ผู้เขียน หัวข้อ: สรุปสถานการณ์เศรษฐกิจอุตสาหกรรมประจำเดือนมิถุนายน 2556  (อ่าน 1681 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 83283
    • ดูรายละเอียด
สรุปสถานการณ์เศรษฐกิจอุตสาหกรรมประจำเดือนมิถุนายน 2556

 

 

ข่าวเศรษฐกิจ สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม -- พุธที่ 17 กรกฎาคม 2556 14:46:04 น.

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมหรือ MPI เดือนพฤษ???าคม 2556 อยู่ที่ระดับ 175.12 หดตัวร้อยละ 7.8 สาเหตุจากการส่งออกที่ลดลงโดยเฉพาะการส่งออกไปยังประเทศจีนที่มีสัดส่วนประมาณร้อยละ 11 การส่งออกของไทยไปจีนลดลงเป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกัน โดยในเดือนพฤษ???าคม 2556 หดตัวถึงร้อยละ 16.3 นอกจากนี้การส่งออกไปสห???าพยุโรปกลับมาติดลบอีกครั้งโดยหดตัวหรือติดลบร้อยละ 12.1 อุตสาหกรรมสำคัญที่การผลิต
     

   
ลดลง ได้แก่ Hard Disk Drive อาหารทะเลกระป๋องและแช่แข็ง ผลิต???ัณฑ์ปิโตรเลียม เสื้อผ้าสำเร็จรูปชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ สำหรับการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมเดือนพฤษ???าคม 2556 หดตัวเล็กน้อยร้อยละ 0.2 และเมื่อไม่รวมทองคำแท่งหดตัวร้อยละ 1.2

การผลิตใน???าคอุตสาหกรรมซึ่งวัดจากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม1 หรือ MPI เดือนพฤษ???าคม 2556 อยู่ที่ระดับ 175.12 หดตัวร้อยละ 7.8 สาเหตุจากการส่งออกที่ลดลงโดยเฉพาะการส่งออกไปยังประเทศจีนที่มีสัดส่วนประมาณร้อยละ 11 การส่งออกของไทยไปจีนลดลงเป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกัน โดยในเดือนพฤษ???าคม 2556 หดตัวถึงร้อยละ 16.3 นอกจากนี้การส่งออกไป สห???าพยุโรปกลับมาติดลบอีกครั้งโดยหดตัวหรือติดลบร้อยละ 12.1 อุตสาหกรรมสำคัญที่การผลิตลดลง ได้แก่ Hard Disk Drive อาหารทะเลกระป๋องและแช่แข็งผลิต???ัณฑ์ปิโตรเลียม เสื้อผ้าสำ เร็จรูป ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์

สำหรับอัตราการใช้กำลังการผลิต2 เดือนพฤษ???าคม 2556 อยู่ที่ร้อยละ 65.77 จากร้อยละ 60.21 ในเดือนเมษายน 2556 และร้อยละ 69.27 ในเดือนพฤษ???าคม 2555


หมายเหตุ

1. ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม เป็นดัชนีที่แสดงทิศทางการผลิต???าคอุตสาหกรรม ทั้งใน???าพรวม รายสาขาอุตสาหกรรม และรายผลิต???ัณฑ์

2. อัตราการใช้กำลังการผลิต หมายถึง ค่าร้อยละของการผลิตที่เกิดขึ้นจริงเมื่อเทียบกับความสามารถในการผลิตสูงสุดเต็มศักย???าพ หรือเต็มกำลังการผลิต (capacity)


เมื่อพิจารณาในด้านของการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมเดือนพฤษ???าคม 2556 หดตัวเล็กน้อยร้อยละ 0.2 และเมื่อไม่รวมทองคำแท่งหดตัวร้อยละ 1.2


อุตสาหกรรมรายสาขาสำคัญ(พฤษ???าคม 2556)

อุตสาหกรรมอาหาร การผลิต (ไม่รวมน้ำ ตาล) เดือนพฤษ???าคม 2556 ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 16.8 สินค้าสำคัญ เช่น กุ้งมีปริมาณการผลิตลดลงร้อยละ 63.3 เป็นผลจากการเกิดโรคระบาดในแหล่งเพาะเลี้ยงกุ้ง ส่งผลให้ต้องพักบ่อเพื่อกักกันโรค ซึ่งทำให้มีวัตถุดิบป้อนสู่โรงงานลดลง

อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มผลิต???ัณฑ์สิ่งทอ เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนการผลิตผ้าผืน ผ้าขนหนูและเครื่องนอน และผ้าลูกไม้ลดลงร้อยละ 4.6 4.0 และ 2.6 ตามลำดับ ในขณะที่เส้นใยสิ่งทอ และสิ่งทออื่น ๆ (ยางยืด) เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.7 และ 24.5 ตามลำดับ เนื่องจากความต้องการใช้เพื่อผลิตสินค้าสำเร็จรูป ประกอบกับมีคำสั่งซื้อทั้งจากตลาดเอเซีย และอาเซียนมากขึ้น โดยเฉพาะจากอินโดนีเซีย เวียดนาม จีน และอินเดีย ส่งผลให้การผลิตผลิต???ัณฑ์สิ่งทอเพิ่มสูงขึ้น

การผลิตผลิต???ัณฑ์เครื่องนุ่งห่ม การผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปจากผ้าถักลดลงร้อยละ 10.4 และเสื้อผ้าสำเร็จรูปจากผ้าทอลดลงร้อยละ 7.1 เป็นผลจากคำสั่งซื้อของตลาดส่งออกหลักทั้งสหรัฐอเมริกาญี่ปุ่น และสห???าพยุโรป ลดลง

อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า การผลิตเพิ่มขึ้น ร้อยละ 3.44 โดยเหล็กทรงยาวมีการผลิตเพิ่มขึ้น ร้อยละ 13.79 และเหล็กทรงแบนมีการผลิตเพิ่มขึ้น ร้อยละ 1.86 ในส่วนของดัชนีราคาเหล็กต่างประเทศ การเปลี่ยนแปลงของราคาเหล็ก (FOB)โดยเฉลี่ยที่สำคัญในตลาด CIS ณ ท่าทะเลดำ (Black Sea) ในช่วงเดือนพฤษ???าคม 2556 เทียบกับเดือนก่อนพบว่า ผลิต???ัณฑ์เหล็กทุกชนิดมีการเปลี่ยนแปลงที่ลดลง

อุตสาหกรรมรถยนต์ มีการผลิตจำนวน 231,101 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษ???าคม 2555 ซึ่งมีการผลิต 202,834 คัน ร้อยละ 13.94 โดยเป็นการปรับเพิ่มขึ้นของการผลิตรถยนต์นั่ง รถยนต์กระบะ 1 ตันและรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ และมีปริมาณการผลิตรถยนต์เพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายน 2556 ร้อยละ 35.58 โดยเป็นการปรับเพิ่มขึ้นของการผลิตรถยนต์นั่งรถยนต์กระบะ 1 ตัน และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ สำหรับการส่งออก มีจำนวน 86,577 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษ???าคม 2555 ซึ่งมีการส่งออก 85,988 คันร้อยละ 0.68 ซึ่งเพิ่มขึ้นในประเทศแถบโอเชียเนียแอฟริกา อเมริกากลางและอเมริกาใต้

อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์การผลิต เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนลดลงร้อยละ 19.7 ซึ่งมาจากอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ที่มีการปรับตัวลดลงถึงร้อยละ 21.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากความต้องการอิเล็กทรอนิกส์ชะลอตัวจาก???าวะเศรษฐกิจโลกที่ยังไม่แน่นอน สำหรับกลุ่มอุตสาหกรรมไฟฟ้ามีการปรับตัวลดลงร้อยละ 9.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากผู้บริโ???คมีการใช้เงินล่วงหน้าไปแล้วกับโครงการรถคันแรกและการระมัดระวังการใช้จ่ายจากสัญญาณเชิงลบของสถานการณ์เศรษฐกิจ


--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--