ผู้เขียน หัวข้อ: ชาวสวนยางยื่นขอค่าชดเชยส่วนต่าง 60 บาท 26 ส.ค. นี้  (อ่าน 1064 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 83239
    • ดูรายละเอียด
ชาวสวนยางยื่นขอค่าชดเชยส่วนต่าง 60 บาท  26 ส.ค. นี้


  กยท.หอบมาตรการชดเชยเสนอฉัตรชัย 26 ส.ค. นี้ ขอชดเชยส่วนต่างราคาเป็นเงินสด 60 บาทต่อกก. หลังราคายางร่วงหนัก ขณะที่สมัชชาสถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง ขอเข้าหารือนายกรัฐมนตรี 25 ส.ค.

 นายวีระศักดิ์ ขวัญเมือง ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) เปิดเผยว่า ในวันที่ 26 ส.ค. นี้ จะเข้าพบพล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อหารือถึงแนวโน้มราคายางพาราที่ปรับตัวลดลงอย่างมาก โดยราคายางแผ่นดิบชั้น 3 ณ ตลาดกลางยางพาราหาดใหญ่ลดลงเหลือ 44.67 บาทต่อกก. ลดลง 0.44 บาทต่อกก. ปิดการซื้อขายเมื่อวันที่ 21 ส.ค. ที่ผ่านมา อยู่ที่ 45.11 บาทต่อกก.

 ขณะที่ ราคาน้ำยางสดลดเหลือ 43.50 บาทต่อกก.ลดลง 0.50 บาทต่อกก. ปิดตลาดวันที่ 21 ส.ค.ที่ผ่านมา อยู่ที่ 44.00 บาทต่อกก. ซึ่งการลดลงของราคายางในประเทศ เกิดจากปัจจัยนอกเหนือการควบคุมคือ ราคาน้ำมันที่ปรับตัวลดลง เศรษฐกิจโลกที่ไม่ดีและสงครามค่าเงิน

 การลดลงของราคายางพารานั้นส่งผลกระทบต่อรายได้ของชาวสวนอย่างมาก จึงต้องการจะนำเสนอมาตรการที่ นายอำนวย ปะติเส อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เสนอไว้ คือการให้ภาครัฐชดเชยส่วนต่างของราคาที่รัฐบาล ชาวสวนต้องการ โดยกำหนดราคาเพดานไว้ที่ 60 บาทต่อกก. หากราคาลดลง ให้รัฐบาลชดเชยส่วนต่างระหว่างราคาขายได้ และราคาเพดาน 60 บาทต่อกก. เป็นเงินสดให้กับชาวสวน พร้อมจะหารือแนวโน้มราคาตลาดในอนาคต รวมถึงมาตรการช่วยเหลือว่าจะสานต่องานของรัฐมนตรีชุดก่อน ตลอดจนแผนปรับปรุงมาตรการ และแนวทางช่วยเหลือเกษตรกรให้สามารถพัฒนาตัวเองไปพร้อมๆกัน

 ทั้งจะมีการรายงาน ความคืบหน้า ปัญหาและอุปสรรค ของ 16 มาตรการแก้ไขปัญหาและพัฒนายางพาราทั้งระบบของรัฐบาล ประกอบด้วย1.โครงการบริหารจัดการสต็อกยางของรัฐ 2.โครงการสนับสนุนเงินทุนหมุนเวียนแก่สถาบันเกษตรกรเพื่อใช้ในการรวบรวมยาง 3.โครงการสนับสนุนสินเชื่อสถาบันเกษตรกรแปรรูปยางพารา 4.โครงการสนับสนุนสินเชื่อผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ยาง 5.โครงการพัฒนาตลาดตามแผนปรับโครงสร้างระบบตลาดยางพารา 6.โครงการจัดหาตลาดใหม่เพื่อส่งออกยางพารา 7.โครงการส่งเสริมการลงทุนด้านผลิตภัณฑ์ยางภายในประเทศต่อโครงการสนับสนุน ผู้ ประกอบผลิตภัณฑ์ยาง

 8.โครงการจัดตั้งสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมยาง 9.โครงการควบคุมปริมาณการผลิต 10.โครงการลดต้นทุนการผลิต 11.โครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อลดต้นทุนการผลิตยาง 12.โครงการผลิตเพื่อเสริมรายได้ในสวนยางตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 13.โครงการสร้างมูลภัณฑ์กันชนเพื่อรักษาเสถียรภาพราคายาง 14.โครงการชดเชยรายได้แก่เกษตรกรชาวสวนยาง 15.โครงการสนับสนุนสินเชื่อเกษตรกรชาวสวนยางรายย่อยเพื่อประกอบอาชีพเสริม และ16.โครงการสนับสนุนเงินทุนหมุนเวียนแก่ผู้ประกอบการยาง

 นายอุทัย สอนหลักทรัพย์ ประธานสมัชชาสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ในวันนี้( 25 ส.ค.?) สมัชชาฯ พร้อมด้วยตัวแทนเกษตรกรชาวสวนยางทั่วประเทศ จะเข้าพบนายกรัฐมนตรี เพื่อขอให้เดินหน้าโครงการชดเชยรายได้เกษตรกร ที่ผ่านความเห็นชอบในหลักการแล้ว คือกำหนดให้รัฐจ่ายชดเชยส่วนต่างให้เกษตรกรที่ขายผ่านสถาบันเกษตรกร หากราคาต่ำกว่าที่กำหนด ปัจจุบันราคายางตกต่ำอย่างต่อเนื่อง โครงการนี้จะเริ่มจ่ายเงินดังกล่าวได้หลังการปิดกรีดหน้ายางไปแล้วตั้งแต่ พ.ค. 59 เป็นต้นไป หลักเกณฑ์การชดเชย ราคายางแผ่นดิบคละ ที่ กก.ละ 60 บาท น้ำยางสดกก.ละ 54 บาท และยางก้อนถ้วย 100% กก.ละ 54 บาท--จบ--



      กรุงเทพธุรกิจ (Th)