ผู้เขียน หัวข้อ: ชะตากรรมชาวสวนยางพาราราคาดิ่งต่ำสุดในประวัติการณ์  (อ่าน 1062 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 84894
    • ดูรายละเอียด
ชะตากรรมชาวสวนยางพาราราคาดิ่งต่ำสุดในประวัติการณ์
วันอังคารที่ 20 ตุลาคม  2015 เวลา 10:05 น.

 ชะตากรรมชาวสวนยางพารา ราคาดิ่งต่ำสุดในประวัติการณ์ : ดลมนัส กาเจรายงาน

 
 
ชะตากรรมชาวสวนยางพาราราคาดิ่งต่ำสุดในประวัติการณ์ height=347   
 หากย้อนไปต้นๆ เดือนกันยายน 2557 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ยืนยันถึงแนวทางการแก้ไขปัญหายางราคาตกต่ำว่า ตามที่ได้พูดคุยกับผู้แทนชาวสวนยางมา เพื่อหามาตรการแก้ไขปัญหาว่า ได้พยายามทำให้ตัวเลขราคายางพาราไม่ต่ำกว่ากิโลกรัมละ 50 บาท หรือ 60 บาท หลังจากที่ราคายางพาราตกต่ำที่สุดในวันที่ 3 ธันวาคม 2557 ยางแผ่นดินดิบเหลืองเพียงกิโลกรัมละ 41.00 บาท ราคาน้ำยางสดกิโลกรัมละ 39 บาท
?รัฐบาลไม่ได้รับซื้อยางพารา แต่พูดคุยผู้ประกอบการภาคเอกชนให้รับซื้อในราคากิโลกรัมละ 60 บาทม ซึ่งได้รับข้อเสนอและอยู่ระหว่างพิจารณาและถ้าไม่ได้ 60 บาท จะได้เท่าไหร่ก็ต้องไปว่ากันตรงนั้น? พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว (คมชัดลึก 10 ธ.ค.)
หลังจากนั้นดูเหมือนว่าราคายางพาราพยับ ขึ้นเรื่อยๆ จนสิ้นปี 2557 ราคายางแผ่นดิบในท้องถิ่นราคา กก.ละ 48.10 ราคาน้ำยางสดกิโลกรัมละ 45 บาท ต่อมาวันที่ 6 มกราคม 2558 พล.อ.ประยุทธ์ยืนยันจะพยายามทำให้ราคาขึ้นไปถึงกิโลกรัมละ 65 บาท ขณะที่ตอนนั้นราคายางพารารมควัน ณ ตลาดกลางยางพารา อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา อยู่ที่กิโลกรัมละ 61 บาท
ขณะที่การประชุมภาคีประเทศผู้ปลูก ยางพารา 3 ประเทศ ไทย มาเลเซีย และอินโดนีเซีย ครั้งที่ 25 หรือ The 25thMeeting of International Tripartite Rubber Council (ITRC) ซึ่งจัดขึ้น ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย เมื่อวันที่ 10-11 กันยายน 2558 ซึ่ง นายสมชาย ชาาญณรงค์กุล อธิบดีกรมวิชาการเกษตร ยืนยันเมื่อครั้งที่ยังดำรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และในฐานะประธานบอร์ด กยท. (ตอนนั้น) ว่า ที่ประชุมมีมติเห็นชอบร่วมกันกำหนดเป้าหมายขยายการใช้ยางพาราในแต่ละประเทศ เพิ่มขึ้นเป็น 10% จากเดิมที่มีการใช้ไม่เกิน 5 % โดยให้แต่ละประเทศกำหนดมาตรการที่มีความชัดเจน เพื่อเพิ่มปริมาณการใช้ยางธรรมชาติในประเทศมากขึ้น ซึ่งจะช่วยลดการพึ่งพาตลาดส่งออก และช่วยให้เกษตรกรชาวสวนยางพารามีช่องทางทางการตลาดเพิ่มขึ้นด้วย
จากวิกฤติราคายางพาราที่ตกต่ำลงอย่างต่อ เนื่อง ทำให้แกนนำกลุ่มเครือข่ายชาวสวนยางภาคใต้ ต้องเข้าไปยื่นหนังสือถึง พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยมีนายธีรภัทร ประยูรสิทธิ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลเร่งหามาตรการช่วยเหลือ รวมทั้งเรื่องของการประกาศใช้หลักเกณฑ์ เงื่อนไข การขึ้นทะเบียนเกษตรกรด้วย
นายธีรภัทร ระบุว่า ตามที่กลุ่มเกษตรกรที่มายื่นข้อเรียกร้องนั้น ทางกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้รับฟังปัญหาความเดือดร้อนของพี่น้องชาวสวนยางทุกกลุ่ม ทางรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฯ มีนโยบายให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ท โดยเฉพาะเรื่องการแต่งตั้งคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของบอร์ดการยางแห่งประเทศ ไทย (กยท.) ที่ต้องทำตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างเข้มงวดเพื่อให้ทุกคนเชื่อมั่น ทำให้โปร่งใสที่สุด
กระนั้น เมื่อปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา (16 ต.ค.58) ราคายางพาราดิ่งลงสุดขีดในรอบกว่า 1 ทศวรรษ ราคาซื้อขาย ณ โรงงานในท้องถิ่น โดยเฉพาะยางแผ่นดิบหลุดเพดาน
กิโลกรัมละ40 บาท เหลือเพียง 39.90 บาท น้ำย่างสดอยู่ที่
กิโลกรัมละ 40.50 บาท ลบสถิติที่ตกต่ำที่สุดเมื่อวันที่ 8-9 ตุลาคม 2558 ยางแผ่นดิบเหลือเพียง 40.10 บาท น้ำยางสดกิโลกรัมละ 39.00 บาท ขณะที่ซื้อขายจริงในท้องถิ่นอยู่ที่กิโลกรัมละ 36-37 บาท
การที่ราคายางพาราตกต่ำกว่า 40 บาท/กก. นายอุทัย สอนหลักทรัพย์ ประธานสภาการยางแห่งประเทศไทย ผู้ซึ่งคลุกคลีอยู่ในวงการยางพารามานานกว่า 40 ปี ยืนยันว่า เป็นราคาที่ตกต่ำที่สุดเป็นประวัติการณ์กว่า 100 ปี เมื่อเทียบกับค่าครองชีพ และเป็นราคาที่เกษตรกรอยู่ไม่ได้ เพราะต้นทุนการผลิตอยู่ที่กิโลกรัมละกว่า 62 บาท
?เมื่อก่อนยางพารากิโลกรัมละ 14 บาท ข้าราดแกงจานละ 5 บาท ผู้ที่จบการศึกษาวุฒิปริญญาตรีเงินเดือน 2,700 บาท พอยางพารากิโลกรัมละ 19 บาท ข้าวราดแกงจานละไม่ถึง 10 บาท ตอนนี้ข้าวราดแกงจาน 35-40 บาท ราคายางพารา ณ โรงงานกิโลกรัมละ 39 บาท ซื้อจริงในพื้นที่จริง 35-37 บาท ผู้ที่จบการศึกษาระดับปริญญาตรีเงินเดือนขั้นต่ำ 1.5 หมื่นบาท จึงขอผู้นำเกษตรกรหันมาช่วยกันแก้ปัญหาราคายางตกต่ำอย่างแท้จริง เพื่อให้เกษตรกรชาวสวนยางพารารายย่อยที่ยากจนสามารถประคับประคองตนให้ดำรง ชีวิตอยู่ได้ในภาวะวิกฤติยางเช่นนี้? นายอุทัย กล่าว
ล่าสุด เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2558 นายวีระศักดิ์ ขวัญเมือง ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย ชี้แจงว่า พล.อ.ฉัตรชัย ได้แต่งตั้งคณะกรรมการร่วมเพื่อพัฒนายางพารา เพื่อให้ทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ เอกชน เกษตรกร และ กยท.ช่วยกันขับเคลื่อนการแก้ปัญหาและพัฒนายางพาราไปพร้อมกัน 7 คณะที่มาจากตัวแทนเกษตรกรให้เข้ามามีส่วนร่วมเพื่อบริหารจัดการ ระดม ความคิดเห็น ให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการแก้ไขและพัฒนายางพาราทั้งระบบอย่างแท้จริง ประกอบด้วย
1.คณะทำงานเพื่อการใช้ยางพาราในประเทศ เพื่อขับเคลื่อนเพื่อให้เกิดการใช้ยางพาราภายในประเทศ อย่างแท้จริง มีผู้แทนกรมวิชาการเกษตร เป็นประธาน 2.คณะทำงานพิจารณาราคายางพารา มีผู้แทนสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร เป็นประธาน 3.คณะทำงานด้านต้นทุน และแนวทางการลดต้นทุนยางพารา มีผู้แทนสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร เป็นประธาน 4.คณะทำงานเพื่อการพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรมยางพารา มีหน้าที่จัดทำแผนการพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรมร่วมกับ กยท. ติดตามการดำเนินธุรกิจอุตสาหกรรมร่วม และนำเสนอเพื่อพัฒนาการบริหารจัดการ มีผู้ว่าการ กยท. เป็นประธาน
5.คณะทำงานศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจยางพารา มีรองผู้ว่าการ กยท. เป็นประธาน 6.คณะทำงานติดตามโครงการพัฒนายางพาราทั้งระบบ จะติดตามผลการดำเนินงานตามแนวทางการพัฒนายางพาราทั้งระบบ มีผู้ว่าการ กยท. เป็นประธาน และสุดท้าย คณะทำงานติดตามการทำสวนยางภายใต้นโยบายการทวงคืนผืนป่า มีผู้อำนวยการสถาบันวิจัยยาง เป็นประธาน เป็นต้น
?ทุกฝ่ายตระหนักถึงความเดือดร้อนเรื่อง ราคายางที่เกษตรกรกำลังเผชิญอยู่แต่การแก้ไขปัญหายางพาราทั้งระบบที่สะสม เรื้อรังมานาน จำเป็นต้องใช้เวลาตามขั้นตอนและระเบียบต่างๆ ทุกฝ่ายควรหันหน้าเข้าหากัน จึงเชื่อว่าปัญหาราคายางน่าจะได้รับการคลี่คลายในอีกไม่นานนี้? นายวีระศักดิ์ กล่าว
นับเป็นวิกฤติกาลอันเลวร้ายสำหรับ เกษตรกรชาวสวนยางพารา ในยุคที่เศรษฐกิจที่ตกต่ำ ถึงเวลาที่ทุกภาคส่วนต้องหันหน้ามาแก้ปัญหาจริงจังพื่ออยู่รอดของเกษตรกรต่อ ไป

ที่มา หนังสือพิมพ์คมชัดลึก (วันที่ 19 ตุลาคม 2558)