ผู้เขียน หัวข้อ: วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง วันศุกร์ที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2558  (อ่าน 944 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 84635
    • ดูรายละเอียด

วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง
วันศุกร์ที่  8  พฤษภาคม  พ.ศ. 2558

ปัจจัย[/t][/t] [/t]

วิเคราะห์
1. สภาพภูมิอากาศ
 
- ลมตะวันตกเฉียงใต้ยังคงพัดปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอากาศร้อนและร้อนจัดในบางพื้นที่ ส่งผลให้ประเทศไทยมีฝนฟ้าคะนองกับลมกรรโชกแรงเกิดขึ้น ขณะที่ภาคใต้มีเมฆบางส่วนกับมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30 - 40 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดพังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล ส่งผลดีต่อต้นยางให้ได้รับความชุ่มชื้น และให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นในระยะต่อไป
 
2. การใช้ยาง
 
- ช่วง 2 เดือนแรกของปี 2558 ยอดจำหน่ายรถยนต์ใน   5 ชาติอาเซียน ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ไทย และเวียดนาม   ลดลงร้อยละ 6.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน หรือลดลง 31,000 คัน โดยมียอดจำหน่ายรถยนต์ใน 2 ตลาดใหญ่สุดในภูมิภาคคือ   อินโดนีเซียและไทย หดตัวลงอย่างมากถึงร้อยละ 6.2 และ 11.8 ตามลำดับ แต่ที่ยังเติบโตอย่างแข็งแกร่งคือ   ฟิลิปปินส์ ร้อยละ 21.0 และเวียดนาม ร้อยละ 73.0 ทว่ามีผลเพียงเล็กน้อยเท่านั้นต่อภาพรวมทั้งหมดของตลาดรถยนต์ในภูมิภาค เพราะทั้ง   2 ประเทศต่างเป็นตลาดเล็ก ๆ
 
3. เศรษฐกิจโลก
 
- ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) สาขาชิคาโก   กล่าวว่า เขาคาดว่าสหรัฐฯ จะฟื้นตัวในไตรมาสที่ 2 สอดคล้องกับเป้าหมายการขยายตัวที่ร้อยละ   2.5 - 3.0 อย่างไรก็ดี เขาไม่เห็นเหตุผลในการเร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย
- รัฐบาลเยอรมันคาดการณ์ว่า   รายได้จากการจัดเก็บภาษีจะเพิ่มขึ้นในช่วงหลายปีข้างหน้า   ตามการขยายตัวของเศรษฐกิจยุโรป
- กระทรวงเศรษฐกิจเยอรมันเปิดเผยว่า คำสั่งซื้อในภาคการผลิตเดือนมีนาคมฟื้นตัวขึ้นร้อยละ 0.9 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน   หลังจากปรับตัวอ่อนแรงในช่วงต้นปี แต่ตัวเลขดังกล่าวยังต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดว่าจะปรับตัวขึ้น ร้อยละ   1.0
- กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF.) คาดว่าเศรษฐกิจเอเชียจะขยายตัวร้อยละ 5.6 ในปี 2558 โดยการฟื้นตัวของเศรษฐกิจอินเดียและญี่ปุ่นจะช่วยชดเชยการชะลอตัวของ เศรษฐกิจจีน   ทั้งนี้ IMF. คาดว่าเศรษฐกิจเอเชียแปซิฟิกจะขยายตัวร้อยละ 5.5   ในปี 2559 ส่วนการขยายตัวของเศรษฐกิจเอเชียปี 2557 ลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 5.5 ในปี   2557 จากร้อยละ 5.9 ในปี 2556
- ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) สาขาแอตแลนติก กล่าวว่า เขาไม่วิตกกังวลมากนักเกี่ยวกับการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่อ่อนแอของสหรัฐฯ ช่วงไตรมาสแรกของปี   โดยเชื่อว่าภาวะดังกล่าวจะเป็นช่วงสั้น ๆ และคาดว่าปัจจัยพื้นฐานจะมีความแข็งแกร่งเพียงพอที่จะหนุนเศรษฐกิจให้ฟื้น ตัวในช่วงไตรมาส   2
 
4. อัตราแลกเปลี่ยน
 
- เงินบาทอยู่ที่ 33.55 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ อ่อนค่าลง 0.22   บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ
- เงินเยนอยู่ที่ 119.93 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ อ่อนค่าลง   0.49 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ
- ธนาคารกลางเวียดนามประกาศลดค่าเงินดองเป็นครั้งที่   2 ของปี 2558 โดยมีเป้าหมายจะกระตุ้นการส่งออกของประเทศ หลังจากเวียดนามมียอดขาดดุลการค้าในช่วง 4 เดือนแรกของปีนี้สูงถึง 3 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐ เทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งมียอดเกินดุลการค้า   2 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐ
 
5. ราคาน้ำมัน
 
- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือนมิถุนายน ปิดตลาดที่ 58.94 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง   1.99 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล เพราะได้รับแรงกดดันจากการแข็งค่าของสกุลเงินดอลล่าร์สหรัฐ   อย่างไรก็ตาม ราคาน้ำมันปรับตัวลดลงในกรอบจำกัด เพราะได้รับแรงหนุนระหว่างวันจากข้อมูลที่บ่งชี้ว่าอุปทานน้ำมันในสหรัฐฯ ชะลอตัวลง
- ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ (Brent)   ตลาดลอนดอน ส่งมอบเดือนมิถุนายน ปิดที่ 65.54 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล   ลดลง 2.23 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล
 
6. การเก็งกำไร
 
- ราคาตลาด TOCOM ส่งมอบเดือนมิถุนายน อยู่ที่ 215.4 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 0.4 เยนต่อกิโลกรัม และส่งมอบเดือนตุลาคม อยู่ที่ 222.3 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง   0.1 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ
- ราคาตลาด SICOM เปิดตลาดที่ 182.0 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม   ลดลง 3.4 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม
 
7. ข่าว
 
- รัฐมนตรีกระทรวงการคลังฝรั่งเศสเปิดเผยว่า การเจรจาระหว่างกรีซและกลุ่มเจ้าหนี้มีแนวโน้มดีขึ้น พร้อมคาดหวังว่าการประชุมรอบถัดไปจะมีความเห็นลงรอยกัน
- กระทรวงแรงงานสหรัฐฯ เปิดเผยจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกในรอบสัปดาห์   สิ้นสุดวันที่ 2 พฤษภาคม 2558 เพิ่มขึ้น 3,000 ราย อยู่ที่ 265,000 ราย หลังจากอยู่ที่ระดับต่ำสุดในรอบ   15 ปี ในสัปดาห์ก่อน
 
8.   ข้อคิดเห็นของผู้ประกอบการ
 
- ราคายางน่าจะทรงตัวไม่เปลี่ยนแปลงมากในระยะนี้ ผลผลิตยังคงออกสู่ตลาดน้อย ผู้ประกอบการมีความต้องการซื้อ และหลายพื้นที่เริ่มขาดแคลนยาง
 
   ?แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มทรงตัวหรือเปลี่ยนแปลงในช่วงแคบ ๆ ตามตลาดล่วงหน้าโตเกียว โดยมีปัจจัยบวกจากเงินเยนและเงินบาทอ่อนค่า ประกอบกับอุปทานยางยังคงออกสู่ตลาดน้อย ขณะที่ผู้ประกอบการมีความต้องการซื้อเพราะเริ่มขาดแคลนยาง ส่วนปัจจัยลบมาจากราคาน้ำมันปรับตัวลดลง และความกังวลเกี่ยวกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน ซึ่งเป็นผู้ใช้ยางรายใหญ่ของโลก



ทีมวิเคราะห์สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 08, 2015, 11:07:13 AM โดย Rakayang.Com »