ผู้เขียน หัวข้อ: คสช.เข้มเช็กสต๊อกยางพารา พบยางผิดรูป-เสื่อมสภาพอื้อ  (อ่าน 799 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 84444
    • ดูรายละเอียด
คสช.เข้มเช็กสต๊อกยางพารา พบยางผิดรูป-เสื่อมสภาพอื้อ
updated: 30 มิ.ย. 2558 เวลา 09:40:01 น.
 ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
 
 แม่ทัพภาค 4 นำคณะตรวจสอบลงพื้นที่เช็กสต๊อกยางพารา หลังมีข่าวทุจริตลักลอบนำออกจำหน่าย ประเดิมโกดัง-โรงแรม 20 แห่ง จังหวัดสงขลา-พัทลุง-สุราษฎร์ฯ เบื้องต้นยังไม่พบทุจริต แต่ของเสียอื้อ ทยอยเก็บข้อมูลเตรียมรายงาน คสช.
 

เมื่อเร็ว ๆ นี้ พล.ท.ปราการ ชลยุทธ แม่ทัพภาคที่ 4 เป็นประธานการประชุม การตรวจสอบสต๊อกยางพาราตามโครงการพัฒนาศักยภาพสถาบันเกษตรกร เพื่อรักษาเสถียรภาพยางพารา และโครงการมูลภัณฑ์กันชน โดยมอบหมายให้มณฑลทหารบกที่ 42 รับผิดชอบตรวจสอบโกดัง และโรงรมในพื้นที่รับผิดชอบ รวมทั้งสิ้น 13 แห่ง อยู่ในจังหวัดสงขลา 12 แห่ง และจังหวัดพัทลุง 1 แห่ง โดยแยกเป็นโกดัง 6 แห่ง และโรงรมยาง 7 แห่ง โดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) มีคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานตรวจสอบสต๊อกยางในโกดังเก็บยาง ในโรงรมทั้งของบริษัทเอกชน และขององค์การสวนยาง 3 ชุด ชุดละ 15 คน ประกอบด้วย เจ้าหน้าที่ทหาร 7 นาย ผู้แทนจากส่วนราชการพลเรือน 6 คน ตำรวจ 1 นาย และผู้แทนภาคประชาชน หรือสื่อมวลชน 1 คน

สำหรับการดำเนินการตรวจสอบ อาทิ การตรวจสอบทางบัญชีและเอกสาร การตรวจสอบคุณภาพยาง และการตรวจนับปริมาณยาง โดยระหว่างการตรวจสอบนั้นได้มีเจ้าหน้าที่จากสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) เดินทางมาสังเกตการณ์ และติดตามการทำงานของคณะทำงานตรวจสอบอย่างใกล้ชิด

พล.ท.ปราการกล่าวว่า ให้คณะทำงานชุดที่ 1 ลงพื้นที่โกดังสำนักตลาดยางพารา จังหวัดสงขลา โกดังนายวันชัย เด่นเสรีกุลและโรงรมบีไรท์ รับเบอร์ สาขารัตภูมิ จังหวัดสงขลา คณะทำงานชุดที่ 2 ลงพื้นที่สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางสงขลาเขต 1 โกดังแสงทองรับเบอร์ จำกัด และโรงรม บริษัท เซาท์อีสต์ รับเบอร์จำกัด คณะทำงานชุดที่ 3 ลงพื้นที่โรงรมบริษัท เซาท์แลนด์ รับเบอร์ จำกัด และโกดังสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางพัทลุง โดยให้คณะทำงานทุกชุดปฏิบัติอยู่ในกรอบให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน
[size=78%]




[/size]ด้าน พ.อ.ชนาวีร์ สุวรรณรัตน์ หัวหน้าคณะทำงานชุดที่ 1 กล่าวภายหลังเข้าตรวจสอบโกดังเก็บรักษายางของนายวันชัยเด่นศรีเสรีกุล ที่ตำบลพังลา อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลาว่า จากการตรวจสอบสต๊อกยางตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ ยังไม่พบว่ามีการนำยางที่เก็บไว้ออกไป แต่พบว่ามียางจำนวนหนึ่งที่เป็นยางแผ่นรมควันได้รับความเสียหาย

นายไชยยงค์ มณีรุ่งสกุล นายกสมาคมหนังสือพิมพ์ภาคใต้แห่งประเทศไทย ตัวแทนการตรวจสอบภาคประชาชน กล่าวว่า สาเหตุที่ คสช.ออกคำสั่งให้มีการตรวจสอบสต๊อกยาง เป็นเพราะว่าก่อนหน้านี้มีข่าวการขายยางจำนวนหนึ่งออกจากสต๊อก และมีการทุจริตเกิดขึ้น แต่จากการตรวจสอบแล้วยังไม่พบว่ามีการทุจริต แต่พบว่าหลายแห่งมียางเสื่อมคุณภาพจากการจัดเก็บ อย่างไรก็ตามหลังการตรวจสต๊อกแล้ว จะต้องเทียบกับตัวเลขในเอกสารทั้งหมดที่อยู่ที่องค์การสวนยางนาบอน จังหวัดนครศรีธรรมราช อีกครั้งหนึ่ง

ขณะที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี คณะทำงานตรวจสอบสต๊อกยางพารากว่า 30 นาย ได้เข้าตรวจโกดังทั้ง 7 แห่ง เป็นยางในโครงการพัฒนาศักยภาพสถาบันเกษตรกร เพื่อรักษาเสถียรภาพราคายางพารา รวมน้ำหนัก 10.8 ล้านกิโลกรัม ส่วนยางพาราในโครงการมูลภัณฑ์กันชน จำนวน 23.9 ล้านกิโลกรัม โดยใช้เวลาการตรวจนับ 3 วัน

พล.ต.เรืองศักดิ์ สุวรรณนาคะ รองแม่ทัพภาค 4 เปิดเผยภายหลังการตรวจสอบสต๊อกยางที่โกดังตลาดกลางยางพาราว่า เบื้องต้นพบว่ายางในโครงการพัฒนาศักยภาพสถาบันเกษตรกรเพื่อรักษาเสถียรภาพราคายาง มีการเสียรูปทรง และมีราขึ้นที่แผ่นยางจำนวนมาก เพราะยางดังกล่าวถูกเก็บไว้นาน 3 ปีแล้ว ทำให้เสื่อมสภาพไปตามระยะเวลา โดยเป็นยางที่ซื้อมาในราคา 109 บาท และ 98 ต่อกิโลกรัม ในยุครัฐบาลที่แล้ว ส่วนยางพาราในโครงการมูลภัณฑ์กันชนยังไม่เสื่อมสภาพ เนื่องจากเก็บเข้าสต๊อกเมื่อปลายปีที่แล้ว ต่อเนื่องถึงต้นปีนี้