ผู้เขียน หัวข้อ: วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2559  (อ่าน 2123 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 85206
    • ดูรายละเอียด
วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง
วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

ปัจจัย วิเคราะห์

1. สภาพภูมิอากาศ - ภาคตะวันออกและภาคใต้มีฝนตกหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ โดยเฉพาะภาคใต้
มีฝนร้อยละ 70 - 80 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดระนอง พังงา กระบี่ ภูเก็ต ตรัง
กระบี่ และสตูล ส่งผลกระทบต่อการกรีดยาง


2. การใช้ยาง - รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) และโฆษกกลุ่มอุตสาหกรรม
ยานยนต์เปิดเผยว่า ยอดส่งออกรถยนต์สำเร็จรูปเดือนเมษายนมีจำนวน 80,491 คัน
ลดลงร้อยละ 2.0 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน


3. เศรษฐกิจโลก - สถาบัน Ifo เปิดเผยว่า ผู้บริหารภาคธุรกิจของเยอรมันมีความเชื่อมั่นเพิ่มขึ้นในเดือน
พฤษภาคม โดย Ifo เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นภาคธุรกิจเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 107.7 ในเดือน
พฤษภาคม หลังแตะระดับ 106.7 ในเดือนเมษายน
- ผลสำรวจความเชื่อมั่นผู้บริโภคเยอรมันที่จัดทำโดย Gfk ซึ่งเป็นกลุ่มวิจัยตลาด เผยให้
เห็นว่าดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนมิถุนายนขยับขึ้นสู่ระดับ 9.8 จาก 9.7 ในเดือน
พฤษภาคม ขณะที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ทรงตัวอยู่ที่ระดับ 9.7
- กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ปรับเพิ่มคาดการณ์การขยายตัวของผลิตภัณฑ์
มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ปี 2559 ขึ้นเป็นร้อยละ 1.5 จากที่คาดการณ์เดิมที่ร้อยละ
1.1 โดย IMF ระบุว่า การขยายตัวที่ร้อยละ 1.5 ยังไม่แข็งแกร่งเพียงพอที่จะช่วยลดอัตรา
ว่างงานได้
- กระทรวงการคลังจีนเปิดเผยผลกำไรรวมหน่วยงานรัฐวิสาหกิจจีนอยู่ที่ระดับ 6.5226
แสนล้านหยวน (9.88 หมื่นล้านดอลล่าร์สหรัฐ) ในช่วง 4 เดือนแรกของปี 2559 ลดลง
ร้อยละ 8.4 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
- หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ประจำทวีปเอเชียของมอร์แกน สแตนลีย์ คาดการณ์ว่า
เศรษฐกิจจีนจะบรรลุเป้าหมายการเติบโตทางเศรษฐกิจในปีนี้ แม้ว่าการฟื้นตัวของ
เศรษฐกิจโลกจะเป็นไปอย่างซบเซาก็ตาม จีนจะบรรลุเป้าหมายผลิตภัณฑ์มวลรวม
ภายในประเทศ (GDP) ซึ่งตั้งไว้ที่ร้อยละ 6.5 ในปีนี้


4. อัตราแลกเปลี่ยน - เงินบาทอยู่ที่ 35.63 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้น 0.15 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ
- เงินเยนอยู่ที่ 109.69 เยนต่อดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้น 0.46 เยนต่อดอลลาร์สหรัฐ


5. ราคาน้ำมัน - สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือนกรกฎาคม ปิดตลาดที่
49.56 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้น 0.94 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล หลังจาก
สำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานสหรัฐฯ (EIA) เปิดเผยว่าสต๊อคน้ำมันดิบปรับตัว
ลดลงมากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ โดยข้อมูลดังกล่าวช่วยให้นักลงทุนคลายความ
กังวลเกี่ยวกับอุปทานน้ำมันล้นตลาด
- สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (Brent) ตลาดลอนดอนส่งมอบเดือนกรกฎาคม ปิดที่ 49.74
ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้น 1.13 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล
- สำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐฯ (EIA) เปิดเผยว่า สต๊อคน้ำมันดิบของสหรัฐฯ
ลดลง 4.2 ล้านบาร์เรลในสัปดาห์ที่แล้ว สู่ระดับ 537.1 ล้านบาร์เรล ขณะที่นักวิเคราะห์
คาดการณ์ก่อนหน้านี้ว่าจะลดลง 2.5 ล้านบาร์เรล


6. การเก็งกำไร - ราคา TOCOM ส่งมอบเดือนมิถุนายน อยู่ที่ 158.5 เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 4.5 เยนต่อ
กิโลกรัม และส่งมอบเดือนตุลาคม อยู่ที่ 157.9 เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 2.8 เยนต่อ
กิโลกรัม
- ราคา SICOM เปิดตลาดที่ 148.6 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 1.7 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม


7. ข่าว - สถาบัน Ifo เปิดเผยว่า นักเศรษฐศาสตร์ร้อยละ 85 ในเยอรมันไม่เห็นด้วยที่อังกฤษจะ
ถอนตัวจากการเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป (EU)
- กระทรวงแรงงานฝรั่งเศสเปิดเผยว่า ผู้ที่ยื่นขอสวัสดิการว่างงานมีจำนวนลดลงร้อยละ
0.6 หรือ 19,000 คนสู่ระดับ 3.511 ล้านคนในเดือนเมษายน เมื่อเทียบกับเดือนมีนาคม
และเป็นการลดลงเป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกัน
- รัฐมนตรีกระทรวงคลังยูโรโซน และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ได้อนุมัติเงินกู้
งวดใหม่ให้แก่กรีซ ขณะที่ฝ่ายเจ้าหนี้ของกรีซยังคงมีความเห็นที่แตกต่างกันเกี่ยวกับ
ความคืบหน้าในการปฏิรูป และความสามารถในการใช้หนี้ของกรีซ


8. ข้อคิดเห็นของประกอบการ
- ราคายางน่าจะทรงตัวหรือเปลี่ยนแปลงในช่วงแคบ ๆ ขึ้นอยู่กับความต้องการซื้อของ
ผู้ประกอบการบางราย ขณะที่ราคาที่ซื้ออยู่ในระยะนี้อยู่ในระดับสูงเมื่อเทียบกับราคา
ตลาดสิงคโปร์ จึงมองว่าราคายังคงผันผวนต่อเนื่องจนกว่าจะมีปัจจัยบวกหรือลบที่ชัดเจน
อย่างไรก็ตาม ตลาดต่างประเทศยังคงเงียบ ไม่มีผู้ซื้อ ขณะที่ผู้ขายก็ไม่มียางส่งมอบ

แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มทรงตัวหรือเปลี่ยนแปลงในช่วงแคบ ๆ โดยมีปัจจัยหนุนจากราคาชี้นำตลาดล่วงหน้า
โตเกียวและราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้น ประกอบกับอุปทานยางออกสู่ตลาดน้อย เนื่องจากภาคใต้มีฝนตกหนักเป็น
อุปสรรคต่อการกรีดยาง ส่วนปัจจัยลบมาจากเงินเยนแข็งค่า และความกังวลเกี่ยวกับแนวโน้มเศรษฐกิจโลกที่
ชะลอตัว ส่งผลต่ออุปสงค์ยางในภาพรวม




สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา