ผู้เขียน หัวข้อ: วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง วันอังคารที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2558  (อ่าน 1033 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 84619
    • ดูรายละเอียด
วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง
วันอังคารที่  2  มิถุนายน  พ.ศ. 2558


ปัจจัย[/t][/t]
[/t]
วิเคราะห์
1. สภาพภูมิอากาศ
 
- ภาคใต้มีเมฆเป็นส่วนมากกับมีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่ง   ๆ ร้อยละ 30 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดสุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา   ภูเก็ต ระนอง พังงา กระบี่ ตรัง และสตูล เป็นอุปสรรคต่อการกรีดยาง ส่วนภาคอื่นมีฝนร้อยละ 30 - 60 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
 
2. การใช้ยาง
 
- สมาคมผู้ผลิตรถยนต์ญี่ปุ่นเปิดเผยว่า เดือนเมษายนการผลิตรถยนต์   รถบรรทุก และรถบัส ปรับตัวลดลงร้อยละ 7.5 สู่ระดับ 713,155 คัน เมื่อเทียบกับเดือนเมษายนปีที่แล้ว ที่ 770,951 คัน และทำสถิติลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 10 ส่วนยอดส่งออกรถยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.1   เมื่อเทียบเป็นรายปี สู่ 379,907 คัน จาก 375,882 คันในปีที่แล้ว
- สมาคมผู้ผลิตรถยนต์ญี่ปุ่นเปิดเผยว่า ยอดจำหน่ายรถยนต์ใหม่เดือนกุมภาพันธ์ปรับตัวลดลงร้อยละ   7.6 เมื่อเทียบเป็นรายปี แตะที่ 335,644 คัน เนื่องจากนโยบายขึ้นภาษีการขายรถยนต์ขนาดเล็ก ซึ่งบังคับใช้ตั้งแต่เดือนเมษายน 2557 ยังคงส่งผลกระทบต่อความต้องการรถยนต์
 
3. สต๊อคยาง
 
- สต๊อคยางจีน ณ วันที่ 29 พฤษภาคม   2558 เพิ่มขึ้น 1,749 ตัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.37 อยู่ที่ 129,765 ตัน จากระดับ 128,016 ตัน เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2558
- สต๊อคยางญี่ปุ่น ณ วันที่ 20   พฤษภาคม 2558 เพิ่มขึ้น 480 ตัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.74 อยู่ที่ 10,672 ตัน   จากระดับ 10,192 ตัน เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2558
 
4. เศรษฐกิจโลก
 
- ผลสำรวจของมหาวิทยาลัยมิชิแกนระบุว่า   ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐฯ ขั้นสุดท้ายเดือนพฤษภาคมอยู่ที่ 90.7   จากตัวเลขเบื้องต้นที่ 88.6 ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 11 ปี แต่ตัวเลขทั้ง 2   ยังต่ำกว่าระดับ 95.9 ในเดือนเมษายนอยู่มาก หลังจากพุ่งขึ้นแตะ 98.1   ในเดือนมกราคม ขณะที่ก่อนหน้านี้นักวิเคราะห์คาดว่าดัชนีจะอยู่ที่ 89.5
- สถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐฯ (ISM) เปิดเผยว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตเดือนพฤษภาคมปรับตัวเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 52.8 จากเดือนเมษายนที่ระดับ   51.5 ซึ่งเป็นการขยายตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 29
- รัฐบาลอินเดียเปิดเผยว่า เศรษฐกิจขยายตัวร้อยละ   7.5 ในไตรมาสแรกปีนี้ จากนโยบายสนับสนุนการลงทุนของภาครัฐ โดยการขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ไตรมาสแรกสูงกว่าระดับร้อยละ 7.0 ของจีน ส่งผลให้อินเดียเป็นประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่ที่เติบโตสูงที่สุดของโลกในไตร มาสแรก   นอกจากนี้เศรษฐกิจอินเดียขยายตัวร้อยละ 7.3 ในปีงบประมาณ 2557 สิ้นสุดเดือนมีนาคม ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่ปี 2554 และสูงกว่าร้อยละ 6.9 ของปีงบประมาณก่อนหน้านี้
- ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) เขตชิคาโก หดตัวลงสู่ระดับ   46.2 ในเดือนพฤษภาคม จาก 52.3 ในเดือนเมษายน ส่งผลให้เกิดความไม่แน่นอนต่อภาวะเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ในไตรมาส 2
- HSBC โฮลดิ้งส์ เปิดเผยว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตขั้นสุดท้ายเดือนพฤษภาคมของจีนปรับตัวขึ้นมาอยู่ที่ 49.2 จาก 48.9 ในเดือนเมษายน
- กระทรวงการคลังญี่ปุ่นเปิดเผยว่า ตัวเลขการใช้จ่ายด้านทุนของบริษัทเอกชนปรับตัวขึ้นร้อยละ 7.3 ในไตรมาสแรกปีนี้   แตะ 13.1 ล้านล้านเยน
- กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ เปิดเผยว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ไตรมาสแรกปีนี้หดตัวลงร้อยละ 0.7 จากที่ประเมินไว้ก่อนหน้านี้ว่าจะขยายตัวร้อยละ 0.2
การชะลอตัวดังกล่าวเกิดจากภาวะอากาศที่หนาวเย็นผิดปกติ และการแข็งค่าของดอลล่าร์-สหรัฐ ซึ่งส่งผลกระทบต่อการบริโภค

