ผู้เขียน หัวข้อ: วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง วันพฤหัสบดีที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2558  (อ่าน 866 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 84635
    • ดูรายละเอียด

วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง
วันพฤหัสบดีที่  14  พฤษภาคม  พ.ศ. 2558
ปัจจัย[/t][/t] [/t]

วิเคราะห์
1.   สภาพภูมิอากาศ
 
- บริเวณประเทศไทยตอนบนยังคงมีอากาศร้อน   และร้อนจัดบางพื้นที่ ทำให้บริเวณดังกล่าวจะมีฝนฟ้าคะนองกับลมกรรโชกแรงเกิดขึ้นได้ สำหรับภาคใต้ยังมีฝนกระจายร้อยละ 40 ของพื้นที่ ส่วนมากทางภาคใต้ตอนบนและฝั่งตะวันตก ซึ่งส่งผลกระทบต่อการกรีดยางในบางพื้นที่
 
2.   การใช้ยาง
 
- สำนักงานสถิติแห่งชาติจีน (NBS)   รายงานว่ายอดการผลิตรถยนต์ในประเทศช่วง 4 เดือนแรกของปี 2558 เพิ่มขึ้นร้อยละ   3.2 เมื่อเทียบกับปีก่อน โดยในช่วงเดือนมกราคม-เมษายน ที่ผ่านมา   จีนมียอดการผลิตรถยนต์ทั้งหมด 8.353 ล้านตัน ซึ่งในจำนวนนี้เป็นรถซีดาน 4.111   ล้านคัน
 
3.เศรษฐกิจโลก
 
3.1 เศรษฐกิจของยุโรป
- สำนักงานสถิติกลางของเยอรมนี เปิดเผยว่า GDP เบื้องต้น ประจำไตรมาส 1/2558 ขยายตัวร้อยละ 0.3 ซึ่งชะลอตัวลงจากร้อยละ 0.7 ในไตรมาสก่อนหน้า และต่ำกว่าที่คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 0.5
- สำนักงานสถิติแห่งชาติของฝรั่งเศส เปิดเผยว่า GDP เบื้องต้นประจำไตรมาส 1/2558 ขยายตัวร้อยละ   0.6 จากไตรมาสก่อน ส่งสัญญาณว่าเศรษฐกิจประเทศเริ่มหลุดพ้น จากภาวะซบเซาที่ยืดเยื้อมาเป็นเวลาหลายปี และเป็นการขยายตัวที่เร็วที่สุดนับตั้งแต่ไตรมาสสองของปี 2556
- สำนักงานสถิติแห่งสหภาพยุโรป   รายงานว่า เศรษฐกิจของกลุ่มประเทศที่ใช้สกุลเงินยูโร ขยายตัวร้อยละ 0.4 ในไตรมาส 1/2558 หลังจากที่ขยายตัวร้อยละ 0.3 ในไตรมาสก่อนหน้า เนื่องจากได้แรงหนุนจากเศรษฐกิจฝรั่งเศสและอิตาลี ที่กลับมาขยายตัวได้อีกครั้งในช่วงสามเดือนแรกของปีนี้ ซึ่งช่วยชดเชยเศรษฐกิจเยอรมนีที่ขยายตัวช้าลง
-   สำนักงานสถิติแห่งชาติของฝรั่งเศส รายงานว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนเมษายน   ปรับตัวขึ้นร้อยละ 0.1 จากเดือนก่อนหน้า
- สำนักงานสถิติแห่งชาติของอิตาลี เปิดเผยว่า GDP เบื้องต้นประจำไตรมาส 1/2558 ขยายตัวร้อยละ   0.3 จากไตรมาสก่อนหน้าที่เศรษฐกิจไม่ขยายตัว
- สำนักงานสถิติแห่งชาติเยอรมนี เปิดเผยว่า ตัวเลขเงินเฟ้อของเยอรมนีปรับตัวขึ้นในเดือนเมษายน ซึ่งบ่งชี้ว่าโครงการซื้อพันธบัตรของธนาคารกลางยุโรป (ECB) เริ่มส่งผลในด้านบวก โดยระบุว่าดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ของเยอรมนีเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 เมื่อเทียบรายปีในเดือนเมษายน
3.2 เศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกา
- กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ เปิดเผยว่า ยอดค้าปลีกทรงตัวในเดือนเมษายน โดยอยู่ที่ระดับ   4.368 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ขณะที่ผู้บริโภคระมัดระวังในการใช้จ่าย โดยกระทรวงพาณิชย์ปรับเพิ่มยอดค้าปลีกในเดือนมีนาคม เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.1 หลังจากรายงานตัวเลขเบื้องต้นเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.9 ส่วนหนึ่งเกิดจากการลดลงของยอดขายรถยนต์และราคาน้ำมัน
- กระทรวงแรงงานสหรัฐฯ เปิดเผยว่า ดัชนีราคานำเข้าลดลงร้อยละ 0.3 ในเดือนเมษายน เมื่อเทียบรายเดือน โดยเป็นการปรับตัวลงติดต่อกัน 10 เดือน และเมื่อเทียบรายปี ดัชนีราคานำเข้าลดลงร้อยละ 10.3 ในเดือนเมษายน บ่งชี้ถึงอุปสงค์ในระดับโลกที่อ่อนแอ และปัจจัยการแข็งค่าของดอลลาร์ยังคงจำกัดภาวะเงินเฟ้อของสหรัฐฯ
- กระทรวงการคลังสหรัฐฯ เปิดเผยว่า รัฐบาลกลางสหรัฐฯ มียอดเกินดุลงบประมาณเดือนเมษายน ทั้งสิ้น 1.567 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งเป็นระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ เพราะได้รับปัจจัยบวกจากรายได้จากการจัดเก็บภาษีที่เพิ่มขึ้น
 

 
3.3 เศรษฐกิจของจีน
- ธนาคารกลางจีน กระทรวงการคลังและเจ้าหน้าที่ระดับสูงฝ่ายกำกับธนาคารได้ร่วมกันออกมาตรการ เร่งด่วนในวันนี้ เพื่อช่วยเหลือรัฐบาลท้องถิ่นของจีนในการปรับโครงสร้างหนี้ รวมทั้งกระตุ้นให้ธนาคารต่าง ๆ ปล่อยสินเชื่อเพิ่มขึ้น
- สำนักงานสถิติแห่งชาติของจีน   (NBS) เปิดเผยว่าการลงทุนในสินทรัพย์ถาวรของจีน ในช่วงเดือนมกราคม ? เมษายน 2558 ขยายตัวร้อยละ 12.0   เมื่อเทียบรายปี ซึ่งชะลอลงจากอัตราการเติบโตร้อยละ 13.5 ในช่วงมกราคม ? มีนาคม ปีนี้
 
  • การลงทุนในภาคอสังหาริมทรัพย์ของจีนในช่วงมกราคม   ? เมษายน 2558
     ปรับตัวขึ้นร้อยละ 6.0 เมื่อเทียบรายปี แตะ 2.37 ล้านล้านหยวน โดยตัวเลขดังกล่าวลดลงจากอัตราร้อยละ 8.5 ในช่วงไตรมาสแรก ซึ่งบ่งชี้ถึงภาวะอ่อนแอต่อเนื่องในภาคอสังหาริมทรัพย์จีน
  • ยอดค้าปลีกของจีนในเดือนเมษายน   ขยายตัวร้อยละ 10.0 เมื่อเทียบรายปี โดยชะลอลง จากร้อยละ 10.2 ในเดือนมีนาคม
  • ผล ผลิตภาคอุตสาหกรรมของจีน   ในเดือนเมษายนเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.9 เมื่อเทียบรายปี ซึ่งเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 5.6   ในเดือนมีนาคม แต่หากเทียบรายเดือน
     ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนเมษายนเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.57 จากเดือนมีนาคม
     ซึ่งมีการขยายตัวร้อยละ 0.25 ในเดือนกุมภาพันธ์
4. อัตราแลกเปลี่ยน
 
- เงินบาทอยู่ที่   33.52 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ แข็งค่า 0.24 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ
-   เงินเยนอยู่ที่ 119.20 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ แข็งค่า 0.95 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ
 
5.   ราคาน้ำมัน
 
- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือน มิถุนายน ปิดตลาดที่ 60.5 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล ปรับตัวลดลง   0.25 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล หลังจากสำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานของรัฐบาลสหรัฐฯ (EIA) ระบุว่าสหรัฐฯ ผลิตน้ำมันดิบเพิ่มขึ้นในสัปดาห์ที่แล้ว  อย่างไรก็ตามราคาปรับตัวลงเล็กน้อย เพราะตลาดได้แรงหนุนจากสต๊อคน้ำมันดิบของสหรัฐฯ ที่ปรับลดลงเป็นสัปดาห์ที่ 2 ติดต่อกัน
- สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์   ส่งมอบเดือนมิถุนายนลดลง 0.05 ดอลลาร์ ปิดที่ 66.81 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อบาร์เรล
- สำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานของรัฐบาล (EIA) เปิดเผยว่า สต๊อคน้ำมันดิบของสหรัฐฯ ลดลงในสัปดาห์ที่แล้วลง 2.2 ล้านบาร์เรล สู่ระดับ 484.8   ล้านบาร์เรล จากที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 100,000 บาร์เรล
- กลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน   (โอเปค) ปรับเพิ่มคาดการณ์การขยายตัวของอุปสงค์น้ำมันในปีนี้ ทั้งนี้โอเปคออกรายงานประจำเดือนพฤษภาคม คาดการณ์ว่า อุปสงค์น้ำมันจะเพิ่มขึ้น   1.18 ล้านบาร์เรลต่อวัน โดยปรับเพิ่มขึ้น 50,000 บาร์เรลจากคาดการณ์ในเดือนที่แล้ว
- สำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานของสหรัฐฯ   (EIA) ประกาศปรับลดคาดการณ์การผลิตน้ำมันดิบในสหรัฐฯ จะอยู่ที่ระดับเฉลี่ย 9.19 ล้านบาร์เรลต่อวันในปีนี้   และ 9.21 ล้านบาร์เรลต่อวันในปีหน้า ลดลงจากที่คาดการณ์ก่อนหน้า ที่ระดับ 9.23   ล้านบาร์เรลต่อวัน และ 9.31 ล้านบาร์เรลต่อวันในปีหน้า   ขณะที่การผลิตน้ำมันดิบภายในสหรัฐฯ อยู่ที่ระดับเฉลี่ย 9.36   ล้านบาร์เรลต่อวันในเดือนเมษายน ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่ปี 1973
 
6.   การเก็งกำไร
 
- ราคาตลาด TOCOM ส่งมอบเดือนมิถุนายน 2558 อยู่ที่ 212.5 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 3.3 เยนต่อกิโลกรัม และส่งมอบเดือนตุลาคม 2558 อยู่ที่ 218.8 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 4.3 เยนต่อกิโลกรัม
- ราคาตลาด SICOM เปิดตลาดที่ 184.2   เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 0.2 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม
 
7. ข่าว
 
- เจ้าหน้าที่กรีซรายหนึ่ง   เปิดเผยว่า ธนาคารกลางยุโรป (ECB) ได้อนุมัติให้มีการเพิ่มเพดานเงินช่วยเหลือฉุกเฉินให้แก่ธนาคารของกรีซเป็น 8.0 หมื่นล้านยูโร จากระดับเมื่อสัปดาห์ก่อนที่ 7.89 หมื่นล้านยูโร
- สำนักข่าวของกรีซ รายงานโดยอ้างแหล่งข่าวจากกระทรวงการคลังกรีซที่ระบุว่า กรีซได้ชำระคืนเงินงวด 750 ล้านยูโร (ราว 847.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) แก่กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เมื่อวานนี้
 
8. ข้อคิดเห็นของ ผู้ประกอบการ
 
- ราคายางมีแนวโน้มปรับตัวลดลงเล็กน้อย   โดยผู้ประกอบการกล่าวว่า ในระยะนี้ที่ซื้อในราคาสูง เพราะขาดแคลนยาง แต่หากผลิตออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้น ราคาก็จะปรับลดลง เนื่องจากยังประสบภาวะขาดทุนสะสมมานาน จึงต้องปรับราคาลงเพื่อลดการขาดทุน
 
  แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มปรับตัวลดลงตามตลาดโตเกียว จากการแข็งค่าของเงินเยนและเงินบาท ประกอบกับนักลงทุนผิดหวังต่อข้อมูลเศรษฐกิจและจีนที่ซบเซา รวมทั้งนักลงทุนเทขายทำกำไรหลังจากราคาปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง แตะระดับสูงสุดในรอบ 13 เดือน  อย่างไรก็ตาม อุปทานยางที่ออกสู่ตลาดน้อย เพราะหลายพื้นที่พึ่งเริ่มเปิดกรีดยังคงเป็นปัจจัยหนุนราคายางได้ในระดับ หนึ่ง



ทีมวิเคราะห์สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา