รายงานตลาดยาง SBR คาดว่าจะแตะระดับ 16,110 ล้านดอลลาร์ฯ ภายในปี 2562 (27/03/2558)วันศุกร์ที่ 27 มีนาคม 2015 เวลา 09:09 น.
ตามรายงานตลาดฉบับใหม่ของ Micromarketmonitor.com ระบุว่า ตลาดยางสไตรีนบิวทาไดอีน (Styrene-Butadiene Rubber; SBR) ทั่วโลก จะรุกตลาดกลุ่มอุตสาหกรรมผู้ใช้ขั้นสุดท้ายอย่างมีนัยสำคัญ เนื่องจากสามารถผลิตให้มีคุณลักษณะหลากหลายตามความต้องการใช้งาน โดยคาดการณ์ว่าภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก จะครองตลาดนี้เนื่องจากอุปสงค์ยาง SBR กำลังเติบโต โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนำไปใช้ในการผลิตยางล้อ รองเท้า และใช้ในอุตสาหกรรมก่อสร้าง ซึ่งคาดว่าตลาดในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก และทวีปอเมริกาเหนือ จะเติบโตในอีก 5 ปีข้างหน้า พร้อมด้วยอุตสาหกรรมพันธมิตรที่คาดว่าจะยังคงรักษาระดับความต้องการของธุรกิจโดยรวมในแต่ละภูมิภาคไว้ได้
การลงทุน การซื้อกิจการ การขยายธุรกิจ การวิจัยและพัฒนา และการเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ถือว่ามีส่วนสำคัญอย่างมากสำหรับตลาดนี้ ซึ่งบริษัทผู้ผลิต สมาคม และผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ขั้นสุดท้าย ได้อัดฉีดเงินลงทุนเป็นจำนวนมากเพื่อขยายธุรกิจ และการปรับเปลี่ยนเทคโนโลยียาง SBR ให้ตรงกับความต้องการของอุตสาหกรรมผู้ใช้ขั้นสุดท้ายที่มีอยู่จำนวนมาก และภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก จัดเป็นตลาด ยาง SBR ที่ใหญ่ที่สุดทั้งในแง่ของปริมาณและมูลค่า ตามด้วยทวีปอเมริกาเหนือ และทวีปยุโรป
บริษัทที่มีบทบาทสำคัญในตลาดยาง SBR ทั่วโลก ประกอบด้วย บริษัท Dow Chemical (สหรัฐฯ) บริษัท Lanxess AG (สหรัฐฯ) บริษัท Synthos SA (โปแลนด์) บริษัท Goodyear Tire & Rubber (สหรัฐฯ) บริษัท Ashland (สหรัฐฯ) บริษัท Nova Chemicals (แคนาดา) บริษัท Trinseo SA (สหรัฐฯ) บริษัท Versalis SpA (อิตาลี) บริษัท Formosa Chemicals & Fibre (ไต้หวัน) บริษัท Kumho Petrochemical (เกาหลีใต้) และบริษัทอื่นๆ
อุปสงค์ยาง SBR ทั้งในปัจจุบันและคาดการณ์ในอนาคตจะสอดคล้องกับทิศทางของภาวะเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม ในรายงานยังครอบคลุมถึงการพัฒนาที่สำคัญ การขยายธุรกิจ การควบรวมและการเข้าซื้อกิจการของบริษัทชั้นนำระดับโลกด้วย
ปัจจุบันมูลค่าตลาดยาง SBR ทั่วโลก (ปี 2556) อยู่ที่ประมาณ 13,245 ล้านดอลลาร์ฯ และคาดว่าจะแตะระดับ 16,110 ล้านดอลลาร์ฯ ภายในปี 2562 หรือเติบโต (CAGR) ร้อยละ 3.3 ในช่วงระหว่างปี 2557 - 2562 และมีความต้องการใช้สูงในอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น ยางล้อ รองเท้า การก่อสร้าง การดัดแปรพอลิเมอร์ กาว และอุตสาหกรรมอื่นๆ ซึ่งจะเพิ่มปริมาณการใช้ยาง SBR
โดยรวม
[size=78%]ที่มา http://www.rubberworld.com, 24/03/2558[/size]