ผู้เขียน หัวข้อ: วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง วันพฤหัสบดีที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2558  (อ่าน 728 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 84541
    • ดูรายละเอียด
วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง
วันพฤหัสบดีที่  9  กรกฎาคม  พ.ศ. 2558
ปัจจัย
วิเคราะห์
1. สภาพภูมิอากาศ
- อิทธิพลร่องมรสุมและมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ทำให้ประเทศไทยยังคงมีฝนเพิ่มขึ้นและตกหนักบางแห่ง โดยเฉพาะภาคใต้มีฝนตกหนักร้อยละ 60 - 80 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดพังงาและระนอง ส่งผลกระทบต่อการกรีดยาง ส่วนภาคอื่น ๆ มีฝนร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่
2. การใช้ยาง
- บริษัทโตโยต้ามอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด เปิดเผยว่าตลาดรถยนต์เดือนพฤษภาคมมีปริมาณการขาย 56,942 คัน ลดลงร้อยละ 18.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากภาวะหนี้ครัวเรือนที่ยังอยู่ในระดับสูง ประกอบกับกำลังซื้อที่ยังไม่ขยายตัว อันเป็นผลมาจากรายได้เกษตรกรที่ทรงตัวในระดับต่ำ ทำให้สภาพคล่องในระบบและการใช้จ่ายของภาคครัวเรือนลดลง
3. เศรษฐกิจโลก
- องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและพัฒนา (OECD) เปิดเผยว่า เศรษฐกิจสหรัฐฯ อังกฤษ และจีน กำลังแสดงสัญญาอ่อนแอลง ขณะที่ยูโรโซนกำลังฟื้นตัวขึ้น ส่วนญี่ปุ่นอยู่ในสถานะทรงตัว- โฆษกกองทุนกลไกรักษาเสถียรภาพยุโรป (ESM) เปิดเผยว่า กรีซได้ยื่นเรื่องอย่างเป็นทางการเพื่อขอรับเงินกู้ระยะ 3 ปีจากกองทุน ESM แล้วเมื่อวานนี้ พร้อมกับยืนยันที่จะดำเนินการตามเงื่อนไขข้อตกลงให้ความช่วยเหลือ- สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะของกรีซเปิดเผยว่า รัฐบาลกรีซสามารถระดมทุนได้ 1.625 พันล้านยูโรจากการประมูลพันธบัตรรัฐบาล นับเป็นครั้งแรกหลังจากที่โครงการช่วยเหลือทางการเงินของยูโรโซนต่อกรีซได้หมดอายุลงเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2558- การดิ่งลงอย่างมากของตลาดหุ้นจีน ตลอดจนความวิตกเกี่ยวกับวิกฤตหนี้ของกรีซต่อปัจจัยลบที่ฉุดราคาสินค้าโภคภัณฑ์ให้ลดลงแตะระดับต่ำสุดในรอบหลายปี ตลอดจนส่งผลให้ราคาหุ้นกลุ่มทรัพยากรและสกุลของกลุ่มประเทศผู้ผลิตสินค้าโภคภัณฑ์ลดลงด้วย และแรงเทขายในตลาดหุ้นจีนซึ่งเป็นผู้ซื้อรายใหญ่สำหรับสินค้าโภคภัณฑ์ต่าง ๆ รวมถึงทอง ทองแดง สินแร่เหล็ก และสินค้าเกษตรต่าง ๆ- กระทรวงการคลังญี่ปุ่นเปิดเผยว่า เดือนพฤษภาคมญี่ปุ่นมียอดเกินดุลบัญชีเดินสะพัดเป็นเดือนที่ 11 ติดต่อกัน เนื่องจากการปรับตัวลดลงของราคาน้ำมันดิบส่งผลให้ยอดนำเข้าปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง ขณะที่การอ่อนค่าของเงินเยนส่งผลให้มีรายได้จากต่างประเทศเพิ่มขึ้น โดยรายงานของกระทรวงฯ ระบุว่า ญี่ปุ่นมียอดเกินดุลบัญชีเดินสะพัด 1.8809 ล้านล้านเยน เป็นยอดสูงสุดในรอบ 8 ปี ทั้งนี้ยอดส่งออกของญี่ปุ่นลดลงร้อยละ 0.1 จากปีก่อนในเดือนพฤษภาคม ขณะที่ยอดนำเข้าลดลงร้อยละ 10.3 ทำให้ยอด
ขาดดุลการค้าหดตัวลงร้อยละ 31.6
4. อัตราแลกเปลี่ยน
- เงินบาทอยู่ที่ 33.98 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้น 0.04 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ- เงินเยนอยู่ที่ 121.08 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้น 1.10 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ
5. ราคาน้ำมัน
- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือนสิงหาคมปิดตลาดที่ 51.65 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง 0.68 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล หลังจากสำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานของรัฐบาลสหรัฐฯ (EIA.) เปิดเผยว่าสต๊อคน้ำมันดิบของสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นเกินคาดในสัปดาห์ที่แล้ว บ่งชี้ว่าความต้องการพลังงานในสหรัฐฯ ยังคงอ่อนแอ- สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ Brent) ตลาดลอนดอนส่งมอบเดือนสิงหาคม ปิดที่ 57.05ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้น 0.20 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล- สำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานของรัฐบาลสหรัฐฯ (EIA.) เปิดเผยว่า สต๊อคน้ำมันดิบสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นเกินคาดในสัปดาห์ที่แล้ว ทั้งนี้สต๊อคน้ำมันดิบเพิ่มขึ้น 384,000 บาร์เรล สู่ระดับ 465.8 ล้านบาร์เรล ขณะที่นักวิเคราะห์คาดว่าลดลง 1 ล้านบาร์เรล
6. การเก็งกำไร
- ราคา TOCOM ส่งมอบเดือนสิงหาคม อยู่ที่ 198.0 เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 5.0 เยนต่อกิโลกรัม และส่งมอบเดือนธันวาคม อยู่ที่ 207.4 เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 5.5 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ- ราคา SICOM เปิดตลาดที่ 160.0 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม ลดลง 6.7 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม
7. ข่าว
- รัฐมนตรีกระทรวงการคลังฝรั่งเศสเปิดเผยว่า กรีซมีท่าทีเต็มใจที่จะประนีประนอมกับกลุ่มเจ้าหนี้ในหลายประเด็น เพื่อนำไปสู่การบรรลุข้อตกลงรับความช่วยเหลือทางการเงิน และคงสมาชิกภาพของกรีซในยูโรโซนต่อไป- สมาชิกสภาบริหารธนาคารกลางยุโรป (ECB.) เผยจะไม่มีการให้เงินกู้ยืมฉุกเฉินแก่กรีซอีกต่อไป หลังรัฐบาลกรีซไม่สามารถทำข้อตกลงในเรื่องการให้ความช่วยเหลือทางการเงินกับกลุ่มเจ้าหนี้ได้ และกล่าวว่าจะต้องมีการทำข้อตกลงกันในวันอาทิตย์ที่ 12 กรกฎาคม 2558 ไม่เช่นนั้นก็จะสายเกินไป และผลพวงที่ตามมาจะร้ายแรงมาก- ประธานสภายุโรปได้ขีดเส้นตายสำหรับการเจรจาหนี้กรีซว่าจะสิ้นสุดลงในวันอาทิตย์ที่ 12 กรกฎาคม 2558 และรัฐบาลกรีซจะมีเวลาถึงวันที่ 9 กรกฎาคม 2558 เป็นอย่างช้าที่สุดในการเสนอรายละเอียดข้อเสนอเกี่ยวกับแนวทางการปฏิรูปที่ครอบคลุมและเฉพาะเจาะจง
8. ข้อคิดเห็นของผู้ประกอบการ
- ราคายางน่าจะทรงตัวหรือเปลี่ยนแปลงในช่วงแคบ ๆ เพราะแม้ว่าราคาตลาดล่วงหน้าโตเกียวจะปรับตัวสูงขึ้น แต่ราคาที่ซื้ออยู่ในระยะนี้ก็อยู่ในระดับสูงกว่าความเป็นจริงเมื่อเทียบกับราคาตลาดล่วงหน้าสิงคโปร์ ดังนั้นจึงต้องรอดูสถานการณ์ทิศทางตลาดล่วงหน้าโตเกียวที่ชัดเจนก่อนที่จะปรับราคาอีกครั้ง อย่างไรก็ตาม ในสภาวะที่อุปทานมีน้อยก็ยังเป็นปัจจัยบวกได้อีกระดับหนึ่ง
แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นในทิศทางเดียวกับตลาดล่วงหน้าโตเกียว สาเหตุจากการเข้าซื้อเพื่อเก็งกำไรของนักลงทุน หลังจากราคาปรับตัวลดลงอย่างมากเมื่อวานนี้ และเงินบาทอยู่ในระดับอ่อนค่าที่สุดในรอบ6 ปี ประกอบกับได้รับแรงหนุนจากข่าวกรีซได้ยื่นเรื่องอย่างเป็นทางการเพื่อขอรับเงินกู้ และยืนยันจะดำเนินการตามเงื่อนไขที่เจ้าหนี้เรียกร้องในข้อตกลง รวมถึงอุปทานยางยังออกสู่ตลาดน้อย อย่างไรก็ตาม ราคายางยังมีปัจจัยเสี่ยงจากนักลงทุนยังวิตกกังวลเกี่ยวกับผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการปรับลดลงอย่างมากของตลาดหุ้นจีน อาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจจีน ซึ่งเป็นผู้ใช้ยางรายใหญ่ของโลก


ทีมวิเคราะห์สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 09, 2015, 12:02:45 PM โดย Rakayang.Com »