[/size]- ธนาคารกลางจีนระบุว่า เศรษฐกิจจีนเผชิญแรงกดดันในช่วงขาลงที่เพิ่มขึ้นในปีนี้ ขณะที่หนี้ภายในประเทศยังคงเพิ่มสูงขึ้น ทั้งนี้ธนาคารกลางจีนระบุว่า จีนยังคงจำเป็นต้องดำรงสภาพคล่องที่เพียงพอในตลาดการเงิน ท่ามกลางการชะลตัวของเศรษฐกิจ
[/size]- ผลสำรวจล่าสุด โดยคณะกรรมาธิการยุโรประบุว่า ดัชนีความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจ (ESI) เดือนพฤษภาคมยังคงทรงตัวในเขตยูโรโซนที่ 103.8 และในเขตสหภาพยุโรป (EU.) ที่ 106.4
[/size]- สหพันธ์พลาธิการและการจัดซื้อของจีน และสำนักงานสถิติแห่งชาติจีน (NBS) เปิดเผยว่า
 [/size]
    • ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการเดือนพฤษภาคมยังคงปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง สู่ 53.2 จาก 53.4 ในเดือนเมษายน
    • ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตเดือนพฤษภาคมปรับตัวขึ้นสู่ 50.2 จาก 50.1 ในเดือนเมษายน
    • [/size]- กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ เปิดเผยว่า
       [/size]
    • การ ใช้จ่ายของผู้บริโภค ซึ่งคิดเป็นสัดส่วน 2 ใน 3 ของผลผลิตทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.8 ในไตรมาสแรก หลังจากที่ประเมินเบื้องต้นที่ร้อยละ 1.9
    • ตัว เลขผลกำไรภาคเอกชนหลังหักภาษีไม่มีการปรับค่าสินค้าคงคลังและการใช้จ่ายต้น ทุน เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.1 ในไตรมาสแรก เมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปี 2557 และเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.2 ในไตรมาสแรกเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2557
    • [/l][/l]
    [/size]5. อัตราแลกเปลี่ยน
     
    [/size]- เงินบาทอยู่ที่ 33.77 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ อ่อนค่าลง 0.04   บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ- เงินเยนอยู่ที่ 124.84 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ อ่อนค่าลง   1.10 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ
     
    [/size]6. ราคาน้ำมัน
     
    [/size]- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือนกรกฎาคม ปิดตลาดที่ 60.20 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง 0.10 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล เนื่องจากกระแสคาดการณ์ที่ว่ากลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน   (โอเปก) จะไม่ปรับเพิ่มโควต้าการผลิตน้ำมันในการประชุมวันศุกร์นี้- ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ (Brent)   ตลาดลอนดอน ส่งมอบเดือนกรกฎาคม ปิดที่ 64.88 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล   ลดลง 0.68 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล
     
    [/size]7. การเก็งกำไร
     
    [/size]- ราคาตลาด TOCOM ส่งมอบเดือนกรกฎาคม อยู่ที่ 233.0 เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น   0.9 เยนต่อกิโลกรัม และส่งมอบเดือนพฤศจิกายน อยู่ที่ 245.3 เยนต่อกิโลกรัม   เพิ่มขึ้น 1.5 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ- ราคาตลาด SICOM เปิดตลาดที่ 189.7 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม   เพิ่มขึ้นจากวันศุกร์ที่ 29 พฤษภาคม 3.7 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม
     
    [/size]8. ข่าว
     
    [/size]- ธนาคารกลางยุโรป (ECB.) เปิดเผยว่า ปริมาณเงินฝากในธนาคารของกรีซลดลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 10 ปี โดยชาวกรีซพากันถอนเงินฝากจากความวิตกต่อความคืบหน้าที่ล่าช้าในการเจรจา แก้ไขวิกฤตหนี้ระหว่างรัฐบาลและประเทศเจ้าหนี้- ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ   (เฟด) สาขามินเนอาโพลิส กล่าวเตือนว่า การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในปีนี้จะถือเป็นความผิดพลาดสำหรับเฟด เนื่องจากจะเป็นการปิดกั้นโอกาสที่จะส่งเสริมการขยายตัวทางเศรษฐกิจ- ผู้อำนวยการกองทุนการเงินระหว่างประเทศ   (IMF.) มองว่ามีความเป็นไปได้ที่กรีซจะพ้นจากการเป็นสมาชิกของยูโรโซน แต่แม้จะมีความเป็นไปได้ดังกล่าว แต่ก็ไม่ได้หมายถึงการสิ้นสุดของยูโรโซน
     
    [/size]9.   ข้อคิดเห็นของผู้ประกอบการ
     
    [/size]- ราคายางปรับตัวสูงขึ้น   เพราะได้รับแรงหนุนจากสินค้ามีน้อย ผลผลิตยางยังคงมีน้อยประมาณร้อยละ 30 - 40   เท่านั้น เนื่องจากสภาพอากาศที่ร้อนอบอ้าว ประกอบกับฝนตกในหลายพื้นที่และมีปัญหาเรื่องแรงงานกรีดยางขาดแคลน
     
       [/size]?แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นตามตลาดล่วงหน้าโตเกียวที่ปรับตัวสูงขึ้นแตะ ระดับสูงสุดในรอบ 16 เดือน เพราะได้รับแรงหนุนจากเงินเยนอ่อนค่าที่สุดในรอบ 12 ปีครึ่ง และนักลงทุนขานรับข้อมูลภาคการผลิตของสหรัฐฯ และจีน ที่ยังคงมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับอุปทานยางยังคงออกสู่ตลาดน้อย อย่างไรก็ตาม ความวิตกกังวลเกี่ยวกับปัญหาหนี้กรีซอาจจะทำให้นักลงทุนระมัดระวังในการซื้อ ขาย และเป็นปัจจัยกดดันราคายางได้ในระดับหนึ่ง

    [/size]ทีมวิเคราะห์สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา
    [/list]
    [/tr][/table][/td][/tr][/table]
    « แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 02, 2015, 11:20:28 AM โดย Rakayang.Com »