ผู้เขียน หัวข้อ: วิกฤติราคายาง รอดไม่รอดอยู่ที่ใคร  (อ่าน 880 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 84894
    • ดูรายละเอียด
วิกฤติราคายาง รอดไม่รอดอยู่ที่ใคร



?ยางพารา? หนึ่งในพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกทั่วประเทศ 22 ล้านไร่ ครอบคลุมกว่า 65 จังหวัด และมีเกษตรกรประกอบอาชีพทำสวนยางราว 1.5 ล้านครัวเรือน
    ในแต่ละปี ?ยาง? สร้างรายได้จากการส่งออกไม่น้อยกว่า 400,000 ล้านบาท
    วันที่ 10 เมษายน ทุกปี คณะรัฐมนตรีมีมติให้เป็น ?วันยางพาราแห่งชาติ? ซึ่งตรงกับวันอนิจกรรมของพระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี (คอซิมบี้ ณ ระนอง) ?บิดาแห่งยางพาราไทย?
    ?ต้นยางพารา? ต้นแรกของประเทศไทย ปลูกที่อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง เมื่อ 116 ปีที่ผ่านมา จากนั้นขยายการปลูกไปยังจังหวัดอื่นๆอย่างต่อเนื่องจนแพร่หลายเกือบทั้ง ประเทศในวันนี้
    กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จัดงานวันยางพาราฯขึ้นตั้งแต่ปี 2548 ในปีนี้ก็เช่นเดียวกัน มอบหมายให้สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (สกย.) เป็นเจ้าภาพหลัก บูรณาการร่วมกับองค์การบริหารส่วนจังหวัดตรัง สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร องค์การสวนยาง สถาบันเกษตรกร หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง
    ?วันพระยารัษฎาบิดายางพาราไทยและวันยางพาราแห่งชาติ ประจำปี 2558? ระหว่างวันที่ 2-10 เมษายน 2558 ณ ลานเรือพระ สนามกีฬาเทศบาลนครตรัง (ทุ่งแจ้ง) อำเภอเมือง จังหวัดตรัง กิจ หลีกภัย นายก อบจ.ตรัง ฝากเชิญชวนผู้ที่สนใจเข้ามาเรียนรู้เทคโนโลยีการเกษตรด้านยางพารา การแปรรูป นวัตกรรม กิจกรรมความบันเทิงมาก มาย ซึ่งส่งเสริมอนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่น การแสดงดนตรี ศิลปะร่วมสมัย หนังตะลุง มโนราห์ พร้อมชมดนตรีจากศิลปินชื่อดัง ตลอดระยะเวลา 9 วัน
    ท่ามกลาง ?วิกฤติราคายาง? เชาว์ ทรงอาวุธ รองผู้อำนวยการ สกย. บอกว่า งานวันยางพาราปีนี้จัดขึ้นภายใต้แนวคิด ฝ่าวิกฤติยางพารา พัฒนาอย่างยั่งยืน เป็นการผนวกสองงานเข้าด้วยกัน ก็คือ งานวันยางพาราแห่งชาติ กับวันพระยารัษฎาฯ ปกติก็จัดเป็นประจำทุกปีอยู่แล้ว


    ที่พิเศษงานวันยางพาราแห่งชาติถูกกำหนดให้มาจัดที่จังหวัดตรัง ก็เลยรวมสองงานเข้าไว้ด้วยกันและที่สำคัญยิ่งกว่าทุกๆเรื่องก็คือ ?ยุทธศาสตร์แผนพัฒนายางพาราไทยทั้งระบบ? ที่จะนำไปสู่ความยั่งยืนของยางพาราไทย ภายใต้การระดมสมองจากวงเสวนา ?ฝ่าวิกฤติยางพารา พัฒนาสู่ความยั่งยืน? กลั่นความคิดจากผู้ที่เกี่ยวข้องในวงการยางพาราไทยจากทุกภาคส่วนกว่า 500 ชีวิต ตลอด 8 เดือนที่ผ่านมากับปัญหาวิกฤติราคายางที่เกิดขึ้น มีปัญหา อุปสรรค ข้อดี ข้อเสียอย่างไรบ้าง เพื่อช่วยกันหาทางออก ปรับปรุงแนวทางการพัฒนายางพาราของประเทศไทยให้ก้าวต่อไปข้างหน้าได้ในอนาคต หลาย คนคงรู้กันดีอยู่แล้วว่าสถานการณ์ราคายางพาราไทยอยู่ในยุคตกต่ำสุดๆ จนเรียกว่าอยู่ในขั้นวิกฤติก็ว่าได้ จากที่เคยมีราคาแตะกิโลกรัมละ 180 บาทในปี 2554 เหลือเพียง 3 กิโลฯ 100 บาทเท่านั้นเมื่อปลายปีที่ผ่านมา ทำให้รัฐบาลภายใต้การนำของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี

คลอด 16 มาตรการในการแก้ปัญหา ?ราคายาง? ทั้งระบบ
 
    อำนวย ปะติเส รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ บอกว่า สาเหตุสำคัญที่ทำให้ราคายางตกต่ำในขณะนี้ เนื่องจากราคาน้ำมันในตลาดโลกลดต่ำลง ส่งผลทำให้ราคายางสังเคราะห์ ซึ่งมาจากน้ำมันฉุดราคายางธรรมชาติให้มีราคาลดต่ำลงไปด้วย ประกอบกับราคาสินค้าเกษตรในตลาดโลกก็ลดลงด้วย จึงเป็นแรงส่งที่กระทบต่อราคายางทั้งในและต่างประเทศ ยุทธศาสตร์พัฒนายางไทยทั้งระบบตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ
   มาตรการแรก โครงการสร้างมูลภัณฑ์กันชนเพื่อรักษาเสถียรภาพราคายาง มาตรการนี้จะใช้เงินกู้จาก ธ.ก.ส. รับซื้อยางแผ่นรมควัน ยาง แผ่นรมควันอัดก้อน ยางแท่งจากสถาบันเกษตรกรและตลาดกลางยางพารา นำมาบริหารจัดการลักษณะสต๊อกหมุนเวียน เพื่อไม่ให้ราคายางผันผวนมากจนเกินไป
   มาตรการที่สอง โครงการชดเชยรายได้แก่เกษตรกรชาวสวนยาง ครัวเรือนละไม่เกิน 15,000 บาท
   มาตรการที่สาม โครงการสนับสนุนสินเชื่อเกษตรกรชาวสวนยางรายย่อยเพื่อประกอบอาชีพเสริม ครัวเรือนละไม่เกิน 100,000 บาท
   มาตรการที่สี่ โครงการสนับสนุนเงินทุนหมุนเวียนแก่ผู้ประกอบการยาง มาตรการที่ห้า...โครงการสนับสนุนเงินทุนหมุนเวียนแก่สถาบันเกษตรกร เพื่อใช้ในการรวบรวมยาง มาตรการที่หก...โครงการสนับสนุนสินเชื่อสถาบันเกษตรกรแปรรูปยางพารา 5,000 ล้านบาท
   มาตรการที่เจ็ด โครงการสนับสนุนสินเชื่อผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ยาง 15,000 ล้านบาท
   มาตรการที่แปด โครงการพัฒนาตลาดตามแผนปรับโครงสร้างระบบตลาดยางพารา
   มาตรการที่เก้า โครงการจัดหาตลาดใหม่เพื่อส่งออกยางฯ
   มาตรการที่สิบ โครงการส่งเสริมการลงทุนด้านผลิตภัณฑ์ยางภายในประเทศและโครงการสนับสนุนผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ยาง
   มาตรการที่สิบเอ็ด โครงการจัดตั้งสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมยาง
   มาตรการที่สิบสอง โครงการควบคุมปริมาณการผลิต
   มาตรการที่สิบสาม โครงการผลิตเพื่อเสริมรายได้ในสวนยางตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
   มาตรการที่สิบสี่ โครงการลดต้นทุนการผลิต ม
   มาตรการที่สิบห้า โครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อลดต้นทุนการผลิตยาง
   มาตรการที่สิบหก โครงการแก้ไขปัญหายางพาราทั้งระบบปี 2557 ระยะสั้น สนับสนุนปัจจัยการผลิตแก่เกษตรกรไร่ละ 2,520 บาท
 
    อำนวย บอกว่า ยางพาราไทยพึ่งพาตลาดต่างประเทศเป็นหลัก ผลผลิตส่วนใหญ่ส่งออก นำมาใช้ในประเทศน้อย ต้องทำให้มีเสถียรภาพมากขึ้น เพิ่มสัดส่วนการใช้ในประเทศ ราคายางจะได้มั่นคง


    ถ้าแต่ละจังหวัดมีแผนใช้ยางภายในจังหวัดได้มากขึ้น 5-10 เปอร์เซ็นต์ของปริมาณผลผลิตที่ได้ภายในจังหวัด จะเป็นส่วนสำคัญที่จะผลักดันให้มีการใช้ยางในประเทศมากขึ้น ยกตัวอย่างจังหวัดตรัง ก็เพิ่มสัดส่วนการใช้โดยนำน้ำยางมาผสมสร้างถนนกว่า 10 สาย...ใช้ก่อสร้างสนามกีฬาฟุตซอลในทุกอำเภอ รวม 20 สนาม


    หากจะพุ่งเป้าไปที่ต้นน้ำการผลิตยาง สะท้อนความจริงที่ว่า วันนี้  ?เกษตรกรชาวสวนยาง? ที่ยังหยัดยืนอยู่ได้นั้น ต้องไม่พึ่งรายได้จากการทำสวนยางเพียงอย่างเดียว คงต้องมีอาชีพเสริมต่างๆ ด้วย


    รัฐบาลพยายามแก้ปัญหา ?วิกฤติราคายาง? ที่เกิดขึ้นแบบบูรณาการ ทั้งแบบช่วยเหลือเร่งด่วน และระยะยาวด้วยการเปิดช่องทางให้เกษตรกรเข้าถึงแหล่งเงินทุน เพื่อที่จะมีโอกาสได้ทำอาชีพเสริมได้ง่ายขึ้น
 
เกษตรกรชาวสวนยางต้องสร้างความมั่นคง ความมีเสถียรภาพในตัวเองให้มากขึ้น
 
     การนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มาประยุกต์ใช้ในการทำสวนยางพารา ที่เรียกว่า ?สวนยางผสมผสานตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง?
ลด การปลูกยาง เหลือไร่ละ 40 ต้น เมื่อมีระยะห่างระหว่างต้นยางมากขึ้น จะทำให้มีพื้นที่เหลือเพื่อปลูกพืชชนิดอื่นๆที่เหมาะสมในแต่ละพื้นที่ อาทิ ไม้ผล ไม้เศรษฐกิจ ไม้ดอกไม้ประดับ ผักสวนครัว หรือแม้กระทั่งปลูกยางควบคู่กับการทำปศุสัตว์ เลี้ยงไก่ วัว แพะ แกะ เลี้ยงปลา


     สมมติว่ามีที่ดินทำสวนยาง 10 ไร่ แต่ภายใน 10 ไร่นั้นก็มีสวนมะพร้าว 10 ไร่ มีสวนมังคุด 10 ไร่ มีแปลงพืชผัก 10 ไร่ และยังมีพื้นที่เลี้ยงปศุสัตว์อีก 10 ไร่ได้ด้วย
    ?เกษตรทฤษฎีใหม่? ทำการเกษตรแบบพอเพียง ไม่ว่าเศรษฐกิจโลก เศรษฐกิจประเทศจะผันผวนแปรปรวนอย่างไร ?ราคายาง?...จะตกต่ำแค่ไหน เกษตรกรก็เอาอยู่...สู้ไหว ด้วยสองมือของตนเอง.




ีที่มา  หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