ผู้เขียน หัวข้อ: วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง วันจันทร์ที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2558  (อ่าน 888 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 84627
    • ดูรายละเอียด
วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง
วันจันทร์ที่  25  พฤษภาคม  พ.ศ. 2558
ปัจจัย
วิเคราะห์
1. สภาพภูมิอากาศ
- ด้านตะวันตกของภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ ซึ่งเป็นด้านรับลมตะวันตกเฉียงใต้ยังคงมีฝนฟ้าคะนองกระจาย โดยเฉพาะภาคใต้ฝั่งตะวันตกมีฝนกระจายร้อยละ 60 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดระนอง พังงา ภูเก็ต และกระบี่ ส่งผลกระทบต่อการกรีดยาง
2. การใช้ยาง
- สื่ออินเดียรายงานว่า การปรับภาษีนำเข้ายางธรรมชาติของอินเดียที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 25.0 สร้างความไม่พอใจต่อผู้ผลิตยางล้อรถยนต์และอุตสาหกรรมยางในประเทศ ซึ่งเชื่อว่าการปรับขึ้นภาษีดังกล่าวสวนทางกับวิสัยทัศน์ของรัฐบาล ขณะที่ภาษีนำเข้าผลิตภัณฑ์ยางมีอัตราเพียงร้อยละ 10.0 ทำให้มีราคาถูกกว่าสินค้าที่ผลิตในประเทศ
3. สต๊อคยาง
- สต๊อคยางจีน ณ วันที่ 22 พฤษภาคม 2558 ลดลง 198 ตัน หรือลดลงร้อยละ 0.15 อยู่ที่ 128,016 ตัน จากระดับ 128,214 ตัน เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2558- สต๊อคยางญี่ปุ่น ณ วันที่ 10 พฤษภาคม 2558 เพิ่มขึ้น 391 ตัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.99 อยู่ที่ 10,192 ตัน จากระดับ 9,801 ตัน เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2558
4. เศรษฐกิจโลก
- กระทรวงแรงงานสหรัฐฯ เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนเมษายนเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 เมื่อเทียบเป็นรายเดือน ซึ่งเป็นการปรับตัวขึ้นเป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกัน ส่วนดัชนี CPI พื้นฐาน ซึ่งไม่รวมหมวดอาหารและพลังงานที่มีความผันผวนปรับตัวขึ้นร้อยละ 0.3 ถือว่าเพิ่มขึ้นมากที่สุดนับตั้งแต่เดือนมกราคม 2556- ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) มีมติคงนโยบายการเงินตามคาด พร้อมคงระดับการประเมินเศรษฐกิจในปัจจุบันเอาไว้ที่ระดับเดิม โดยระบุว่าเศรษฐกิจของประเทศฟื้นตัวปานกลาง- สถาบัน Ifo ซึ่งเป็นสถาบันวิจัยเศรษฐกิจของเยอรมัน เปิดเผยว่า ความเชื่อมั่นทางธุรกิจของเยอรมันเดือนพฤษภาคมขยับลงเล็กน้อย สู่ระดับ 108.5 จาก 108.6 แต่สูงกว่าที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดไว้ว่าจะลดลงแตะ 108.3- สำนักงานสถิติแห่งชาติเยอรมันรายงานผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศไตรมาสแรกปี 2558 ขยายตัวร้อยละ 0.3 เพราะได้รับแรงหนุนจากการปรับตัวขึ้นของการอุปโภค บริโภคภาคเอกชน และการใช้จ่ายด้านการลงทุน- สำนักงานสถิติฝรั่งเศสเปิดเผยว่า ความเชื่อมั่นภาคธุรกิจเดือนพฤษภาคมปรับตัวขึ้นแตะ 103.0 ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบเกือบ 4 ปี และสูงกว่าระดับเฉลี่ยระยะยาวที่ 100.0- ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ระบุว่า เฟดมีแนวโน้มที่จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงในปีนี้ ถึงแม้ว่าเศรษฐกิจจะชะลอตัวลงในไตรมาสแรก โดยย้ำว่าจังหวะในการปรับนโยบายไปเป็นนโยบายปกติดำเนินการอย่างค่อยเป็นค่อยไป และอาจต้องใช้เวลาหลายปีกว่าที่อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นจะกลับมาอยู่ในระดับปกติ- กระทรวงการคลังญี่ปุ่นเปิดเผยว่า ญี่ปุ่นมียอดขาดดุลการค้าเดือนเมษายนทั้งสิ้น 5.34 หมื่นล้านเยน โดยมีการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.0 เมื่อเทียบเป็นรายปี และนำเข้าลดลงร้อยละ 4.2
5. อัตราแลกเปลี่ยน
- เงินบาทอยู่ที่ 33.47 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้น 0.04 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ- เงินเยนอยู่ที่ 121.72 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ อ่อนค่าลง 0.83 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ
6. ราคาน้ำมัน
- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือนกรกฎาคม ปิดตลาดที่ 59.72 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง 1.00 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล จากการเทขายทำกำไร หลังจากที่พุ่งแรงเมื่อวันก่อน รวมทั้งจากการแข็งค่าของสกุลเงินดอลล่าร์สหรัฐ ภายหลังการกล่าวสุนทรพจน์ของประธานะนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด)- ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ (Brent) ตลาดลอนดอน ส่งมอบเดือนกรกฎาคม ปิดที่ 65.37 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง 1.17 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล
7. การเก็งกำไร
- ราคาตลาด TOCOM ส่งมอบเดือนมิถุนายน อยู่ที่ 209.5 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 2.0 เยนต่อกิโลกรัม และส่งมอบเดือนตุลาคม อยู่ที่ 217.3 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 1.9 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ- ราคาตลาด SICOM เปิดตลาดที่ 182.0 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม ไม่เปลี่ยนแปลง
8. ข่าว
- รัฐมนตรีกระทรวงการคลังฝรั่งเศสกล่าวว่า การที่กรีซออกจากยูโรโซนนั้นอาจก่อให้เกิดปัญหาในเรื่องความน่าเชื่อถือสำหรับยูโรโซน และอาจถึงขึ้น ?หายนะ? หากกรีซถอนตัวออกจากกลุ่ม
9. ข้อคิดเห็นของผู้ประกอบการ
- ราคายางน่าจะทรงตัว เพระมีแรงกดดันจากราคาต่างประเทศที่ลดลง แต่มีโอกาสสูงขึ้นได้อีก เพราะผลผลิตยังมีน้อย ผู้ประกอบการยังมีความต้องการซื้อเพื่อส่งมอบ
แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มทรงตัวหรือเปลี่ยนแปลงในช่วงแคบ ๆ โดยมีปัจจัยบวกจากเงินเยนอ่อนค่าและอุปทานยางยังคงออกสู่ตลาดน้อย ประกอบกับกระแสข่าวจีนอาจใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม หลังจากมีข้อมูลบ่งชี้ว่าเศรษฐกิจจีนยังคงชะลอตัว ส่วนปัจจัยลบมาจากราคาชี้นำตลาดล่วงหน้าโตเกียวและราคาน้ำมันปรับตัวลดลง ประกอบกับนักลงทุนมีความกังวลหลังจากประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ส่งสัญญาณว่าเฟดอาจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในปีนี้


ทีมวิเคราะห์สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา