ผู้เขียน หัวข้อ: วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง วันพฤหัสบดีที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2558  (อ่าน 854 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 84604
    • ดูรายละเอียด
วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง
วันพฤหัสบดีที่  11  มิถุนายน  พ.ศ. 2558
ปัจจัย
วิเคราะห์
1. สภาพภูมิอากาศ
- มรสุมตะวันตกเฉียงใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้ที่ปกคลุมประเทศไทยอ่อนกำลังลง ทำให้ประเทศไทยมีฝนลดลง โดยภาคใต้มีฝนร้อยละ 20 - 30 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดระนอง ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล เป็นอุปสรรคต่อการกรีดยาง ส่วนภาคอื่น ๆ มีฝนร้อยละ 20 ของพื้นที่
2. การใช้ยาง
- สมาคมผู้ผลิตยานยนต์จีนเผยยอดจำหน่ายรถยนต์เดือนพฤษภาคมลดลงร้อยละ 4.55 เมื่อเทียบเป็นรายเดือน แตะ 1.9 ล้านคัน ซึ่งเป็นการปรับตัวลดลงเป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกัน และเมื่อเทียบเป็นรายปียอดจำหน่ายปรับตัวลงเช่นกัน โดยลดลงร้อยละ 0.4 สะท้อนให้เห็นว่าตลาดรถยนต์ของจีนเริ่มหดตัว ขณะที่ยอดการผลิตรถยนต์ในเดือนพฤษภาคมลดลงมาอยู่ที่ 1.96 ล้านคัน หรือลดลงร้อยละ 5.56 จากเดือนเมษายน และลดลงร้อยละ 0.58 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
3. สต๊อคยาง
- สต๊อคยางญี่ปุ่น ณ วันที่ 31 พฤษภาคม 2558 เพิ่มขึ้น 617 ตัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.78 อยู่ที่ 11,289 ตัน จากระดับ 10,672 ตัน เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2558
4. เศรษฐกิจโลก
- ธนาคารกลางจีนปรับลดคาดการณ์การขยายตัวทางเศรษฐกิจและดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) สำหรับปี 2558 เนื่องจากมีแรงกดดันช่วงขาลงมากขึ้นต่อการขยายตัวเศรษฐกิจจีน โดยหัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ธนาคารกลางจีนคาดว่า เศรษฐกิจจีนจะขยายตัวร้อยละ 7.0 ซึ่งตัวเลขดังกล่าวต่ำกว่าคาดการณ์ในช่วง 6 เดือนก่อนที่ร้อยละ 7.1 นอกจากนี้ธนาคารกลางจีนได้ปรับลดคาดการณ์ CPI สำหรับปีนี้เหลือร้อยละ 1.4 จากร้อยละ 2.2- สำนักงานสถิติแห่งชาติฝรั่งเศสเปิดเผยว่า ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนเมษายนปรับตัวลดลงร้อยละ 0.9 จากเดือนก่อน สวนทางกับการคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ที่คาดว่าจะปรับเพิ่มขึ้น- สำนักงานสถิติแห่งชาติอิตาลีเปิดเผยว่า ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนเมษายนปรับตัวลดลงร้อยละ 0.3 จากเดือนก่อน โดยเป็นสถิติที่ลดลงมากที่สุดในรอบ 3 เดือน สะท้อนให้เห็นว่าเศรษฐกิจอิตาลียังคงเปราะบาง- รัฐบาลญี่ปุ่นเปิดเผยว่า ยอดสั่งซื้อเครื่องจักรพื้นฐานภาคเอกชนเดือนเมษายนปรับตัวขึ้นร้อยละ 3.8 จากเดือนก่อน สู่ระดับ 9.025 แสนล้านเยน ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2551- ธนาคารโลก (World Bank) ปรับลดคาดการณ์การขยายตัวเศรษฐกิจโลกปีนี้ลงสู่ร้อยละ 2.8 จากที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ที่ร้อยละ 3.0 โดยระบุว่ากลุ่มประเทศกำลังพัฒนากำลังเผชิญกับความท้าทายหลายด้าน
5. อัตราแลกเปลี่ยน
- เงินบาทอยู่ที่ 33.64 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้น 0.09 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ- เงินเยนอยู่ที่ 122.98 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้น 1.38 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ
6. ราคาน้ำมัน
- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือนกรกฎาคม ปิดตลาดที่ 61.43 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้น 1.29 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล หลังจากสำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานของรัฐบาลสหรัฐฯ (EIA.) เปิดเผยสต๊อคน้ำมันสัปดาห์ที่แล้วลดลงเกินคาด ช่วยคลายความวิตกกังวลเกี่ยวกับอุปทานล้านตลาด- ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ (Brent) ตลาดลอนดอน ส่งมอบเดือนกรกฎาคม ปิดที่ 65.70 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้น 0.82 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล- สำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานของสหรัฐฯ (EIA.) เปิดเผยว่า สต๊อคน้ำมันดิบสหรัฐฯ ลดลงมากเกินคาดในสัปดาห์ที่แล้ว ทั้งนี้สต๊อคน้ำมีนดิบลดลง 6.8 ล้านบาร์เรล สู่ 470.6 ล้านบาร์เรล  ซึ่งเป็นการลดลงมากที่สุดนับตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2557 จากที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะลดลงเพียง 1.8 ล้านบาร์เรล- กลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปค) เปิดเผยว่าการผลิตน้ำมันของโอเปคแตะระดับ 30.98 ล้านบาร์เรลต่อวัน สูงกว่าเพดานที่กำหนดไว้ที่ 30 ล้านบาร์เรลต่อวัน ขณะที่โอเปคคาดว่าตลาดโลกยังคงมีอุปสงค์ที่อ่อนแอ โดยคาดว่าปีนี้อยู่ที่ 29.30 ล้านบาร์เรลต่อวัน ต่ำกว่ากำลังการผลิต สำหรับสหรัฐฯ ไตรมาสแรกมีการผลิตน้ำมันทรงตัวที่ 13.56 ล้านบาร์เรลต่อวัน
7. การเก็งกำไร
- ราคาตลาด TOCOM ส่งมอบเดือนกรกฎาคม อยู่ที่ 224.4 เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 1.4 เยนต่อกิโลกรัม และส่งมอบเดือนพฤศจิกายน อยู่ที่ 236.7 เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 2.0 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ- ราคาตลาด SICOM เปิดตลาดที่ 188.0 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 1.0 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม
8. ข่าว
- สื่อต่างประเทศรายงานว่า มีสัญญาณบวกว่านายกรัฐมนตรีเยอรมันอาจยอมรับเงื่อนไขการปฏิรูปเศรษฐกิจของกรีซอย่างน้อย 1 เงื่อนไข ถือเป็นข้อกำหนดที่กลุ่มเจ้าหนี้จะใช้ประกอบการตัดสินใจในการให้ความช่วยเหลือกรีซ ก่อนที่โครงการให้ความช่วยเหลือทางการเงินในปัจจุบันจะสิ้นสุดลง- สแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ (S&P) ประกาศลดอันดับความน่าเชื่อถือของกรีซลงสู่ระดับ CCC หรือ ?ระดับขยะ? สะท้อนมุมมองที่ว่ารัฐบาลกรีซอาจผิดนัดชำระหนี้ภายใน 12 เดือนข้างหน้า หากกรีซไม่สามารถทำข้อตกลงกับกลุ่มเจ้าหนี้ได้
9. ข้อคิดเห็นของผู้ประกอบการ
- ราคายางทรงตัวหรือสูงขึ้นได้เล็กน้อย เพราะผลผลิตมีน้อย ขณะที่ผู้ประกอบการบางรายยังมีความต้องการชื้อเพื่อส่งมอบตามสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มทรงตัวหรือเปลี่ยนแปลงในช่วงแคบ ๆ ทิศทางเดียวกับตลาดล่วงหน้าโตเกียว โดยมีปัจจัยบวกจากราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้น อีกทั้งปริมาณยางที่ออกสู่ตลาดน้อยจากการลดอุปทานยางด้วยการโค่นยางเก่า และผลกระทบจากภัยแล้ง ส่วนปัจจัยลบมาจากต่างประเทศเป็นส่วนมาก เช่น วิกฤตหนี้กรีซ ธนาคารโลกปรับลดคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจโลกปีนี้ และเศรษฐกิจจีนที่ชะลอตัว ส่งผลให้การผลิตและการจำหน่ายรถยนต์ของจีนซบเซา รวมถึงความกังวลเกี่ยวกับการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด)ทีมวิเคราะห์สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา