ผู้เขียน หัวข้อ: วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง วันศุกร์ที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2558  (อ่าน 1053 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 84609
    • ดูรายละเอียด
วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง
วันศุกร์ที่  5  มิถุนายน  พ.ศ. 2558
ปัจจัย
วิเคราะห์
1. สภาพภูมิอากาศ
- มรสุมตะวันตกเฉียงใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมประเทศไทยอ่อนกำลังลง ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนลดลง โดยภาคใต้มีฝนร้อยละ 30 ของพื้นที่ ส่วนภาคอื่นมีฝนร้อยละ 20 - 30 ของพื้นที่
2. การใช้ยาง
- อธิบดีกรมวิชาการยาง กระทรวงเกษตรกัมพูชา เปิดเผยว่า เดือนพฤษภาคมราคายางธรรมชาติของกัมพูชาปรับตัวสูงขึ้นร้อยละ 20.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากผู้ผลิตรายใหญ่ของโลก โดยเฉพาะไทย อินโดนีเซีย และมาเลเซีย ปรับลดอุปทานยางในตลาดเพื่อหนุนราคายาง
3. เศรษฐกิจโลก
- ศูนย์วิจัยทางสังคมวิทยา (CIS) เปิดเผยว่า ความเชื่อมั่นผู้บริโภคสเปนเดือนพฤษภาคมปรับตัวเพิ่มขึ้น 1.3 จุด แตะ 103.1 จุด เมื่อเทียบกับเดือนก่อน สะท้อนให้เห็นถึงมุมมองเชิงบวกที่มีต่อภาวะเศรษฐกิจสเปน- กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF.) ออกรายงานประจำปีประกาศปรับลดตัวเลขคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ปีนี้ พร้อมเรียกร้องให้ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ชะลอการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยออกไปเป็นปีหน้า ทั้งนี้ IMF. ปรับลดตัวเลขคาดการณ์ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของสหรัฐฯ ปีนี้สู่ร้อยละ 2.5 จากเดิมที่คาดเมื่อเดือนเมษายนที่ร้อยละ 3.1- หนึ่งในผู้ว่าการธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) กล่าวว่า เศรษฐกิจสหรัฐฯ ได้สูญเสียแรงผลักดันบางส่วน และอาจจะไม่สามารถฟื้นตัวขึ้นอย่างรวดเร็วจากภาวะชะลอตัวในไตรมาสแรกเช่นเดียวกับที่ทำได้ในปีที่แล้ว เพราะในปีนี้มีปัญหามากกว่าปีที่แล้ว- กระทรวงแรงงานสหรัฐฯ เปิดเผยว่า ประสิทธิภาพการผลิตของแรงงานนอกภาคการเกษตรลดลงร้อยละ 3.1 ในไตรมาสแรกเมื่อเทียบเป็นรายไตรมาส ขณะที่เมื่อเทียบเป็นรายปีเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 ในไตรมาสแรก- หนึ่งในสมาชิกคณะกรรมการบริหารธนาคารกลางยุโรป (ECB.) เปิดเผยว่า ECB. เตรียมพร้อมที่จะใช้มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) ต่อไปจนกว่าเงินเฟ้อของยูโรโซนจะฟื้นตัวขึ้นจากปัจจุบันที่เคลื่อนไหวในระดับต่ำมาก- ธนาคารกลางฝรั่งเศสคาดการณ์ว่า เศรษฐกิจภายในประเทศจะขยายตัวร้อยละ 1.2 ในปีนี้ สูงกว่าที่รัฐบาลคาดการณ์ว่าจะขยายตัวเพียงร้อยละ 1.0 นอกจากนี้ยังคาดว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวรวดเร็วขึ้นสู่ร้อยละ 1.8 ในปี 2559 และร้อยละ 1.9 ในปี 2560- ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) เปิดเผยในรายงานสรุปภาวะเศรษฐกิจว่า กิจกรรมทางเศรษฐกิจสหรัฐฯ ใน 12 เขต มีการขยายตัวตั้งแต่ต้นเดือนเมษายนจนถึงปลายเดือนพฤษภาคม และแนวโน้มโดยทั่วไปเป็นไปในเชิงบวก แนวโน้มที่สดใสของเฟดบ่งชี้ว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ อาจหลุดพ้นจากภาวะอ่อนแอในช่วงต้นปีนี้
4. อัตราแลกเปลี่ยน
- เงินบาทอยู่ที่ 33.77 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ อ่อนค่าลง 0.08 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ- เงินเยนอยู่ที่ 124.47 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้น 0.03 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ
5. ราคาน้ำมัน
- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือนกรกฎาคม ปิดตลาดที่ 58.00 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง 1.64 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล เนื่องจากการคาดการณ์ที่ว่ากลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปค) จะไม่ปรับลดโควต้าการผลิตน้ำมันในการประชุมวันนี้- ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ (Brent) ตลาดลอนดอน ส่งมอบเดือนกรกฎาคม ปิดที่ 62.03 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง 1.77 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล
6. การเก็งกำไร
- ราคาตลาด TOCOM ส่งมอบเดือนกรกฎาคม อยู่ที่ 225.8 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 1.2 เยนต่อกิโลกรัม และส่งมอบเดือนพฤศจิกายน อยู่ที่ 237.8 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 1.0 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ- ราคาตลาด SICOM เปิดตลาดที่ 190.5 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 1.2 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม
7. ข่าว
- นักลงทุนวิตกกังวลว่ากรีซจะไม่สามารถชำระหนี้คืนให้กับกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF.) ได้ทันกำหนดงวดแรกในวันนี้ หลังจากมีรายงานว่าแกนนำหลายคนของพรรครัฐบาลกรีซไม่ยอมรับข้อเสนอที่ประเทศเจ้าหนี้ยื่นให้กับนายกรัฐมนตรีกรีซเมื่อวันพุธที่ผ่านมา- กระทรวงแรงงานสหรัฐฯ เปิดเผยว่า จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกในรอบสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 30 พฤษภาคม 2558 ลดลง 8,000 ราย แตะ 276,000 ราย จาก 284,000 รายในสัปดาห์ก่อน ตัวเลขดังกล่าวยังคงต่ำกว่าระดับ 300,000 ราย เป็นสัปดาห์ที่ 13 ติดต่อกัน ซึ่งเป็นสัญญาณบ่งชี้ว่าตลาดแรงงานยังคงมีความแข็งแกร่ง- สำนักงานสถิติแห่งชาติฝรั่งเศสเปิดเผยว่า อัตราว่างงานไตรมาสแรกปีนี้ลดลงแตะร้อยละ 10.3 จากร้อยละ 10.4 ในช่วงสิ้นปีที่แล้ว
8. ข้อคิดเห็นของผู้ประกอบการ
- ราคายางน่าจะทรงตัวหรือสูงขึ้นได้อีก เพราะยังมีปัจจัยบวกจากผลผลิตที่มีน้อยจากสภาพอากาศและการลดพื้นที่ปลูกยาง ขณะที่ผู้ประกอบการบางรายยังมีความต้องการซื้อ เพราะขาดแคลนยางเพื่อส่งมอบ
แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มทรงตัวหรือเปลี่ยนแปลงในช่วงแคบ ๆ โดยมีปัจจัยบวกจากเงินบาทอ่อนค่าและอุปทานยางยังคงออกสู่ตลาดน้อย เพราะได้รับผลกระทบจากสภาพอากาศที่แปรปรวน และนโยบายการลดพื้นที่ปลูกยางของภาครัฐ ส่วนปัจจัยลบมาจากราคาน้ำมันดิบปรับตัวลดลง อีกทั้งนักลงทุนวิตกกังวลเกี่ยวกับปัญหาหนี้กรีซ นอกจากนี้ยังได้รับแรงกดดันจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF.) ปรับลดคาดการณ์เศรษฐกิจสหรัฐฯ ปีนี้ลงสู่ร้อยละ 2.5 จากเดิมที่คาดการณ์ไว้ที่ร้อยละ 3.1ทีมวิเคราะห์สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา