ผู้เขียน หัวข้อ: เกษตรฯชง2วิธีระบายสต็อกยาง  (อ่าน 1864 ครั้ง)

tavarn

  • Global Moderator
  • Jr. Member
  • *****
  • กระทู้: 57
    • ดูรายละเอียด
เกษตรฯชง2วิธีระบายสต็อกยาง
« เมื่อ: กรกฎาคม 29, 2013, 03:37:45 PM »
เกษตรฯชง2วิธีระบายสต็อกยาง
29 กรกฎาคม 2556
แหล่งข้อมูล: เว็บไซต์กรุงเทพธุรกิจ (Th)
 
 
นายยุคล ลิ้มแหลมทอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า จากการวิเคราะห์สถานการณ์ยางในประเทศพบว่าผลผลิตที่ออกสู่ตลาดยังมากกว่าความต้องการ ราคายางจึงมีแนวโน้มไม่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ซึ่งสถานการณ์นี้สวนทางกับความเห็นของผู้ประกอบการที่ระบุว่าปัจจุบันไม่มียางส่งออกและต้องซื้อยางจากตลาดโตคอม แสดงให้เห็นว่ามีการปั่นราคายางในประเทศให้ปรับตัวลดลง ส่วนหนึ่งเป็นเพราะ???าคเอกชนเห็นว่ารัฐบาลมียางในสต็อกที่ได้จากโครงการพัฒนาศักย???าพสถาบันเกษตรกรเพื่อรักษาเสถียร???าพราคายาง จำนวน 2.18 แสนตัน ซึ่งรอการตัดสินใจว่าจะจำหน่ายหรือไม่

อย่างไรก็ตาม หลังจากตรวจสต็อกยางจะหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อกำหนดแนวทางการระบาย ซึ่งเบื้องต้นมี 2 แนวทางคือ 1.จำหน่ายให้ผู้ประกอบการโดยตรง และ2.จำหน่ายลักษณะสินค้าแปรรูปขั้นต้น เช่น ยางแท่ง ยางแผ่นรมควันชั้น 3 ซึ่งองค์การสวนยาง (อสย.) สามารถดำเนินการได้ แต่ต้องรอจังหวะและเวลาที่เหมาะสมเพื่อให้โครงการนี้ขาดทุนน้อยที่สุด โดยที่ผ่านมาใช้วงเงินซื้อยางไปทั้งหมด 2.3 หมื่นล้านบาท จากวงเงินรวมที่ได้รับการอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี 4.5 หมื่นล้านบาท

"จากการหารือกับสมาคมล้อยางพบว่าปีนี้จะเพิ่มการผลิตเป็น 70 ล้านเส้น จากเดิมปีละ 50 ล้านเส้น ความต้องการยางพาราจึงสูงขึ้น แต่สมาคมต้องการยางแปรรูปขั้นต้นจึงแนะนำให้กระทรวงฯใช้กระบวนการสหกรณ์ในการผลิตยางเหล่านี้ เพื่อขายให้กับผู้ประกอบการล้อยางโดยตรง จากปัจจุบันจะขายยางก้อนถ้วย น้ำยาง และยางแผ่นดิบที่มีราคาไม่สูงมากนัก"

สำหรับโครงสร้างอุตสาหกรรมยางในประเทศ พบว่าไทยมีผลผลิตยางปีละ 3.2 ล้านตัน เป็นการใช้ในประเทศ 17% ส่วนอีก 83%เป็นการส่งออกโดยผู้ประกอบการทั่วประเทศ 185 ราย แต่การส่งออกส่วนใหญ่ดำเนินการโดยผู้ประกอบการรายใหญ่เพียง 5 บริษัท คือ บริษัทไทยฮั้ว ยางพารา จำกัด บริษัท ศรีตรัง แอโกรอินดัสทรี จำกัด(มหาชน).บริษัท ไทยรับเบอร์ลาเท็คซ์ คอร์ปอร์เรชั่น (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) บริษัท วงศ์บัณฑิต จำกัด และ บริษัท เซาท์แลนด์รับเบอร์ จำกัด ส่วนตลาดส่งออกหลัก คือจีน มาเลเซีย สห???าพยุโรป(อียู) สหรัฐ และเกาหลีใต้

"จากโครงสร้างดังกล่าวไทยต้องพึ่งพาการส่งออกเท่านั้น หากตลาดมีปัญหาจะกระทบราคายางในประเทศทันที และถ้า 5 บริษัทขยับตัว เช่น ชะลอการรับซื้อหรือเร่งซื้อ ราคายางในประเทศจะขยับตัวด้วยเดียวกัน การแก้ไขปัญหาอุตสาหกรรมยางในประเทศทั้งระบบคือการเพิ่มปริมาณการใช้ยางในประเทศเป็น 30%"

นอกจากนั้น ยังควรใช้วิธีชะลอการกรีดยาง โดยใช้เทคโลโลยี เช่น การใช้แก๊สอะเซทิลีนรมต้นยาง สามารถชะลอการให้น้ำยางได้ 2 วัน การใช้สารอัดผิวหน้ายางต้นยางจะสามารถเก็บน้ำยางได้ 6 วัน วิธีการเหล่านี้ประเทศมาเลเซียใช้แล้วได้ผล แต่ต้องเป็นต้นยางที่มีอายุตั้งแต่ 14-15 ปีขึ้นไป ซึ่งกระทรวงฯจะนำไปหารือในคณะกรรมการนโยบายยางธรรมชาติ (กนย.) ต่อไป