ผู้เขียน หัวข้อ: วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง วันจันทร์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2558  (อ่าน 969 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 84531
    • ดูรายละเอียด
วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง
วันจันทร์ที่  20  กรกฎาคม  พ.ศ. 2558
ปัจจัย
วิเคราะห์
1. สภาพภูมิอากาศ
- อิทธิพลร่องมรสุมและมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้นและตกหนักบางแห่งในระยะนี้ โดยภาคใต้มีฝนร้อยละ 60 - 70 ของพื้นที่ ส่วนภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีฝนฟ้าคะนองเกือบทั่วไป ร้อยละ 80 ของพื้นที่ ส่งผลกระทบต่อการกรีดยาง
2. การใช้ยาง
- บริษัทศรีตรังแอโกรอินดัสทรี จำกัด (มหาชน) คงเป้าหมายปริมาณการขายยางพาราปีนี้ที่ 1.2 ล้านตันเท่าปีก่อน แม้ในช่วงครึ่งแรกของปีจะพลาดเป้าหมายหลังรัฐเข้าแทรกแซงราคายางให้สูงกว่าราคาตลาด ส่งผลให้บริษัทฯ ขาดวัตถุดิบ แต่มองว่าปริมาณการขายยางจะดีขึ้นในช่วงครึ่งปีหลังตามการเก็บสต๊อคเพิ่มขึ้นของผู้ใช้ อย่างไรก็ตาม ราคายางเฉลี่ยทั้งปีมองว่าจะต่ำกว่าปีก่อน ซึ่งเป็นผลจากภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัว และราคาน้ำมันปรับตัวลดลง- สมาคมผู้ผลิตยานยนต์ยุโรปเปิดเผยว่า ยอดจดทะเบียนรถยนต์ในยุโรปเดือนมิถุนายนเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.0 แตะระดับ 1.41 ล้านคัน เมื่อเทียบกับปีก่อนที่ 1.23 ล้านคัน
3. สต๊อคยาง
- สต๊อคยางจีน ณ วันที่ 17 กรกฎาคม 2558 เพิ่มขึ้น 8,838 ตัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.58 อยู่ที่ 167,215 ตัน จากระดับ 158,377 ตัน เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2558- สต๊อคยางญี่ปุ่น ณ วันที่ 10 กรกฎาคม 2558 ลดลง 461 ตัน หรือลดลงร้อยละ 3.89 อยู่ที่ 11,403 ตัน จากระดับ 11,864 ตัน เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2558
4. เศรษฐกิจโลก
- ธนาคารกลางยุโรป (ECB.) จัดการประชุมนโยบายการเงิน โดยที่ประชุมมีมติคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ร้อยละ 0.05 ตามความคาดหมาย นับเป็นระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ นอกจากนี้ยังคงอัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่ธนาคารพาณิชย์ฝากไว้กับ ECB. ที่ร้อยละ -0.2 หมายความว่าธนาคารพาณิชย์จะต้องจ่ายค่าฝากแก่ ECB. หากมีการนำส่วนเกินมาพักไว้ที่ ECB. แทนที่จะปล่อยกู้ให้แก่ภาคธุรกิจ- มูดี้ส์ อินเวสเตอร์ เซอร์วิส เปิดเผยว่า ภาวะผันผวนในตลาดหุ้นจีนเมื่อไม่นานมานี้จะไม่ก่อให้เกิดผลกระทบวงกว้างที่รุนแรงต่อเศรษฐกิจจีน โดยความยุ่งเหยิงในตลาดหุ้นจีนไม่ได้ส่งผลให้มีการเปลี่ยนแปลงคาดการณ์ของมูดี้ส์แต่อย่างใด โดยคาดการณ์ของมูดี้ส์ระบุว่า การขยายตัวของเศรษฐกิจจีนจะอยู่ที่ร้อยละ 6.5 - 7.5 ในปีนี้ และร้อยละ 6.0 - 7.0 ในปี 2559- ธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย (ADB) ปรับลดคาดการณ์การขยายตัวทางเศรษฐกิจสำหรับกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาในเอเชียลงสู่ร้อยละ 6.1 ในปีนี้ และร้อยละ 6.2 ในปีหน้า จากเดิมที่ร้อยละ 6.3 สำหรับทั้ง 2 ปี ที่ประเมินไว้เมื่อเดือนมีนาคม เนื่องจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลงเกินคาดในสหรัฐฯ และจีน โดยในรายงานประเมินว่า การขยายตัวของเศรษฐกิจจีนจะอยู่ที่ร้อยละ 7.0 ในปี 2558 และร้อยละ 6.8 ในปี 2559 ซึ่งต่างลดลงร้อยละ 0.2- ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) สาขาพิลาเดลเฟีย เปิดเผยว่า ดัชนีภาวะธุรกิจในภูมิภาคมิดแอตแลนติกชะลอตัวลงในเดือนกรกฎาคม โดยลดลงสู่ระดับ 5.7 จาก 15.2 ในเดือนมิถุนายน ซึ่งเป็นระดับสูงสุดของปีนี้
- ประธานธนาคารกลางยุโรป (ECB.) กล่าวยืนยันว่า ECB. จะเดินหน้าซื้อพันธบัตรตามมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) จนถึงเดือนกันยายน 2559 เพื่อหนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ และทำให้อัตราเงินเฟ้อในยูโรโซนไปสู่เป้าหมายที่ใกล้ระดับร้อยละ 2.0- คณะกรรมาธิการยุโรป (EC) เปิดเผยว่า สหภาพยุโรป (EU.) เห็นพ้องในหลักการที่จะปล่อยเงินกู้ระยะสั้นวงเงิน 7 พันล้านยูโรแก่กรีซ เพื่อให้กรีซสามารถชำระหนี้เงินกู้ 3.5 พันล้านยูโรแก่ธนาคารกลางยุโรป (ECB.)- ผลสำรวจของมหาวิทยาลัยมิชิแกนระบุว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐฯ เบื้องต้นเดือนกรกฎาคมลดลงสู่ระดับ 93.3 ต่ำกว่าระดับ 96.1 ของเดือนมิถุนายน โดยเดือนมกราคม 2558 เป็นดัชนีระดับสูงสุดในรอบ 11 ปี ที่ 98.1 ส่วนดัชนีภาวะเศรษฐกิจปัจจุบันปรับตัวลงสู่ระดับ 106.0 ในเดือนกรกฎาคม จาก 108.9 ในเดือนมิถุนายน ขณะที่ดัชนีคาดการณ์เศรษฐกิจอนาคตลดลงสู่ระดับ 85.2 จาก 87.8- ธนาคารกลางอิตาลีปรับเพิ่มตัวเลขคาดการณ์ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ประจำปีนี้สู่ระดับร้อยละ 0.7 จากเดิมที่ร้อยละ 0.5 โดยระบุถึงการฟื้นตัวของอุปสงค์ภายในประเทศ การลงทุน และการก่อสร้าง นอกจากนี้ยังได้คงตัวเลขการขยายตัวในปีหน้าที่ร้อยละ 1.5- กระทรวงแรงงานสหรัฐฯ เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 ในเดือนมิถุนายน เมื่อเทียบเป็นรายเดือน ได้รับแรงหนุนจากราคาน้ำมันและอาหารที่ทะยานขึ้น เมื่อเทียบเป็นรายปีดัชนี CPI ปรับตัวขึ้นร้อยละ 0.1 เป็นการเพิ่มขึ้นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนธันวาคม 2557- ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) เน้นย้ำในการแถลงนโยบายการเงินรอบครึ่งปีต่อคณะกรรมาธิการการธนาคารประจำวุฒิสภาว่า เฟดมีแนวโน้มปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในปีนี้
5. อัตราแลกเปลี่ยน- เงินบาทอยู่ที่ 34.27 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ อ่อนค่าลง 0.06 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ- เงินเยนอยู่ที่ 124.14 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ อ่อนค่าลง 0.27 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ
6. ราคาน้ำมัน- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือนสิงหาคมปิดตลาดที่ 50.89 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง 0.02 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล ขณะที่ตลาดยังมีความวิตกว่าปริมาณน้ำมันในตลาดโลกจะสูงกว่าความต้องการ หลังจากอิหร่านและชาติมหาอำนาจบรรลุข้อตกลงนิวเคลียร์ในสัปดาห์นี้- สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (Brent) ตลาดลอนดอนส่งมอบเดือนกันยายน ปิดที่ 57.10ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้น 0.18 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล
7. การเก็งกำไร- ตลาดล่วงหน้าโตเกียวปิดทำการ 1 วัน เนื่องในวัน Ocean Day- ราคา SICOM วันที่ 16 กรกฎาคม 2558 อยู่ที่ 165.50 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม และวันที่ 17 กรกฎาคม 2558 หยุดทำการเนื่องในวันอีดิ้ลอัฎฮา (รายอฮัจยี)
8. ข่าว- สมาคมผู้สร้างบ้านแห่งชาติสหรัฐฯ เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้สร้างบ้านเดือนกรกฎาคมปรับตัวขึ้นสู่ระดับสูงสุดในรอบเกือบ 10 ปี อยู่ที่ 60.0 ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2548 สอดคล้องกับที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้- กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ เปิดเผยว่า เดือนมิถุนายนตัวเลขการเริ่มต้นสร้างบ้านเพิ่มขึ้น บ่งชี้ว่าภาวะตลาดที่อยู่อาศัยของสหรัฐฯ ยังคงมีความแข็งแกร่ง ทั้งนี้เดือนมิถุนายนตัวเลขการเริ่มต้นสร้างบ้านเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.8 เมื่อเทียบเป็นรายเดือน อยู่ที่ 1.17 ล้านยูนิต- กระทรวงแรงงานสหรัฐฯ เผยจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกในรอบสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 11 กรกฎาคม 2558 ลดลง 15,000 ราย สู่ 281,000 ราย ลดลงครั้งแรกในรอบ 3 สัปดาห์ โดยตัวเลขดังกล่าวยังคงต่ำกว่าระดับ 300,000 ราย เป็นสัปดาห์ที่ 19 ติดต่อกัน ซึ่งเป็นช่วงเวลานานที่สุดนับตั้งแต่ปี 2543
9. ข้อคิดเห็นของผู้ประกอบการ- ราคายางปรับตัวสูงขึ้นได้ เพราะผลผลิตยังคงมีน้อย หลายพื้นที่ฝนตกต่อเนื่อง ขณะที่ผู้ประกอบการยังมีความต้องการซื้อเพื่อเพิ่มสต๊อคที่ขาดแคลนยางมาตลอดในปีนี้
แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มทรงตัวหรือเปลี่ยนแปลงในช่วงแคบ ๆ โดยมีปัจจัยบวกจากเงินเยนและเงินบาท
อ่อนค่า ประกอบกับข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ โดยทั่วไปออกมาสดใส และนักลงทุนคลายความวิตกต่อสถานการณ์หนี้กรีซ รวมทั้งอุปทานยางออกสู่ตลาดน้อยจากสภาพอากาศทางภาคใต้ของไทยที่มีฝนตกชุก ส่วนปัจจัยลบมาจากราคาน้ำมันปรับตัวลดลง ขณะที่ตลาดล่วงหน้าโตเกียวหยุดทำการเนื่องในวัน Ocean Day


ทีมวิเคราะห์สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา