ผู้เขียน หัวข้อ: 'ตรัง' วิจัยล้อมคอก-ไข้มาลาเรีย หวั่นแพร่ระบาดชาวสวนยาง  (อ่าน 1385 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 84444
    • ดูรายละเอียด
วันที่ 03 สิงหาคม พ.ศ. 2556 ปีที่ 23 ฉบับที่ 8283 ข่าวสดรายวัน


'ตรัง' วิจัยล้อมคอก-ไข้มาลาเรีย หวั่นแพร่ระบาดชาวสวนยาง



ตรัง - นพ.สุวิช ธรรมปาโล ผอ.สํานักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 จ.สงขลา ร่วมกับศูนย์ควบคุมโรคติดต่อนําโดยแมลง จ.ตรัง ผู้นําชุมชนและประชาชนพื้นที่ 4 ตำบลใน 3 อำเ???อ เพื่อวิจัยผลกระทบจากสวนยางพาราต่อยุงก้นปล่องในพื้นที่แพร่เชื้อไข้มาลาเรียของจ.ตรัง เนื่องจากไข้มาลาเรียเป็นโรคติดต่อในเขตร้อนและกึ่งเขตร้อนที่มี ยุงก้นปล่องเป็นแมลงนําโรค หนึ่งในปัญหาสาธารณสุข สำหรับจ.ตรัง ตั้งอยู่ในพื้นที่และส???าพดินฟ้าอากาศที่หลากหลาย ก่อให้เกิดส???าพป่าหลายแบบ เหมาะแก่การเพาะพันธุ์และอาศัยของยุงก้นปล่อง ประกอบกับการประกอบอาชีพสวนยางพาราที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้อุณห???ูมิลดลงและความ ชื้นสูง ตลอดจน???าชนะที่รองรับน้ำยางพารามีน้ำฝนขังอยู่ ซึ่งอาจเหมาะสมกับการเป็นแหล่งเพาะพันธ์ยุงก้นปล่อง อีกทั้งยังมีเจ้าของสวนยางพาราเข้าไปสร้างที่พักอาศัยและ มีแรงงานต่างด้าวเข้ามาทํางาน โดยพักอาศัยอยู่???ายในด้วย



จากสถิติพื้นที่สวนยางพาราของจ.ตรัง ในปี 2545-2549 พบว่ามีจำนวนเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.55 ซึ่งส่วนหนึ่งอาจมาจากส???าพพื้นที่ที่เหมาะสม โดยผลจากการวิจัยพบว่า ช่วงเวลาออกกรีดยางพาราของชาวตรังคือ 22.00-06.00 น. แต่ช่วงเวลาที่นิยมออกไปกรีดยางพาราสูงสุดคือ 04.00-05.00 น. เนื่องจากเป็นช่วงที่ต้นยางพาราให้ผลผลิตดี ขณะที่ ยุงก้นปล่องตัวเต็มวัย มักออกหากินในช่วงเวลา 18.00- 05.00 น. ทั้งนี้ เมื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างชนิด ความหนาแน่นและช่วงเวลาการกัดกินเลือดของยุงพาหะพบว่า มีความสอดคล้องกับช่วงเวลาออกกรีดยางพาราของประชาชน ทำให้มีความเสี่ยงต่อการรับเชื้อไข้มาลาเรียได้อย่างมาก



ดังนั้นหลังจากนี้สํานักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 และศูนย์ควบคุมโรคติดต่อนําโดยแมลง จึงเตรียมหามาตรการป้องกันไม่ให้เชื้อไข้มาลาเรียแพร่ระบาดไปสู่ชาวสวนยางหรือชาวบ้านในพื้นที่ นอกจากนี้ยังกำชับให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งลงพื้นที่ช่วยเหลือและให้ความรู้กับชาวบ้าน เพื่อให้ตระหนักถึงอันตรายของโรคดังกล่าว