ผู้เขียน หัวข้อ: วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง วันอังคารที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2558  (อ่าน 960 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 84635
    • ดูรายละเอียด

วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง
วันอังคารที่  12  พฤษภาคม  พ.ศ. 2558
ปัจจัย
วิเคราะห์   
1.   สภาพภูมิอากาศ
 
- บริเวณประเทศไทยยังคงมีอากาศร้อนและร้อนจัดในบางพื้นที่ ทำให้ยังคงมีพายุฝนฟ้าคะนองกับลมกรรโชกแรงบางแห่ง ส่วนภาคใต้โดยเฉพาะฝั่งตะวันตกมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60.0 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณ จังหวัดพังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล ส่งผลกระทบต่อการกรีดยาง แต่ยังเป็นผลดีต่อต้นยางจะได้รับความชื้นเพิ่มขึ้น
 
2.   การใช้ยาง
 
- กระทรวงการค้าอุตสาหกรรม   และพลังงานเกาหลีใต้ รายงานว่ายอดผลิตรถยนต์ในโรงงานเกาหลีใต้ เดือนเมษายน   อยู่ที่ 424,402 คัน ลดลงร้อยละ 2.2 เมื่อเทียบเป็นรายปี เนื่องจากยอดส่งออกรถยนต์เดือนเมษายน ลดลงร้อยละ 6.0 สู่ระดับ 282,019 คัน อันเนื่องมาจากอุปสงค์ประเทศเกิดใหม่ซบเซา โดยเฉพาะรัสเซียและละตินอเมริกา
- สมาคมผู้นำเข้ารถยนต์ญี่ปุ่น   เปิดเผยว่า ยอดขายรถยนต์ใหม่นำเข้าในญี่ปุ่น เดือนเมษายน ซึ่งรวมถึงรถยนต์ที่ผลิตโดยบริษัทญี่ปุ่นในต่างประเทศ เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.8   เมื่อเทียบรายปี แตะที่ระดับ 17,881 คัน ทั้งนี้ยอดขายรถยนต์ แบรนด์ต่างชาติปรับตัวขึ้นร้อยละ   17.4 แตะ 15,167 คัน ขณะที่ยอดขายรถยนต์แบรนด์ญี่ปุ่นขยายตัวร้อยละ 1.9 สู่ระดับ   2,714 คัน
- สมาคมผู้ผลิตรถยนต์จีน รายงานว่า ยอดขายรถยนต์ในตลาดจีนหดตัวลงอย่างรุนแรงในเดือนเมษายน โดยลดลงร้อยละ 11.0 เมื่อเทียบรายเดือน สู่ระดับ 1.99 ล้านคัน และเมื่อเทียบรายปี ยอดขายลดลงร้อยละ   0.5 ในเดือนเมษายน ขณะเดียวกันสมาคมระบุว่ายอดการผลิตรถยนต์ในจีนลดลงร้อยละ 8.9 เมื่อเทียบรายปีสู่ระดับ 2.08 ล้านคัน และเมื่อเทียบรายเดือนยอดการผลิตลดลงร้อยละ 0.6 ในเดือนเมษายน
 
3.เศรษฐกิจโลก
 
- ธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) ประเทศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับร้อยละ   0.5 เมื่อวานนี้ และคงวงเงินการซื้อพันธบัตรตามมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) ที่ 3.75 แสนล้านปอนด์ (5.79 แสนล้านดอลลาร์) ซึ่งเป็นไปตามคาดการณ์ของนักวิเคราะห์
- โฆษกกระทรวงพาณิชย์จีน กล่าวว่า การค้าต่างประเทศของจีนยังคงเผชิญแรงกดดันช่วงขาลงอย่างหนัก แต่ก็จะกระเตื้องขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี 2558 อันเนื่องมาจากการปรับตัวดีขึ้นในเชิงโครงสร้าง
 
4. อัตราแลกเปลี่ยน
 
- เงินบาทอยู่ที่   33.76 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ อ่อนค่า 0.21 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ
-   เงินเยนอยู่ที่ 120.15 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ อ่อนค่า 0.30 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ
 
