ผู้เขียน หัวข้อ: วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง วันพุธที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2558  (อ่าน 964 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 84635
    • ดูรายละเอียด
วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง
วันพุธที่  20  พฤษภาคม  พ.ศ. 2558
ปัจจัย
วิเคราะห์
1. สภาพภูมิอากาศ
- ลมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามันและประเทศไทยมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ด้านตะวันตกของภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีฝนฟ้าคะนองกระจายร้อยละ 40 ของพื้นที่ เป็นอุปสรรคต่อการกรีดยาง
2. การใช้ยาง
- สมาคมผู้ผลิตรถยนต์ยุโรป (ACEA) รายงานว่า ยอดจำหน่ายรถใหม่ในสหภาพยุโรป (EU.) และองค์การการค้าเสรียุโรป (EFTA) เดือนเมษายนปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.9 แตะ 1.21 ล้านคัน จาก 1.13 ล้านคันในช่วงเดียวกันของปีก่อน
3. เศรษฐกิจโลก
- รัฐบาลญี่ปุ่นเปิดเผยว่า ยอดการใช้จ่ายภาคครัวเรือนประจำปีงบประมาณ 2557 สิ้นสุดเดือนมีนาคม 2558 ปรับตัวลดลงร้อยละ 5.0 จากปีก่อน ถือเป็นสถิติที่ลดลงเร็วที่สุด เนื่องจากราคาสินค้าปรับตัวสูงขึ้นตามการปรับขึ้นภาษีผู้บริโภคเมื่อเดือนเมษายน2557- ธนาคารกลางอินโดนีเซียมีมติคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ร้อยละ 7.5 พร้อมระบุว่าจะผ่อนปรนกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวกับการปล่อยสินเชื่อเพื่อสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจ- สำนักงานสถิติแห่งสหภาพยุโรปเปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนเมษายนในกลุ่มยูโรโซนปรับตัวขึ้นร้อยละ 0.2 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน และอยู่ที่ร้อยละ 0 เมื่อเทียบกับปีก่อน ไม่เปลี่ยนแปลงจากรายงานเบื้องต้นที่มีการเปิดเผยเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา- ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจยุโรป (ZEW) เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นนักลงทุนและนักวิเคราะห์ในเยอรมันที่มีต่อสภาพเศรษฐกิจของประเทศลดลงแตะ 41.9 ในเดือนพฤษภาคม จาก 53.3 ในเดือนเมษายน ภายหลังที่เศรษฐกิจชะลอตัวลง- เจ้าหน้าที่กำหนดนโยบายธนาคารกลางยุโรป (ECB.) เปิดเผยว่า ECB. เตรียมเพิ่มปริมาณการซื้อพันธบัตรช่วงเดือนพฤษภาคมและมิถุนายน ก่อนที่จะชะลอการซื้อในเดือนกรกฎาคมและสิงหาคม ซึ่งเป็นช่วงที่ตลาดพันธบัตรมีการซื้อขายที่ซบเซา นอกจากนี้ผู้ว่าการธนาคารกลางฝรั่งเศสเปิดเผยว่า ECB. พร้อมที่จะใช้มาตรการเพิ่มเติมเพื่อกระตุ้นเงินเฟ้อ หากมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) ที่ดำเนินการอยู่ในขณะนี้ยังไม่เห็นผลเพียงพอ- รัฐบาลญี่ปุ่นเปิดเผยว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ไตรมาสแรกของปีนี้ขยายตัวร้อยละ 2.4
4. อัตราแลกเปลี่ยน
- เงินบาทอยู่ที่ 33.54 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ อ่อนค่าลง 0.16 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ- เงินเยนอยู่ที่ 120.88 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ อ่อนค่าลง 0.93 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ
5. ราคาน้ำมัน
- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือนมิถุนายน ปิดตลาดที่ 57.26 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง 2.17 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล หลังจากสำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานสหรัฐฯ (EIA.) คาดการณ์ว่าอุปทานน้ำมันในตลาดโลกปีนี้จะมีปริมาณสูงกว่าอุปสงค์ นอกจากนี้ยังได้รับแรงกดดันจากการแข็งค่าของเงินดอลล่าร์สหรัฐ- ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ (Brent) ตลาดลอนดอน ส่งมอบเดือนมิถุนายน ปิดที่ 64.02 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง 2.25 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล- สำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานสหรัฐฯ (EIA.) คาดการณ์ว่าอุปทานน้ำมันในตลาดโลกปีนี้อาจมีมากกว่าอุปสงค์อยู่ประมาณ 1.3 ล้านบาร์เรลต่อวัน ขณะเดียวกันยังคาดการณ์ว่าปริมาณการผลิตน้ำมันของสหรัฐฯ ทั้งในปี 2558 และ 2559 โดยเฉลี่ยอยู่ที่ 9.2 ล้านบาร์เรลต่อวัน
6. การเก็งกำไร
- ราคาตลาด TOCOM ส่งมอบเดือนมิถุนายน อยู่ที่ 210.8 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 3.3 เยนต่อกิโลกรัม และส่งมอบเดือนตุลาคม อยู่ที่ 217.4 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 5.3 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ- ราคาตลาด SICOM เปิดตลาดที่ 183.8 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม ลดลง 0.9 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม
7. ข่าว
- กระทรวงการคลังสิงคโปร์เปิดเผยว่า ตัวแทนจาก 57 ประเทศสมาชิกผู้ก่อตั้งธนาคารเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานแห่งเอเชีย (AIIB) ที่มีจีนเป็นแกนนำจะเข้าประชุมร่วมกันที่สิงคโปร์ ตั้งแต่วันพรุ่งนี้- คณะกรรมการเพื่อการพัฒนาและปฏิรูปแห่งชาติจีน (NDRC) อนุมัติโครงการก่อสร้างทางรถไฟ 6 สาย ซึ่งต่อขยายไปกว่า 1,000 กิโลเมตร และมีแนวโน้มมูลค่าประมาณ 2.5 แสนล้านหยวน โดยคาดว่าจะช่วยสร้างเสถียรภาพการขยายตัวทางเศรษฐกิจ- กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ เปิดเผยว่า ตัวเลขการเริ่มต้นสร้างบ้านเดือนเมษายนเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.2 เมื่อเทียบเป็นรายเดือน สู่ 1.135 ล้านยูนิต ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2550 หรือสูงสุดในรอบเกือบ 7 ปี และเป็นการเพิ่มขึ้นเปอร์เซ็นต์มากที่สุดนับตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2534
8. ข้อคิดเห็นของผู้ประกอบการ
- ราคายางทรงตัวหรือปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อย เพราะผู้ประกอบการหลายรายขาดแคลนยางเพื่อส่งมอบจึงเร่งซื้อ ทำให้มีการแข่งขันกันมากในระยะนี้ ขณะที่ผลผลิตออกสู่ตลาดค่อนข้างน้อย เพราะเริ่มเปิดกรีดก็เจอฝนตกหนักในหลายพื้นที่
แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มทรงตัวหรือเปลี่ยนแปลงในช่วงแคบ ๆ โดยมีปัจจัยด้านบวกจากเงินบาทและเงินเยนอ่อนค่า นอกจากนี้ยังได้รับแรงหนุนจากอุปทานยางออกสู่ตลาดน้อย ส่วนปัจจัยลบมาจากราคาชี้นำตลาดล่วงหน้าโตเกียวและราคาน้ำมันปรับตัวลดลง ประกอบกับความกังวลเกี่ยวกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีนซึ่งเป็นผู้ใช้ยางอันดับหนึ่งของโลกที่จะส่งผลให้อุปสงค์ยางโดยรวมยังคงซบเซา


ทีมวิเคราะห์สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 20, 2015, 12:38:18 PM โดย Rakayang.Com »