ผู้เขียน หัวข้อ: วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง วันศุกร์ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2559  (อ่าน 2102 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 85207
    • ดูรายละเอียด

วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง
วันศุกร์ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2559



ปัจจัย วิเคราะห์

1. สภาพภูมิอากาศ - ภาคใต้ยังคงมีฝนตกหนักถึงหนักมาก ร้อยละ 70 - 80 ของพื้นที่ โดยเฉพาะภาคใต้ฝั่งตะวันตก บริเวณจังหวัดระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ และตรัง ส่งผลกระทบต่อการกรีดยาง ส่วนภาคอื่น ๆ มีฝนร้อยละ 30 - 40 ของพื้นที่

2. การใช้ยาง - กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ เปิดเผยว่า ยอดจำหน่ายรถยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.2 ในเดือนเมษายน ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นสูงสุดนับตั้งแต่เดือนมีนาคมปีที่แล้ว หลังจากลดลงร้อยละ 3.2ในเดือนมีนาคม

3. เศรษฐกิจโลก - แหล่งข่าวรายงานว่า นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นมีแนวโน้มที่จะประกาศในวันจันทร์ที่จะถึงว่ารัฐบาลญี่ปุ่นจะเดินหน้าปรับขึ้นภาษีการขายในเดือนเมษายน 2560 ตามกำหนดหรือไม่ทั้งนี้ มีการคาดการณ์ว่านายกรัฐมนตรีจะประกาศเลื่อนการเพิ่มภาษีการขายจากร้อยละ8.0 เป็นร้อยละ 10.0 ท่ามกลางเศรษฐกิจญี่ปุ่นที่ซบเซา ขณะที่การใช้จ่ายของผู้บริโภคอยู่ในภาวะชะงักงัน และเศรษฐกิจโลกมีความอ่อนแอ

- กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ เปิดเผยว่า ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนของสหรัฐฯ เช่น เครื่องบินรถยนต์ และเครื่องจักรขนาดใหญ่ที่มีอายุการใช้งานตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไป ปรับตัวขึ้นร้อยละ3.4 ในเดือนเมษายน หลังจากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.9 ในเดือนมีนาคม สาเหตุจากอุปสงค์
ที่แข็งแกร่งในภาคขนส่ง

- นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นกล่าวว่า บรรดาผู้นำกลุ่ม G7 มีความเห็นพ้องกันว่าเศรษฐกิจโลกกำลังเผชิญความเสี่ยงอย่างรุนแรง โดยระบุว่าราคาสินค้าโภคภัณฑ์ทรุดตัวลงร้อยละ 55.0นับตั้งแต่ปี 2557 ซึ่งเป็นสัดส่วนเดียวกับที่ดิ่งลงในช่วงที่เกิดวิกฤตการเงินโลก ซึ่งอาจมี
โอกาสเกิดขึ้นอีก

- ธนาคารกลางจีน (PBOC) ได้ดึงเม็ดเงินออกจากตลาดทั้งสิ้น 1 หมื่นล้านเยน เพื่อสร้างความเชื่อมั่นว่าปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบอยู่ในระดับที่มีเสถียรภาพ

- กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ เปิดเผยข้อมูลการค้าต่างประเทศโดยระบุว่า ยอดส่งออกเดือนเมษายนปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.8 ขณะที่ยอดนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.3

4. อัตราแลกเปลี่ยน - เงินบาทอยู่ที่ 35.80 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ อ่อนค่าลง 0.17 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ
- เงินเยนอยู่ที่ 109.92 เยนต่อดอลลาร์สหรัฐ อ่อนค่าลง 0.23 เยนต่อดอลลาร์สหรัฐ

5. ราคาน้ำมัน - สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือนกรกฎาคม ปิดตลาดที่49.59 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง 0.15 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล เนื่องจากนักลงทุนเทขายทำกำไร หลังจากสัญญาน้ำมันดิบปรับตัวสูงขึ้นติดต่อกัน 2 วัน ส่งผลให้ราคาน้ำมันอ่อนตัวลงหลุดจากระดับ 50 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรลในระหว่างวัน

- สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (Brent) ตลาดลอนดอนส่งมอบเดือนกรกฎาคม ปิดที่ 49.59ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง 0.15 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล

6. การเก็งกำไร - ราคา TOCOM ส่งมอบเดือนมิถุนายน อยู่ที่ 161.5 เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 3.0 เยนต่อกิโลกรัม และส่งมอบเดือนตุลาคม อยู่ที่ 158.6 เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 0.3 เยนต่อกิโลกรัม

- ราคา SICOM เปิดตลาดที่ 149.0 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 0.4 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม


7. ข่าว - สมาคมนายหน้าอสังหาริมทรัพย์แห่งชาติสหรัฐฯ (NAR) เปิดเผยว่า ดัชนีการทำสัญญาขายบ้านที่รอปิดการขายพุ่งขึ้นร้อยละ 5.1 ในเดือนเมษายน เมื่อเทียบเป็นรายเดือนสู่ระดับ 116.3 ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2549

- กระทรวงแรงงานสหรัฐฯ เปิดเผยว่า จำนวนชาวอเมริกันที่ยื่นขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกลดลง 10,000 ราย อยู่ที่ 268,000 รายในสัปดาห์ที่สิ้นสุดวันที่ 21 พฤษภาคม2559

- ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) สาขาเซนต์หลุยส์ กล่าวว่า ตลาดแรงงานสหรัฐฯอยู่ในภาวะค่อนข้างตึงตัว และอาจส่งผลให้เกิดแรงกดดันในช่วงขาขึ้นต่อเงินเฟ้อ

8. ข้อคิดเห็นของประกอบการ
- ราคายางทรงตัว ไม่ปรับตัวลดลงหรือสูงขึ้นมากนัก เนื่องจากไม่มีปัจจัยใหม่ ๆ กระตุ้นตลาด ขณะที่ตลาดต่างประเทศยังคงซบเซา ไม่มีผู้ซื้อ ขณะที่ผู้ขายก็ขาดแคลนยางเพื่อส่งมอบ ทำให้การซื้อขายค่อนข้างเงียบ การตกลงซื้อขายล่วงหน้าก็มีน้อยหรือไม่มี เพราะมีความเสี่ยงจะผิดสัญญาส่งมอบ เนื่องจากปริมาณยางมีน้อย

แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มทรงตัวหรือเปลี่ยนแปลงในช่วงแคบ ๆ ทิศทางเดียวกับตลาดล่วงหน้าโตเกียว โดยมี
ปัจจัยบวกจากเงินเยนและเงินบาทอ่อนค่า ประกอบกับอุปทานยางที่ออกสู่ตลาดมีน้อยจากภาวะฝนตกหนัก
ทางภาคใต้ของไทย ส่วนปัจจัยลบมาจากราคาน้ำมันที่อ่อนแรงลง และนักลงทุนวิตกกังวลหลังจากเจ้าหน้าที่
ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ยังคงออกมาส่งสัญญาณเรื่องการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย



สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา