ผู้เขียน หัวข้อ: วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง วันอังคารที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2558  (อ่าน 828 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 84531
    • ดูรายละเอียด
วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง
วันอังคารที่  21  กรกฎาคม  พ.ศ. 2558


ปัจจัย
วิเคราะห์
1. สภาพภูมิอากาศ
- ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้นและตกหนักบางแห่ง โดยเฉพาะภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองเกือบทั่วไป ร้อยละ 70 ของพื้นที่ เป็นอุปสรรคต่อการกรีดยาง ส่วนภาคอื่น ๆ มีฝนร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่
2. การใช้ยาง
- ตามรายงานสถิติยางธรรมชาติและแนวโน้มของสมาคมผู้ผลิตยางธรรมชาติ (ANRPC) ปีที่ 7 ฉบับที่ 6 เดือนมิถุนายน 2558 ระบุว่า ครึ่งแรกของปี 2558 ปริมาณการผลิตยางธรรมชาติของประเทศสมาชิกอยู่ที่ 5.04 ล้านตัน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ 5.08 ล้านตัน หรือลดลงร้อยละ 0.7 สาเหตุสำคัญเนื่องจากราคายางที่ลดลงเป็นปัจจัยฉุดรั้งให้เกษตรกรกรีดยางลดลง ประกอบกับสภาพอากาศร้อนและปัญหาภัยแล้งจากปรากฏการณ์เอลนิญโญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้- จากข้อมูลกรมสถิติมาเลเซียพบว่า ปริมาณการผลิตยางธรรมชาติของมาเลเซียในเดือนพฤษภาคมลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 11.3 อยู่ที่ 38,923 ตัน แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายนร้อยละ 6.8
3. เศรษฐกิจโลก
- นักเศรษฐศาสตร์สเปนคาดการณ์ว่า จีนจะมีอำนาจทางเศรษฐกิจมากกว่าสหรัฐฯ 2 เท่าใน 15 ปีข้างหน้า หากจีนยังคงสามารถรักษาอัตราการขยายตัวในปัจจุบัน- ศูนย์สารสนเทศแห่งรัฐของจีน (SIC) คาดการณ์ว่า เศรษฐกิจจีนจะขยายตัวราวร้อยละ 7.0 ในช่วงครึ่งปีหลัง และคาดว่าดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) จะปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.6 สาเหตุจากมาตรการผ่อนคลายทางการเงิน- สำนักงานสถิติแห่งชาติเยอรมันรายงานว่า ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) เดือนมิถุนายนขยับลงร้อยละ 0.1 จากเดือนพฤษภาคม และปรับตัวลงร้อยละ 1.4 เมื่อเทียบเป็นรายปี- บรรดาผู้เชี่ยวชาญได้ออกมาเรียกร้องให้ธนาคารและสถาบันการเงินต่าง ๆ ของจีนเพิ่มการปล่อยเงินกู้ เพื่อช่วยเหลือการลงทุนในภูมิภาค ตลอดแนวเส้นทางเศรษฐกิจ- ธนาคารกลางเยอรมันรายงานว่า การขยายตัวของเศรษฐกิจเยอรมันมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในไตรมาส 2 โดยมีปัจจัยบวกจากกลุ่มผู้บริโภคซึ่งได้แรงหนุนจากภาวะตลาดแรงงานที่สดใส และการเพิ่มขึ้นของค่าแรง รวมทั้งจากความแข็งแกร่งของธุรกิจส่งออก ขณะที่ไตรมาสแรกเศรษฐกิจเยอรมันขยายตัวร้อยละ 0.3 ซึ่งก่อนหน้านี้ได้คาดการณ์ว่า เศรษฐกิจจะขยายตัวร้อยละ 1.5 ในปีนี้ และร้อยละ 1.7ในปี 2559 และ 2560- ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) สาขาเซนต์หลุยส์ กล่าวว่า มีความเป็นไปได้มากที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมเดือนกันยายน โดยมองว่ามีโอกาสร้อยละ 50 ที่เฟดจะปรับขึ้นเป้าหมายอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นในเดือนกันยายนนี้- รัฐมนตรีช่วยกระทรวงการคลังจีนกล่าวว่า รัฐบาลจีนประสบความสำเร็จในการยุติภาวะผันผวน และสร้างเสถียรภาพให้กับตลาดหุ้น ด้วยการใช้มาตรการที่ทันท่วงที แม้ว่าจำนวนผู้จดทะเบียนในตลาด 1 ใน 5 จะยังคงถูกระงับการซื้อขายหุ้นในตลาดก็ตาม
4. อัตราแลกเปลี่ยน
- เงินบาทอยู่ที่ 34.47 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ อ่อนค่าลง 0.20 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ- เงินเยนอยู่ที่ 124.35 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ อ่อนค่าลง 0.21 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ
5. ราคาน้ำมัน
- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือนสิงหาคมปิดตลาดที่ 50.15 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง 0.74 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล เนื่องจากความกังวลว่าหากการยกเลิกคว่ำบาตรอิหร่านเริ่มมีผลบังคับใช้ จะเปิดทางให้อิหร่านสามารถผลิตและส่งออกน้ำมันได้มากขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้ปริมาณน้ำมันในตลาดโลกสูงขึ้น และสร้างแรงกดดันให้กับราคาน้ำมันดิบ- สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (Brent) ตลาดลอนดอนส่งมอบเดือนกันยายน ปิดที่ 56.65ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง 0.45 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล- ทางการซาอุดิอาระเบียเปิดเผยว่า การส่งออกน้ำมันดิบลดลงในเดือนพฤษภาคม แตะระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนธันวาคม 2557 อยู่ที่ 6.935 ล้านบาร์เรลต่อวัน เทียบกับ 7.737 ล้านบาร์เรลต่อวันในเดือนเมษายน
6. การเก็งกำไร
- ราคา TOCOM ส่งมอบเดือนสิงหาคม อยู่ที่ 204.1 เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 0.5 เยนต่อกิโลกรัม และส่งมอบเดือนธันวาคม อยู่ที่ 215.1 เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 0.3 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ- ราคา SICOM เปิดตลาดที่ 166.0 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 0.5 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม
7. ข่าว
- สำนักงานสถิติแห่งชาติจีน (NBS) รายงานว่า การจ้างงานของจีนยังคงมีเสถียรภาพในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ ขณะที่อัตราว่างงานในเมืองใหญ่ 31 แห่ง ลดลงสู่ร้อยละ 5.06 ในเดือนมิถุนายน อัตราว่างงานดังกล่าวเป็นระดับต่ำสุดของปีนี้ หลังจากเพิ่มขึ้นแตะร้อยละ 5.19 ในเดือนมีนาคม โดยมีผลกระทบจากวันหยุดในเดือนดังกล่าว- สื่อต่างประเทศรายงานโดยอ้างการเปิดเผยของกระทรวงการคลังกรีซว่า กรีซได้เริ่มกระบวนการชำระหนี้วงเงิน 6.8 พันล้านยูโรให้กับกลุ่มเจ้าหนี้ ซึ่งประกอบด้วยธนาคารกลางยุโรป (ECB.) และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF.)
8. ข้อคิดเห็นของผู้ประกอบการ
- ราคายางทรงตัวหรือปรับตัวสูงขึ้นได้เล็กน้อย เพราะมีแรงหนุนจากผลผลิตมีน้อย และเงินบาทอ่อนค่า ซึ่งเป็นผลดีต่อผู้ส่งออก ขณะที่ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ยังคงขาดแคลนวัตถุดิบ
แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มทรงตัวหรือเปลี่ยนแปลงในช่วงแคบ ๆ ทิศทางเดียวกับตลาดล่วงหน้าโตเกียว โดยมีปัจจัยบวกจากเงินเยนและเงินบาทอ่อนค่า โดยเฉพาะเงินบาททำสถิติอ่อนค่าที่สุดในรอบ 6 ปี ประกอบกับนักลงทุนคลายความกังวลเกี่ยวกับวิกฤตหนี้กรีซ หลังจากที่กรีซสามารถชำระหนี้ให้กับธนาคารกลางยุโรป (ECB.) และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF.) รวมถึงอุปทานยางยังคงออกสู่ตลาดน้อย ส่วนปัจจัยลบยังคงมาจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวลดลงต่อเนื่อง และกระแสคาดการณ์ว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยภายในปีนี้


ทีมวิเคราะห์สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา