ผู้เขียน หัวข้อ: ข่าวด่วน กนง.หั่นดอกเบี้ยกู้ ศก.  (อ่าน 446 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 84462
    • ดูรายละเอียด
ข่าวด่วน กนง.หั่นดอกเบี้ยกู้ ศก.
« เมื่อ: เมษายน 30, 2015, 09:39:13 AM »
กนง.หั่นดอกเบี้ยกู้ ศก. 

สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย- -30 เม.ย. 58 7:35: น.


** แถลงปลดล็อคเงินไหลออกวันนี้-คลังลดจีดีพีเหลือ3.7%

            บอร์ดนโยบายการเงิน(กนง.)ทำเซอร์ไพรส์ ปรับลดดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25% สู่ระดับ 1.50% เป็นการหั่นลงติดต่อกัน2 ครั้งในรอบ 4 เดือน สะท้อนภาพรวมเศรษฐกิจไทยอ่อนแอกว่าคาด พร้อมเตรียมออกมาตรการผ่อนคลายเงินทุนไหลออก แถลงวันนี้ หวังกดบาทอ่อนกระตุ้นส่งออก ส่วน 10 มิ.ย.นี้ส่งสัญญาณปรับลดเป้าจีดีพี หลังคาดโตไม่ถึงเป้าเดิมที่ 3.8% ด้าน สศค. นำร่องหั่นจีดีพีเหลือโต 3.7%จากเดิม 3.9% ขณะที่ส่งออกลดเหลือโต 0.2% จาก 1.4%

*** กนง.ลดดอกเบี้ย 0.25% เหลือ 1.5%


            นายเมธี สุภาพงษ์ เลขานุการ คณะกรรมการนโยบายการเงิน หรือ กนง.เปิดเผย ผลประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.)วันนี้ว่า ที่ประชุมมีมติ 5 ต่อ 2เสียงให้ลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.25% จาก 1.75% เหลือ 1.50% ต่อปี โดยมีผลทันที เนื่องจากคณะกรรมการเห็นว่า เศรษฐกิจมีแนวโน้มฟื้นตัวต่ำกว่าที่ประมาณการไว้ในการประชุมครั้งก่อน แม้การเบิกจ่ายงบลงทุนภาครัฐเพิ่มขึ้น การท่องเที่ยวมีแนวโน้มดีต่อเนื่อง แต่ไม่เพียงพอที่จะชดเชยการส่งออกสินค้าและการบริโภคภาคเอกชนที่อ่อนแรงกว่าที่คาดการณ์
ไว้มาก
            ?สำหรับการลดอัตราดอกเบี้ยในครั้งนี้ยอมรับว่าส่งผลดีต่ออัตราแลกเปลี่ยน และเชื่อว่าจะส่งผลดีต่อภาคการส่งออกด้วย แต่ยืนยันว่าอัตราดอกเบี้ยคงไม่ได้เป็นปัจจัยหลักในการสนับสนุนการส่งออกทั้งหมด ?นายเมธี กล่าว

            อนึ่ง ประเด็นที่คณะกรรมการฯ ให้ความสำคัญในการตัดสินนโยบาย มีดังนี้ เศรษฐกิจมีแนวโน้มฟื้นตัวในอัตราที่ต่ำกว่าที่เคยประเมินไว้ในการประชุมครั้งก่อน แม้การเบิกจ่ายงบลงทุนภาครัฐที่ทาได้เพิ่มขึ้นและการท่องเที่ยวที่มีแนวโน้มดีต่อเนื่องช่วยสนับสนุนเศรษฐกิจ แต่ไม่เพียงพอที่จะชดเชยการส่งออกสินค้าและการบริโภคภาคเอกชนที่อ่อนแรงกว่าคาดมากในไตรมาสที่ 1 นอกจากนี้ ในระยะข้างหน้าภาคการส่งออกมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน และโครงสร้างการค้าโลกและภูมิภาคที่เปลี่ยนแปลงโดยคู่ค้าหลักมีการพึ่งพาการนาเข้าลดลง รวมทั้งจากแรงกดดันจากอัตราแลกเปลี่ยนที่แข็งค่าขึ้นในช่วงที่ผ่านมา ทั้งนี้ การหดตัวของการส่งออกอาจส่งผลให้การลงทุนภาคเอกชนและการบริโภคภาคครัวเรือนอ่อนแอลงตามกาลังซื้อและความเชื่อมั่นที่ลดลง
            แรงกดดันเงินเฟ้อลดต่ำลงสอดคล้องกับอุปสงค์ในระบบเศรษฐกิจที่มีน้อยกว่าคาด ขณะที่ต้นทุนโดยเฉพาะราคาน้ามันอยู่ในระดับต่ำต่อเนื่อง ซึ่งทาให้ความเสี่ยงที่อัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะติดลบต่อเนื่องเพิ่มสูงขึ้นและการคาดการณ์เงินเฟ้อมีแนวโน้มปรับลดลง ในการตัดสินนโยบาย คณะกรรมการฯ เสียงส่วนใหญ่ประเมินว่านโยบายการเงินควรผ่อนคลายเพิ่มเติมเพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในภาวะที่มีความเสี่ยงด้านต่าเพิ่มขึ้น ตลอดจนดูแลการคาดการณ์เงินเฟ้อของประชาชนให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม คณะกรรมการฯ เสียงส่วนน้อยเห็นควรให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ เนื่องจากการดาเนินนโยบายการเงินที่ผ่านมามีส่วนช่วยให้ภาวะการเงินผ่อนคลายมาอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับขีดความสามารถในการดาเนินนโยบายการเงินเพิ่มเติมมีจากัด ขณะที่แรงขับเคลื่อนด้านการคลังที่มากขึ้นจะช่วยพยุงเศรษฐกิจได้ส่วนหนึ่ง จึงเห็นควรให้รอประเมินผลต่อเศรษฐกิจและเสถียรภาพการเงินก่อนที่จะดาเนินนโยบายเพิ่มเติม ในระยะต่อไป คณะกรรมการฯ จะดำเนินนโยบายการเงินเพื่อดูแลให้ภาวะการเงินอยู่ในระดับที่ผ่อนคลายเพียงพอในการสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งจะติดตามพัฒนาการทางเศรษฐกิจการเงินของไทยและใช้เครื่องมือเชิงนโยบายที่มีอยู่อย่างเหมาะสมต่อไป

*** 10 มิ.ย.นี้ หั่นเป้าจีดีพีโตไม่ถึง 3.8%


            นายเมธี กล่าวว่า ในวันที่ 10 มิถุนายน 2558 ธปท.จะแถลงตัวเลขการปรับประมาณการอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ หรือ จีดีพี ลงจากปัจจุบันที่ 3.8% และปรับตัวเลขการส่งออกที่ปัจจุบันคาดการณ์ส่งออกเติบโต 0.8% นอกจากนี้ ยังจะปรับตัวเลขเงินเฟ้อทั่วไปปีนี้ลงด้วย จากเดิมคาดอยู่ที่ 0.2%
            อนึ่ง การประชุม กนง.ครั้งที่ 4 ของปีนี้ จะจัดขึ้นในวันพุธที่ 10 มิถุนายน 2558 และจะมีการแถลงรายงานรายงานนโยบายการเงินในวันที่ 19 มิถุนายน 2558
            อย่างไรก็ตาม ในระยะข้างหน้า มองว่าภาคการส่งออกมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น จากการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน และโครงสร้างการค้าโลกและภูมิภาคที่เปลี่ยนอปลงโดยคู่ค้าหลักมีการพึ่งพาการนำเข้าลดลง รวมทั้งจากแรงกดดันจากอัตราแลกเปลี่ยนที่แข็งค่าขึ้นในช่วงที่ผ่านมา ทั้งนี้ การหดตัวของการส่งออกอาจส่งผลให้การลงทุนภาคเอกชนและการบริโภคภาคครัวเรือนอ่อนแอลงตามกำลังซื้อและความเชื่อมั่นที่ลดลง
            ส่วนสถานการณ์เงินเฟ้อลดต่ำลงสอดคล้องกับอุปสงค์ในระบบเศรษฐกิจที่มีน้อยกว่าคาด ขณะที่ต้นทุนโดยเฉพาะราคาน้ำมันอยู่ในระดับต่ำต่อเนื่อง ซึ่งทำให้ความเสี่ยงที่อัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะติดลบต่อเนื่องเพิ่มสูงขึ้น ตามการคาดการณ์เงินเฟ้อที่มีแนวโน้มลดลง ทั้งนี้ สถานการณ์ที่เกิดขึ้น ส่งผลให้คณะกรรมการเริ่มเห็นความเสี่ยงของภาวะเงินฝืด เนื่องจากเห็นการชะลอตัวของราคาสินค้าเริ่มกระจายตัวมากขึ้น นอกเหนือจากราคาน้ำมันตัวเดียวเท่านั้น ซึ่ง กนง.จะติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด

*** แถลงมาตรการผ่อนคลายเงินทุนไหลออกวันนี้


            นายเมธี กล่าวว่า ส่วนกรณีที่ ม.ร.ว.ปรีดียาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรี ระบุว่าธนาคารแห่งประเทศไทย หรือ ธปท.จะประกาศมาตรการเงินทุนเคลื่อนย้ายนั้น ในพรุ่งนี้ (30 เม.ย.)ธปท.จะแถลงมาตรการผ่อนคลายเงินทุนไหลออก ซึ่งเป็นไปตามแผนแม่บทเงินทุนเคลื่อนย้ายที่ ธปท.มีอยู่แล้ว แต่จะเป็นการผ่อนคลายเพิ่มเติมจากหลักเกณฑ์ที่มีอยู่ ซึ่งจะเป็นเครื่องมือที่ช่วยดูแลเรื่องอัตราแลกเปลี่ยน หลังจากที่ผ่านมาเงินบาทปรับตัวแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับประเทศคู่ค้าและคู่แข่งด้านการส่งออก
            ธปท.มองว่าขณะนี้ รัฐบาลไม่สามารถจะกระตุ้นเศรษฐกิจได้เต็มที่ ดังนั้น จึงต้องหวังพึ่งภาคเอกชนให้เป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญในการช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจไทย อย่างไรก็ดี เห็นว่ารัฐบาลมีความพยายามในการเร่งเบิกจ่ายงบลงทุนต่างๆ อย่างมาก ซึ่งหากรัฐบาลทำได้ดีและรวดเร็วก็น่าจะช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ภาคเอกชน และส่งผลให้เกิดการลงทุนใหม่เพิ่มขึ้นตามมา ซึ่งก็จะถือว่าเป็นเรื่องที่ดี
            ขณะที่แนวโน้มเศรษฐกิจปี 59 นั้น เชื่อว่ายังสามารถขยายตัวในระดับที่พอใช้ได้ แต่การฟื้นตัวคงจะไม่เร็วอย่างที่คาด และคงไม่สามารถหวังว่าเศรษฐกิจไทยจะกลับมาฟื้นตัวอยู่ในระดับปกติได้ในระยะเวลาอันรวดเร็วนัก
            อนึ่ง เวลา 11.00 น.วันนี้ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ธปท.จะแถลงข่าวเรื่องการผ่อนคลายเงินทุนเคลื่อนย้ายระหว่างประเทศ


*** สศค.นำร่องลดเป้าจีดีพปีนี้เหลือโต 3.7% ลดเป้าส่งออกเหลือโต 0.2%

            นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง หรือ สศค.เปิดเผยว่า สศค.ปรับลดประมาณการขยายตัวทางเศรษฐกิจ หรือ จีดีพี ของไทยปี 58 ลงเหลือ 3.7% (ช่วงการคาดการณ์ 3.2-4.2%)จากเดิมที่คาดว่าจะขยายตัวได้ 3.9% เนื่องจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกยังคงอ่อนแอ ความผันผวนของเงินทุนเคลื่อนย้ายระหว่างประเทศและอัตราแลกเปลี่ยน และแนวโน้มของการปรับลดลงของราคาน้ำมันและราคาสินค้าเกษตร สำหรับจีดีพีไตรมาสแรกที่ผ่านมาขยายตัวได้ 3.2%
            นอกจากนี้ ยังได้ปรับลดประมาณการส่งออกลงเหลือโต 0.2% จากเดิมที่คาดว่าจะขยายตัวได้ 1.4% ด้านการนำเข้าคาดว่าจะติดลบ 0.2% จากเดิมที่ 4% อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปีนี้ปรับลดลงจากปีก่อนเล็กน้อยมาอยู่ที่ 0.2% ตามแนวโน้มการปรับลดลงของราคาน้ำมันดิบและราคาสินค้าโภคภัณฑ์ในตลาดโลกที่ส่งผลต่อต้นทุนการผลิตและค่าขนส่งสินค้าในประเทศ ส่วนอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานคาดว่าจะอยู่ที่ 1.3%

*** แบงก์มองบวกต่อภาคส่งออกเล็กน้อย

            นายปกรณ์ พรรธนะแพทย์ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ธนาคารกสิกรไทย จำกัด(มหาชน) หรือ KBANK กล่าวว่า การลดดอกเบี้ยของ กนง.0.25% จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจให้ดีขึ้น โดยเฉพาะภาคการส่งออก เพราะการลดดอกเบี้ยช่วยเรื่องอัตราแลกเปลี่ยนไม่ให้แข็งค่าจนเกินไป หากเทียบกับสกุลเยน และ สกุลยูโร สำหรับมุมมองสินเชื่อของธนาคารไม่ได้ขึ้นกับการปรับลดดอกเบี้ย แต่เป็นการลดภาระของลูกหนี้ที่เป็นผู้กู้ได้
            "ดอกเบี้ยแบงก์จะปรับลงตามหรือไม่ต้องรอการประชุมของคณะกรรมการอีกครั้ง ซึ่งตอนนี้กำลังปรึกษาหารือกันอยู่"นายปกรณ์ กล่าว

            นายอมรเทพ จาวะลา ผู้อำนวยการอาวุโสสำนักวิจัย ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย เปิดเผยว่า การปรับลดดอกเบี้ยรอบนี้จะช่วยเศรษฐกิจได้มากเพียงใดนั้น ขอมองว่า ช่วยผู้ประกอบการในประเทศได้ไม่มาก ช่วยได้บ้างแต่จำกัด เพราะปัจจัยหลักๆของผู้ประกอบการคือ รอการลงทุนภาครัฐ ขณะที่ดอกเบี้ยในประเทศนั้นต่ำอยู่แล้ว แทบจะต่ำสุดในภูมิภาค ส่วนธนาคารพาณิชย์เองก็ระวังในการปล่อยสินเชื่อเพราะห่วงหนี้เสีย
            อย่างไรก็ตาม การปรับลดดอกเบี้ยนโยบายของ กนง.สร้างความแปลกใจให้ตลาด เนื่องจากปรับลดดอกเบี้ยเร็วกว่าที่คาด เดิมที่สำนักวิจัยฯ คาดว่าหลังจาก กนง.ปรับลดดอกเบี้ยเมื่อวันที่ 11 มี.ค.58 จะได้เห็น กนง.ปรับลดดอกเบี้ยอีกครั้งในการประชุมรอบหน้าวันที่ 10 มิ.ย.58 เพื่อรอดูการประกาศตัวเลขจีดีพีไตรมาส 1 ในวันที่ 18พ.ค.58 เสียก่อน โดยสำนักวิจัยฯ คาดว่าจีดีพีไตรมาส 1 น่าจะโตได้ 3.3% YoY แต่เป็นตัวเลขที่ไม่น่ายินดี เพราะหากเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (QoQ)เป็นตัวเลขติดลบ ดังนั้น สำนักวิจัยฯประเมินว่าการเติบโตของเศรษฐกิจจะไม่ใช่ U shape ไม่ใช่ V shape และไม่ใช่ L shape แต่อาจเป็น W shape
            โดยจีดีพีรูป W shape เป็นการตกต่ำแบบ 2 ครั้งติดๆกัน (double dips) หรือภาวะ technical recession โดยครั้งนี้เกิดจากปัญหารายได้ภาคเกษตรตกต่ำ หนี้ครัวเรือนสูง และความเชื่อมั่นทั้งการลงทุนและการบริโภคไม่ได้เร่งตัวขึ้น ทำให้การใช้จ่ายหยุดชะงัก ภาคเอกชนรอการลงทุนภาครัฐ แรงส่งต่อการฟื้นตัวเศรษฐกิจทั้งไตรมาส 1 ลากยาวไปถึง ไตรมาส 2 อาจยังไม่มา
            อย่างไรก็ดี การที่ กนง.ประกาศปรับลดดอกเบี้ยลง 0.25% ลงไปเหลือ 1.50% เมื่อวันที่ 29 เม.ย.58 น่าจะเป็นเพราะผู้ทรงคุณวุฒิของ ธปท.ทั้งคนนอกและคนในเห็นตรงกันว่าไม่สามารถรอได้ เพราะการส่งผ่านนโยบายต้องใช้เวลา ถ้ารอตัวเลขจีดีพีประกาศออกมาก่อนอาจไม่ทันการณ์ จึงต้องลดดอกเบี้ยในรอบนี้


*** SET ปิดลบ 9.06 จุด เมิน กนง.หั่นดอกเบี้ย

            ด้านบรรยากาศการซื้อขายของตลาดหุ้นไทย วานนี้ เปิดตลาดภาคบ่าย ดัชนีฯ ยังคงผันผวนในแดนลบต่อเนื่องจากช่วงเช้า แม้ กนง.จะเซอไพรส์ตลาดด้วยการปรับลดดอกเบี้ยลง 0.25% ซึ่งการปรับลดดอกเบี้ยดังกล่าว น่าจะส่งผลบวกต่อตลาดรวม แต่ตลาดกลับไม่ตอบรับข่าวอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งน่าจะมาจากความกังวลต่อทิศทางเศรษฐกิจไทย หลังจากที่ กนง.ได้ปรับลดดอกเบี้ยลงเป็นครั้งที่สองในการประชุม 3ครั้งของปีนี้ โดยปรับลงครั้งละ 0.25%เพื่อเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือ ที่จะช่วยกระตุ้นภาคส่งออก ซึ่งเป็นเสาหลักของเศรษฐกิจ
            SET Index ปิดทำการวันนี้ที่ 1522.47 จุด ลดลง 9.06 จุด หรือ 0.59% มูลค่าการซื้อขาย 4.29 หมื่นล้านบาท โดยระหว่างวันปรับลงไปลึกสุดที่ระดับ 1513.42 จุด และปรับขึ้นไปแตะระดับสูงสุดของวันที่ 1529.29 จุด





เรียบเรียง โดย ประน้อม บุญร่วม                  อีเมล์. reporter@efinancethai.com