ผู้เขียน หัวข้อ: วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง วันอังคารที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2558  (อ่าน 911 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 84581
    • ดูรายละเอียด
วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง
วันอังคารที่  23  มิถุนายน  พ.ศ. 2558
ปัจจัย
วิเคราะห์
1. สภาพภูมิอากาศ
- ลมมรสุมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนมีกำลังแรง ทำให้ภาคตะวันออกมีฝนตกหนักบางแห่ง ร้อยละ 60 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด ส่วนภาคใต้มรฝนร้อยละ 30 ของพื้นที่ บริเวณจังหวัดระนองและพังงา เป็นอุปสรรคต่อการกรีดยาง
2. การใช้ยาง
- บริษัทฮอนด้า ออโตโมบิล (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า ตลาดรถยนต์ไทยครึ่งปีหลังยังคงมีสถานการณ์ในลักษณะชะลอตัวยาวต่อเนื่อง ทั้งนี้ยอดจำหน่ายรถยนต์ทุกยี่ห้อช่วง 5 เดือนที่ผ่านมามียอดเฉลี่ยเดือนละ 6 หมื่นคัน หากภาพรวมยังเป็นเช่นนี้ตลาดรถยนต์ปลายปีจะลดลงมาก แต่เวลาที่เหลือจะมีรถยนต์รุ่นใหม่ ๆ ออกมากระตุ้นตลาดได้บ้าง ทำให้คาดว่าในปีนี้ตลาดจะปิดที่ 8 แสนคัน
3. เศรษฐกิจโลก
- ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) สาขานิวยอร์ก รายงานว่าค่าใช้จ่ายในการบริโภคที่แท้จริงของสหรัฐฯ ยังไม่ได้แสดงสัญญาณการดีดตัวขึ้นอย่างมีนัยสำคัญจากการชะลอตัวในช่วงฤดูหนาว ถึงแม้ว่าในขณะนี้สภาพอากาศดีขึ้น และตลาดแรงงานปรับตัวดีขึ้น ขณะที่ราคาพลังงานลดลงเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว- ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) สาขาชิคาโก เปิดเผยดัชนีกิจกรรมการผลิตทั่วประเทศประจำเดือนพฤษภาคมขยับขึ้นสู่ระดับ -0.17 จาก -0.19 ในเดือนเมษายน โดยได้รับแรงหนุนจากการจ้างงาน แต่ดัชนียังคงบ่งชี้ถึงความไม่มั่นใจต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจในไตรมาส 2 หลังจากหดตัวในไตรมาสแรก- สื่อต่างประเทศรายงานว่า ธนาคารกลางยุโรป (ECB.) เพิ่มเพดานเงินกู้ฉุกเฉินให้ธนาคารกรีซเป็นครั้งที่ 3 ในระยะเวลาไม่ถึง 1 สัปดาห์- HSBC โฮลดิ้งส์ เปิดเผยในรายงานฉบับหนึ่งว่า จีนในปัจจุบันและญี่ปุ่นในยุค 1980 มีความคล้ายคลึงกันบางประการ และจีนควรพิจารณาแนวทางญี่ปุ่นจัดการกับภาวะเงินฝืดของประเทศ แม้ว่าจีนในปัจจุบันมีความแตกต่างจากญี่ปุ่นในยุค 1980 เป็นอย่างมาก แต่จีนก็สามารถเรียนรู้บทเรียนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเลี่ยงกับดักภาวะเงินฝืด- รัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศสหภาพยุโรป (EU.) เห็นพ้องกันในการประชุมวันนี้ว่า EU. และสมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) จะต้องทำงานร่วมกันเพื่อยกระดับความสัมพันธ์ทั้ง 2 ฝ่าย สู่ระดับการเป็นคู่ค้าในเชิงกลยุทธ์
4. อัตราแลกเปลี่ยน
- เงินบาทอยู่ที่ 33.70 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ อ่อนค่าลง 0.03 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ- เงินเยนอยู่ที่ 123.57 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ อ่อนค่าลง 0.82 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ
5. ราคาน้ำมัน
- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือนกรกฎาคม ปิดตลาดที่ 59.68 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้น 0.07 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล เพราะได้รับแรงหนุนจากความหวังที่ว่ากรีซและกลุ่มเจ้าหนี้จะสามารถทำข้อตกลงกันได้ในสัปดาห์นี้ นอกจากนี้ยังได้รับแรงหนุนข้อมูลด้านอสังหาริมทรัพย์ที่แข็งแกร่งของสหรัฐฯ- ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ (Brent) ตลาดลอนดอน ส่งมอบเดือนกรกฎาคม ปิดที่ 63.34 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้น 0.32 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล
6. การเก็งกำไร
- ราคาตลาด TOCOM ส่งมอบเดือนกรกฎาคม อยู่ที่ 216.9 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 0.8 เยนต่อกิโลกรัม และส่งมอบเดือนพฤศจิกายน อยู่ที่ 227.3 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 0.2 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ- ราคาตลาด SICOM เปิดตลาดที่ 182.0 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม ไม่เปลี่ยนแปลง
7. ข่าว
- ประธานยูโรโซนและรัฐมนตรีกระทรวงการคลังเนเธอร์แลนด์กล่าวว่า ข้อเสนอใหม่จากรัฐบาลกรีซที่เสนอเมื่อวานนี้ ถือเป็นขั้นตอนเชิงบวกในกระบวนการแก้ไขปัญหาหนี้กรีซ และอาจมีการบรรลุข้อตกลงภายในสัปดาห์นี้ ทั้งนี้ผู้นำสหภาพยุโรป (EU.) จะจัดการประชุมสุดยอดในวันที่ 25 - 26 มิถุนายน 2558 ก่อนที่กรีซจะครบกำหนดชำระหนี้วงเงิน 1.6 พันล้านยูโรแก่กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF.) ในวันที่ 30 มิถุนายน 2558- สมาคมนายหน้าอสังหาริมทรัพย์แห่งชาติสหรัฐฯ (NAR) เปิดเผยว่า ยอดจำหน่ายบ้านมือสองเดือนพฤษภาคมเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.1 สู่ระดับ 5.35 ล้านยูนิต ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2552 และบ่งชี้ว่าตลาดที่อยู่อาศัยของสหรัฐฯ ยังคงมีความแข็งแกร่ง หลังจากยอดขายร่วงลงเกินคาดในเดือนเมษายน จากที่แตะระดับสูงสุดในรอบ 18 เดือนในเดือนมีนาคม- การประชุมรัฐมนตรีกระทรวงการคลังยูโรโซนเกี่ยวกับหนี้กรีซได้สิ้นสุดลงแล้วเมื่อวานนี้ โดยที่ประชุมให้การขานรับต่อข้อเสนอของกรีซ แต่ก็ขอเวลาอีกหลายวันเพื่อศึกษารายละเอียดในข้อเสนอดังกล่าว เพื่อพิจารณาว่าจะผ่านความเห็นชอบหรือไม่ โดยรัฐมนตรีกระทรวงการคลังยูโรโซนจะประชุมกันอีกครั้งภายในสัปดาห์นี้
8. ข้อคิดเห็นของผู้ประกอบการ
- ราคายางน่าจะทรงตัว ไม่เปลี่ยนแปลงมาก เพราะโดยภาพรวมผลผลิตมีน้อยมาก แต่มียางเก่าเข้ามาชดเชยอยู่บ้าง ขณะที่อุปสงค์ยางซบเซา ทำให้ขายออกยาก ไม่มีผู้ซื้อ และหากซื้อก็ถามซื้อในราคาต่ำกว่าราคาตลาดสิงคโปร์ อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการกล่าวว่า ผลผลิตที่มีน้อยอาจส่งผลต่อราคายางในระยะอีก 2 - 3 เดือนข้างหน้า ถ้าปริมาณยางลดลงอย่างชัดเจนก็จะส่งผลให้ราคายางสูงขึ้นได้
แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มทรงตัวหรือเปลี่ยนแปลงในช่วงแคบ ๆ ทิศทางเดียวกับตลาดล่วงหน้าโตเกียว โดยมีปัจจัยด้านบวกจากเงินเยนอ่อนค่า และนักลงทุนมีมุมมองเป็นบวกต่อเศรษฐกิจญี่ปุ่นและสหรัฐฯ รวมทั้งอุปทานยางยังคงออกสู่ตลาดน้อย ส่วนปัจจัยลบมาจากราคาน้ำมันค่อนข้างผันผวน และนักลงทุนระมัดระวังในการซื้อขายเพื่อติดตามการประชุมของธนาคารกลางยุโรป (ECB.) เกี่ยวกับปัญหาหนี้กรีซในสัปดาห์นี้ (วันที่ 25 - 26 มิถุนายน 2558)ทีมวิเคราะห์สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา