ผู้เขียน หัวข้อ: 'อุ๋ย'จ่อชดเชยยาง65บาท/กก. หั่นแก้ยางปี2เหลือ5มาตรการ/ยางข้นขอต่อหมื่นล.  (อ่าน 1007 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 84444
    • ดูรายละเอียด
'อุ๋ย'จ่อชดเชยยาง65บาท/กก. หั่นแก้ยางปี2เหลือ5มาตรการ/ยางข้นขอต่อหมื่นล.

       สมาคมน้ำยางข้นไทย ดิ้นขอ "ประยุทธ์ " ทบทวนต่ออายุโครงการสินเชื่อแปรรูปน้ำยางข้น 1 หมื่นล้าน อ้างรอบเก่าดูดซับยางน้อย จากเป็นปลายฤดูการผลิต ขณะวงใน กนย.เสนอหั่น 16 มาตรการบริหารจัดการยางทั้งระบบ เหลือ 5 มาตรการอุ้มชาวสวนต่อ "หม่อมอุ๋ย"สร้างความหวังเกษตรกรเตรียมชดเชยส่วนต่างขายยางได้ไม่ต่ำกว่า 65 บาท/กก. พร้อมบวกกำไรอีก 1-2 บาท

 นายอภิชาติ พันธุ์พิพัฒน์ นายกสมาคมน้ำยางข้นไทย เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่าได้ขอให้พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการนโยบายยางธรรมชาติ (กนย.) ให้มีการทบทวนต่ออายุโครงการสนับสนุนเงินทุนหมุนเวียนแก่ผู้ประกอบการแปรรูป น้ำยางข้นวงเงิน 1 หมื่นล้านบาทในฤดูการผลิตปี 2558/59 ต่อจนครบ 1 หมื่นล้านบาท จากปัจจุบันโครงการดังกล่าวได้สิ้นสุดลงแล้ว โดยมีผู้เข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น 35 ราย วงเงินที่ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.)ได้อนุมัติสินเชื่อ แล้ว 3.66 พันล้านบาท มีผู้ประกอบการรับเงินไปแล้ว 19 ราย วงเงิน 1.4 พันล้านบาท ซึ่งโครงการยังถือว่าไม่ประสบความสำเร็จตามเป้าหมายเพราะยังไม่สามารถดูดซับ น้ำยางได้ เนื่องจากกว่าจะได้รับอนุมัติเงิน ก็เป็นปลายฤดูกาลของผลผลิตแล้ว

 "ดังนั้นเพื่อให้โครงการได้ผลเกิดขึ้นจริงทั้งตัวเกษตรกรและผู้ประกอบการควร จะเริ่มโครงการนี้ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2558- พฤษภาคม 2559 เป็นโครงการระยะเวลา 1 ปี และที่สำคัญอยากให้ปลดล็อกให้กับบริษัทที่มีชาวต่างชาติถือหุ้นเกิน 51% ให้สามารถเข้าร่วมโครงการได้ด้วย เพราะวงเงินยังใช้ไม่หมด และจะช่วยดูดซับยางในตลาดได้มากขึ้น"

 นายอภิชาติ กล่าวอีกว่าจากสถานการณ์ภัยแล้งในปีนี้ที่คล้ายกับปี 2553 ทำให้ฤดูกาลเปิดกรีดยางล่าช้าไป 1 เดือน ขณะที่ผู้ประกอบการโรงงานน้ำยางข้นเปิดโรงงานกันหมดแล้ว และมีคำสั่งซื้อล่วงหน้าเข้ามาแล้ว ทำให้ยางในตลาดไม่เพียงพอ มีผลให้ราคาน้ำยางสดปรับตัวขึ้นมา 3-4 บาท/กิโลกรัมในรอบ 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา

 แหล่งข่าวจากคณะกรรมการนโยบายยางธรรมชาติ (กนย.) เผยว่า จากที่รัฐบาลได้ออก 16 มาตรการบริหารจัดการยางพาราทั้งระบบในปีการผลิตที่ผ่านมา ที่ประชุมได้มีการทบทวน 5 มาตรการที่จะผลักดันให้เดินหน้าต่อ ได้แก่ 1.โครงการสนับสนุนเงินทุนหมุนเวียนแก่สถาบันเกษตรกรเพื่อใช้ในการรวบรวม ยางพารา วงเงิน 1 หมื่นล้านบาท จะขยายเวลาการจ่ายเงินกู้ของ ธ.ก.ส. จากสิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2558 ออกไปสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2558 และขยายเวลาโครงการแก่สถาบัน

 เกษตรกรที่ต้องชำระส่งคืนเงินกู้ให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2558 เป็นภายในวันที่ 31 มีนาคม 2559 รวมขยายเวลาอีก 3 เดือน เพื่อให้หมดฤดูกาลกรีดยางปี 2558/2559

 2.โครงการสนับสนุนสินเชื่อสถาบันเกษตรกรแปรรูปยางพารา วงเงินสินเชื่อ 5 พันล้านบาท ให้จำแนกปัญหาเกี่ยวกับเอกสารประกอบการยื่นกู้ ธ.ก.ส.โดยให้เร่งรัดกระบวนการและขั้นตอนให้ได้ข้อยุติแต่ละปัญหา เช่น เรื่องที่ดินและเอกสารสิทธิ โดยให้กรมส่งเสริมสหกรณ์ดำเนินงานร่วมกับ ธ.ก.ส. 3. โครงการสนับสนุนสินเชื่อผู้ประกอบการ การผลิตภัณฑ์ยาง วงเงินสินเชื่อ 1.5 หมื่นล้านบาท ให้ยึดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขของโครงการตามมติคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2557 ที่มีวัตถุประสงค์ในการสนับสนุนการขยายกำลังการผลิต/ปรับเปลี่ยนเครื่องจักร การผลิตแก่ผู้ประกอบการ ทั้งนี้เพื่อให้สามารถเพิ่มการใช้ยางในประเทศ

 "ส่วนกรณีที่ธนาคารออมสินเสนอให้สินเชื่อผู้ประกอบการเพื่อจัดซื้อที่ดิน และค่าก่อสร้างอาคารด้วยนั้น ทางที่ประชุมเห็นว่าการซื้อที่ดินและสิ่งก่อสร้างต้องใช้เงินสูงมากและไม่ สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของโครงการที่ได้รับความเห็นชอบจาก คสช."

 4.โครงการสนับสนุนสินเชื่อเกษตรกรชาวสวนยางรายย่อยเพื่อประกอบอาชีพเสริม จากผลการดำเนินงานจนถึงปัจจุบันยังมีสินเชื่อคงเหลือจึงให้กรมส่งเสริมการ เกษตรและ ธ.ก.ส.ดำเนินการเปิดรับเกษตรกรเข้าร่วมโครงการให้เต็มตามวงสินเชื่อ 1 หมื่นล้านบาท เนื่องจากยังมีความต้องการของเกษตรกรที่ประสงค์จะเข้าร่วมโครงการนี้และให้ ติดตามประเมินผลแผนการผลิตของเกษตรกรที่ได้รับสินเชื่อไปแล้ว และ 5. ม.ร.ว. ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายเศรษฐกิจ ได้ให้สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรไปทำราคาต้นทุนยางพาราแผ่นดิบ อยู่ที่ 65 บาทต่อกิโลกรัม และบวกกำไรให้เกษตรกรอีก 1-2 บาท/กิโลกรัม               


 ฐานเศรษฐกิจ (Th)   3 มิ.ย.58