลายเดือนมกราคมที่ผ่านมา
วันนี้ ผศ.ดร.ระพีพันธ์ แดงตันกี ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายความร่วมมืออุตสาหกรรม นักวิจัย หลักสูตรวิศวกรรมวัสดุและการผลิต บัณฑิตวิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์นานาชาติสิรินธร ไทย-เยอรมัน (TGGS) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) ผู้วิจัยและริเริ่มโครงการถนนยางพารารูปแบบใหม่

IMG_0415
เตรียมเปิดตัวถนนตัวอย่าง ?พารารับเบอร์โพลีเมอร์ซอยล์ซีเมนต์? (Para Rubber Polymer Soil Cement) จากน้ำยางพารา สายแรกของประเทศไทย ในวันที่ 1 มีนาคมนี้
ใน
ผศ.ดร.ระ พีพันธ์บอกว่า ตอนนี้ถนนตัวอย่างระยะทาง 250 เมตร สร้างเสร็จเรียบร้อยแล้ว ในพื้นที่ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ วิทยาเขตปราจีนบุรี จ.ปราจีนบุรี จากนี้จะมีการแถลงข่าวเปิดตัวในวันที่ 1 มีนาคม พร้อมสาธิตทำถนนให้ดูจริงๆ อีก 150 เมตรต่อจากเดิม<blockquote>สำหรับ ถนนพารารับเบอร์โพลีเมอร์ซอยล์ซีเมนต์ เกิดจากแนวคิดที่อยากจะเพิ่มปริมาณการใช้ยางในประเทศให้มากขึ้น ซึ่งถนนยางพาราที่มีผู้คิดค้นไว้ก่อนหน้า เป็นการใช้ยางพาราเพียง 5-7% ผสมในยางมะตอย แต่พารารับเบอร์โพลีเมอร์ซอยล์ซีเมนต์ 1 ตร.ม. สามารถนำน้ำยางพาราไปใช้ได้ถึง 3 ลิตร หรือถนน 1 กม.ใช้น้ำยางพารา 18,000 ลิตร หรือ 18 ตัน จากปริมาณนี้เชื่อว่าจะช่วยเหลือเกษตรกรจำนวนมากได้อย่างแน่นอน</blockquote>2
ส่วน ขั้นตอนวิธีการทำถนนยางพารารูปแบบใหม่นี้ ผศ.ดร.ระพีพันธ์อธิบายว่า ขั้นแรกเริ่มต้นด้วยการบดอัดถนนให้เเน่น แล้วเกลี่ยหน้าดินให้หลวมนำซีเมนต์มาโรย เเล้วไถคราดเกลี่ยให้ทั่วผิวหน้า เป็นวิธีการผสมแห้งโดยเเทรกเตอร์โรตารี่แบบง่ายๆ
IMG_0418
แต่ หลังจากนี้จะต้องใช้สเปรย์ที่ผสมน้ำยางพารากับหัวเชื้อโพลีเมอร์ ที่ผ่านการคิดค้นวิจัยมาอย่างดีแล้วว่าจะผสมเข้ากันกับดินและซีเมนต์ ตามด้วยการบดอัดให้แน่นเป็นชั้นๆ เพื่อให้น้ำยางพาราซึมลึกเข้าไปในทุกอณูของดิน โดยความหนาของถนนจะอยู่ที่ประมาณ 15-20 ซม.
page
?น้ำ ยางพาราจะเป็นตัวช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นให้กับถนน รูปแบบนี้ไม่ต้องเทยางมะตอยก็สามารถใช้เป็นผิวถนนได้เลย เหมาะกับถนนตามต่างจังหวัด อีกทั้งใช้เวลาในการทำเร็วมาก เพียง 1-2 วันก็สามารถทำถนนเสร็จได้
IMG_0420
ขณะ ที่ราคา เมื่อเทียบกับถนนยางมะตอยเเล้ว ถนนยางพารา 1 ตร.ม.ใช้งบประมาณ 200-300 บาท เเต่ในขนาดเท่ากัน ถนนยางมะตอยใช้งบประมาณ 350-400 บาท ถนนคอนกรีตที่ใช้งบประมาณ 750-800 บาท ดังนั้น ถนนรูปแบบนี้จึงถูกกว่ามาก และมีอายุการใช้งานนานถึง 10 ปี ไม่มีฝุ่นดินอีกด้วย ซึ่งนวัตกรรมนี้เป็นเทคโนโลยีเดียวกับการทำพื้นสนามบินในหลายประเทศ เพียงเเต่เขาไม่มียางพาราเลยใช้โพลีเมอร์เเทน?



เป็นนวัตกรรมล่าสุดที่ดีกว่า ถูกกว่า ใช้เวลาน้อยกว่า คุ้มค่ากับการส่งเสริมและลงทุน

ที่มา มติชน