5.   ราคาน้ำมัน
 
- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือน มิถุนายน ปิดตลาดที่ 59.29 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล ปรับตัวลดลง   0.14 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล เนื่องจากนักลงทุนยังคงวิตกกังวลเกี่ยวกับภาวะอุปทานที่สูงเกินไป หลังจากมีรายงานว่าปริมาณการผลิตน้ำมันดิบของสหรัฐฯ ยังคงอยู่ในระดับที่สูงมาก และการผลิตน้ำมันดิบของกลุ่มโอเปคลดลงเพียงเล็กน้อยในเดือนเมษายน  สำหรับสัญญาน้ำมันดิบเบรน์   ส่งมอบเดือนมิถุนายน ลดลง 0.48 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ปิดที่ 64.91   ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล
- สำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐฯ (EIA) ระบุว่าปริมาณการผลิตน้ำมันดิบของสหรัฐฯ ในรอบสัปดาห์ที่สิ้นสุด วันที่   1 พฤษภาคม ลดลง 4,000 บาร์เรล สู่ระดับ 9.369 ล้านบาร์เรลต่อวัน แต่ยังคงอยู่ในระดับสูงเป็นประวัติการณ์
- กลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปค) เปิดเผยในรายงานล่าสุดว่าปริมาณการผลิตน้ำมันดิบของกลุ่มโอเปคในเดือนเมษายน ขยับลงเพียง 1,000 บาร์เรล แตะที่ 31.295   ล้านบาร์เรลต่อวัน
 
6.   การเก็งกำไร
 
- ราคาตลาด TOCOM ส่งมอบเดือนมิถุนายน 2558 อยู่ที่ 217.5 เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 0.6เยนต่อกิโลกรัม และส่งมอบเดือนตุลาคม 2558   อยู่ที่ 224.7 เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 0.2 เยนต่อกิโลกรัม
- ราคาตลาด SICOM เปิดตลาดที่ 184.0   เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 0.5 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม
 
7. ข่าว
 
- เจ้าหน้าที่ระดับสูงรายหนึ่งของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เปิดเผยว่า IMF อยู่ระหว่างหารือกับทางการประเทศต่าง ๆ ในทางตะวันออกเฉียงใต้ของยุโรป   เกี่ยวกับแผนสำรอง สำหรับกรณีกรีซเผชิญกับภาวะผิดชำระหนี้
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเยอรมนี กล่าวว่า การจัดทำประชามติในกรีซเกี่ยวกับมาตรการรัดเข็มขัดตามเงื่อนไขในโครงการให้ ความช่วยเหลือทางการเงินอาจเป็นแนวทางที่ดี  อย่างไรก็ดี การจัดประชามติถือเป็นความเสี่ยงสำหรับรัฐบาลกรีซ และรัฐบาลของประเทศอื่นๆ ในยูโรโซน และสร้างความไม่แน่นอนมากขึ้นต่อการแก้ไขปัญหาหนี้ของกรีซ
 
8. ข้อคิดเห็นของ ผู้ประกอบการ
 
- ราคายางมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นได้อีกเล็กน้อย   เพราะผลผลิตยางมีน้อย ขณะที่ผู้ประกอบการมีความต้องการซื้อเพื่อส่งมอบ  อย่างไรก็ตามผู้ประกอบการบางรายยังมีความกังวลและไม่แน่ใจในทิศทางราคายางใน ขณะนี้   จึงยังคงระมัดระวังในการซื้อขาย เพื่อรอดูสถานการณ์ที่ชัดเจน
 
  แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นตามตลาดโตเกียวที่ปรับตัวสูงขึ้น แตะระดับสูงสุดในรอบ 13 เดือน จากการอ่อนค่าของเงินเยนและเงินบาท  ประกอบกับได้รับแรงหนุนจากกระแสข่าวจีนตกลงซื้อยางจากไทย 2 แสนตัน และความร่วมมือระหว่าง 3 บริษัทยางของไทย และ 7 บริษัทยางของอินโดนีเซีย เพื่อผลักดันราคายางให้สูงขึ้น อย่างไรก็ตามความวิตกกังวงเกี่ยวกับปัญหาหนี้กรีซ และอุปสงค์ยางที่ซบเซาเห็นได้จากยอดการผลิตและยอดขายรถยนต์ของจีนที่ลดลง อย่างรุนแรงในเดือนเมษายน



ทีมวิเคราะห์สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา