ผู้เขียน หัวข้อ: ชาวสวนผงะขายยางจีนเองเจอ5เสือดัมพ์ต้องถอยกลับ  (อ่าน 1500 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 84444
    • ดูรายละเอียด
ชาวสวนผงะขายยางจีนเองเจอ5เสือดัมพ์ต้องถอยกลับ



  ชาวสวนไม่พึ่งพ่อค้า ดิ้นหอบยางไปเร่ขายส่งออกที่จีนเอง ผงะท่าเทียบเรือสต๊อกยางเพียบเต็มโกดัง ทั้งเจอ 5 เสือบิ๊กยางไทยไปขายดัมพ์ราคา แข่งไม่ไหว หวั่นสหกรณ์ขาดทุน ด้าน "ธีระชัย" บอร์ดยาง เผยสิ้นเดือนนี้ 5 ตัวแทนเกษตรกร ครบองค์ประชุมพร้อมขับเคลื่อน กยท. หนุนสถาบันเกษตรกรปั้นแบรนด์ "กยท." ผลิตล้อรถจักรยานยนต์/ยางรถ เกษตร หวังเป็นเสือส่งออกตัวที่ 6
 นายอุทัย สอนหลักทรัพย์ ประธานชุมนุมสหกรณ์เกษตรอุตสาหกรรมยางแห่งประเทศไทย เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า ขณะนี้มีสหกรณ์รวบรวมยาง แล้วได้นำไปขายเองถึงประเทศจีน โดยไม่พึ่งพ่อค้า แต่กลับพบว่ายางในโกดังที่ท่าเทียบเรือต่างๆของจีนมีอยู่เต็มโกดัง อีกทั้งยังพบ 5 เสือวงการยางของไทย ได้นำยางไปขายดัมพ์ราคาแข่งด้วย ทำให้แข่งขันไม่ไหว เกรงจะขาดทุน มองว่าการทำแบบนี้ของผู้ค้ายางทำไม่ถูก เพราะยิ่งทำให้สถานการณ์ราคายางไทยย่ำแย่ลงอีก นอกจากนี้เกษตรกรยังตกเป็นเบี้ยล่างของพ่อค้าโดยบางรายไปขายแบบเครดิตนำเงิน มาหมุน ก่อนเพื่อเลี้ยงครอบครัว ก็ยิ่งทำให้เสียเปรียบมากขึ้น ซึ่งในวันที่ 16 กันยายนนี้จะหารือนอกรอบกับ พล.อ.ดร.ประสาท สุขเกษตร เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อหาทางออกในการช่วยเหลือเกษตรกรทั้งระยะเร่งด่วน ระยะกลางและระยะยาวต่อไป
 สอดคล้องกับนายธีระชัย แสนแก้ว อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สมัยนายสมัคร สุนทรเวช เป็นนายกรัฐมนตรี (ปัจจุบันเป็นบอร์ด กยท.ตัวแทนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) กล่าวว่า ล่าสุดการคัดสรรตัวแทนเกษตรกรเข้าบอร์ด กยท.นั้น ยังขาดตัวแทนภาคตะวันออก จำนวน 1 คน และภาคใต้ จำนวน 2 คน คาดว่าสิ้นเดือนกันยายนนี้จะครบองค์ประชุม หลังจากนั้นจะมีการแต่งตั้งรองผู้ว่าการยางแห่งประเทศไทย ตลอดจนคณะกรรมการด้านต่างๆ เพื่อสนับสนุนสถาบันเกษตรกรให้แปรรูปยางพาราและสร้างแบรนด์ "กยท." ให้เติบโตในรูปผลิตภัณฑ์ล้อรถจักรยานยนต์และยางรถเกษตรเพื่อส่งออกไปจำหน่าย ในกลุ่มประเทศอาเซียน มองว่าเป็นการอุดช่องว่างทางการตลาดและเกษตรกรสามารถกระทำได้ โดยลงทุนร่วมกับเอกชน ซึ่งในอนาคตใน 3-5 ปีข้างหน้า กยท.ที่ขับเคลื่อนโดยเกษตรกรที่มีวัตถุดิบป้อนโรงงาน จะเป็นเสือตัวที่ 6 ในการส่งออกได้ไม่ยาก
 ขณะที่แหล่งข่าวจากคณะกรรมการนโยบายยางธรรมชาติ (กนย.) เผยถึงโครงการลดพื้นที่ปลูกยาง 7 ปี ปีละ 4 แสนไร่ โดยจะปลูกทดแทนด้วยยาง 3 แสนไร่ และพืชอื่น 1 แสนไร่ มีเกษตรกรแจ้งความประสงค์ขอโค่นต้นยางพาราแล้ว 4.96 แสนไร่ แยกเป็นสงเคราะห์ปลูกแทนด้วยยางพาราพันธุ์ดี 2.86 แสนไร่ สงเคราะห์ปลูกแทนแบบเกษตรผสมผสาน 2 พันไร่เศษ สงเคราะห์ปลูกแทนด้วยไม้ผลหรือไม้ยืนต้น 2.67 หมื่นไร่ สงเคราะห์ปลูกแทนด้วยปาล์มน้ำมัน 1.81 แสนไร่ ขณะนี้โค่นยางพาราแล้ว1.97 แสนไร่ นอกจากนี้ยังมีการแก้ไขระเบียบเพื่อให้เกษตรกรได้มีทางเลือกในการทำอาชีพผสม ผสานในสวนยาง โดยลดจำนวนต้นยางที่กำหนดไว้เดิมไม่ต่ำกว่า 60 ต้นต่อไร่ เป็นไม่ต่ำกว่า 40 ต้นต่อไร่ ขณะนี้ได้ส่งเสริมให้เกษตรกรชาวสวนยางสมัครเข้ากลุ่มชาวสวนยาง 9.27 พันราย ปลูกพืชแซมในสวนยาง 8.82 หมื่นไร่ และปลูกคลุมในสวนยาง 7.25 หมื่นไร่
 "จากการรวบรวมข้อมูลปริมาณการผลิต การนำเข้า การใช้ในประเทศการส่งออก และสต๊อกยางที่รวบรวมจากหน่วยงานต่างๆ นั้น (ดูตารางประกอบ) มีการคาดการณ์ว่า ในปี 2558 ประเทศไทยจะมีพื้นที่กรีดยางทั้งหมด 17.3 ล้านไร่ ใน 66 จังหวัด โดยจะมีผลผลิตยางจำนวน 4.2 ล้านตัน และมีปริมาณการใช้ยางในประเทศอยู่ที่ 5.5 แสนตัน หรือคิดเป็นสัดส่วน 13% ของผลผลิต ดังนั้นจึงต้องเพิ่มปริมาณการใช้ให้มากขึ้น"--จบ--


https://www.facebook.com/RakayangDotCom/photos/a.932714680080947.1073741827.204695672882855/1028330440519370/?type=1
      ฐานเศรษฐกิจ (Th)     
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 17, 2015, 08:59:08 AM โดย Rakayang.Com »