ผู้เขียน หัวข้อ: ยางพารา+ยางมะตอย..ราดถนน 64 ปี..ดีแต่พูด  (อ่าน 1185 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 84444
    • ดูรายละเอียด
ยางพารา+ยางมะตอย..ราดถนน 64 ปี..ดีแต่พูด

โดย ไชยรัตน์ ส้มฉุน 26 ม.ค. 2558 05:01



 



ยางพาราล้นตลาด ราคาตก เพราะพึ่งพาตลาดต่างประเทศมากเกินไป แนวทางแก้ปัญหาต้อง เพิ่มการใช้ในประเทศให้มากขึ้น ...นำมาเป็นส่วนผสมในยางมะตอยราดถนน เป็นหนทางที่จะเพิ่มการ ใช้ยางพาราในประเทศให้ได้มากที่สุด เร็วที่สุด



เรื่องนี้คนไทยได้ยินได้ฟังกันมาไม่รู้กี่ปีแล้ว...ไม่เคยเป็นจริงสักที


เกิดปัญหาที นักการเมืองผู้มีอำนาจมักผุดโครงการศึกษาวิจัยร่ำไป ไม่รู้ว่าจะซื้อเวลาทดลองไปทำไม...ในเมื่อเรื่องนี้มีและเกิดมานาน 64 ปีแล้ว


?เราได้ร่วมกับสถาบันวิจัยยางมาเลเซีย ศึกษาเรื่องนี้มาตั้งแต่ปี 2493 นำน้ำยางข้น ยางแห้ง และยางผงมาผสมกับยาง มะตอยในอัตรา 5% ทดลองราดถนนระหว่างเมือง Kata Bharu และ Kual Krai เป็นระยะทาง 100 หลา ปรากฏว่าสภาพถนนดี มีอายุการใช้งานยาวนานขึ้น จากนั้นก็ขยายมา ระยะทาง 3 กม. และ 15 กม.?



นางณพรัตน์ วิชิตชลชัย ผู้อำนวยการกลุ่มอุตสาหกรรมยาง สถาบันวิจัยยาง เผยว่า หลังจากได้ข้อมูล ปี 2500 สถาบันวิจัยยางไทยได้นำมาศึกษาทดลองราดถนนแบบแบ่งครึ่งกันกับถนนยางมะตอย ในถนนสายหาดใหญ่-สงขลา


10 ปีผ่านไป ผลการเก็บข้อมูลในปี 2510 พบว่าถนนผสมยางพาราไม่ต้องซ่อมแซม ส่วนถนนฝั่งที่เป็นยางมะตอยอย่างเดียวซ่อมแซมไปแล้ว 1 ครั้ง...เป็นที่น่าเสียดาย ปี 2511 ถนนเส้นดังกล่าวถูกรื้อสร้างใหม่ทั้งเส้น การศึกษาวิจัยเลยต้องหยุดไปด้วย


แต่การศึกษาถูกรื้อขึ้นมาอีกครั้ง ในปี 2543 สถาบันวิจัยยางได้ทดลองใช้ยางแผ่นรมควัน, น้ำยางพาราเข้มข้น และน้ำยางสด มาผสมยางมะตอย ปรากฏว่า...การใช้น้ำยางที่เข้มข้นผสมกับยางมะตอยชนิด AC 60/70 ในอัตรา 5% เป็นจุดดีที่สุด ค่ายางมะตอยมีความแข็งขึ้น รับน้ำหนักรถบรรทุกได้มากขึ้น เมื่อถูกน้ำฝน น้ำท่วม ถูกแดดเผา ค่าการคืนตัวกลับสูงกว่า มีความทนทานต่อการใช้งานมากกว่าใช้ยางมะตอยอย่างเดียว


 


ปี 2544 นำมาทดลองราดถนนหน้าสถาบันวิจัยยาง ปี 2545 ราดบริเวณหน้ากรมวิชาการเกษตร หน้าศูนย์วิจัยยางฉะเชิงเทรา และร่วมมือกับกรมทางหลวงนำไปราดถนนสายสนามชัย-ท่าตะเกียบ จ.ฉะเชิงเทรา ระยะทาง 1,100 เมตร...ถึงวันนี้ผ่านไปแล้ว 13 ปี ถนนสายนี้ยังไม่ผุพัง ไม่ต้องซ่อมแซมแต่อย่างใด


และที่เห็นผลชัด น้ำท่วมใหญ่ปี 2554 ถนนราดยางผสมยางพาราไม่ผุพัง ขณะที่ถนนราดยางมะตอยถูกน้ำท่วมขังพังสิ้น


กระนั้น นางณพรัตน์ ยอมรับการสร้างถนนแบบนี้มีค่าใช้จ่ายสูงกว่ายางมะตอย 15-20%...แต่ถ้ามองในระยะยาว ถนนยางมะตอยนอกจากต้องซ่อมบ่อย ยังต้องรื้อสร้างใหม่ทุก 10 ปี ในขณะที่ถนนผสมยางพารามีอายุใช้งานมากกว่า 13 ปี ไม่ต้องซ่อมบ่อย...ถึงค่าก่อสร้างจะแพงกว่า ในระยะยาวให้ผลคุ้มค่ามากกว่า


และผลงานนี้ทางสถาบันวิจัยยางมาเลเซียยังทึ่งที่ไทยทำได้ดีกว่า ธ.ค.57 ได้มาขอข้อมูลเพื่อจะนำไปสร้างถนนทั้งประเทศของมาเลเซียในเร็วๆนี้
ส่วนบ้านเราก็คงได้แต่พูด แล้วนำมาอ้างเหตุผลตั้งโครงการศึกษาทดลองหาเงินทอนกันต่อไป...ไม่รู้จะแกล้งใจอภิมหาอธิบดีกรมทางหลวง นอกราชการไปเพื่ออะไร.


ไชยรัตน์ ส้มฉุน