ผู้เขียน หัวข้อ: โรงอบครบวงจร เพิ่มมูลค่ายางกิโลละ 8 บ.  (อ่าน 797 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 84444
    • ดูรายละเอียด
โรงอบครบวงจร เพิ่มมูลค่ายางกิโลละ 8 บ.



ในขณะที่เกษตรกรชาวสวนยางทั่วไทยประสบปัญหาราคาร่วงดิ่งเหว แม้รัฐบาลจะมีนโยบายแทรกแซงหวังดันราคายางให้กระเตื้องขึ้นมาได้บ้าง แต่กระนั้นเงินที่ทุ่มลงไปกลับไม่ถึงมือชาวสวนตัวจริง เพราะถูกพ่อค้า ข้าราชการ คว้าพุงปลามันไปกินเสียก่อน แต่ชาวสวนยาง อ.น้ำยืน จ.อุบลราชธานี กลับค้นพบวิธีการพึ่งพาตนเองเป็นหลัก...สามารถขายยางได้สูงกว่าราคาท้องตลาด กิโลกรัมละ 8 บาท


?สหกรณ์กองทุนสวนยางน้ำยืน จำกัด มีสมาชิกอยู่ 804 คน และที่ไม่ได้เป็นสมาชิกอีกกว่า 1,000 คน เริ่มแรกเราทำหน้าที่แค่รับซื้อยางก้อนถ้วยและยางแผ่นดิบไปขายให้พ่อค้ารับ ซื้อส่งไปประเทศจีนได้ราคาไม่ดีเท่าตลาดทั่วไป เพื่อให้ราคาดีเราเลยเพิ่มไลน์การผลิตมาเป็นรับซื้อน้ำยางสดมาแปรรูปเป็นยาง แผ่นดิบ ได้ราคาเพิ่มมาอีกหน่อย แต่เพื่อให้ได้ราคามากขึ้นไปอีกจึงคิดที่จะทำยางแผ่นรมควันเหมือนที่อื่น แต่ปรากฏว่า อบรมควันไปแล้วก็ยังไม่ได้มาตรฐานตามที่ตลาดต้องการ ขายไปก็ถูกกดราคาอยู่เหมือนเดิม เลยมาคิดว่าต้องหาเตาอบรุ่นใหม่มาทดแทน?


นายถม ปิรัง ประธานสหกรณ์กองทุนสวนยางน้ำยืน เล่าถึงที่มาของธุรกิจสหกรณ์ก่อนจะมาถึงวันนี้ว่า เมื่อได้เงินกู้ 15 ล้านบาท จาก ธ.ก.ส. ภายใต้โครงการสนับสนุนสินเชื่อสถาบันเกษตรกรเพื่อแปรรูปยางพาราของรัฐบาล ผ่านทางสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (สกย.) การลงมือสร้างโรงอบยางแผ่นรมควันแบบใหม่จึงเริ่มขึ้นและมาเสร็จเอาในปี 2555


ทำให้สหกรณ์มีธุรกิจครบวงจร รับซื้อน้ำยางสดมาแปรรูปเป็นยางแผ่นดิบ ส่งเข้าเตาอบรมควันแบบใหม่ มีประสิทธิภาพสูง ประหยัดเชื้อเพลิง สามารถควบคุมอุณหภูมิในการอบได้อย่างสม่ำเสมอ 60-70 ํC ทำให้ได้ยางแผ่นรมควันชั้น 3 ที่ผ่านคุณภาพมาตรฐานมากกว่าร้อยละ 90 มีกำลังการผลิตสูงสุด 240 ตันต่อเดือน


ช่วยทำให้ขายยางได้ราคาสูงขึ้น จากราคาที่เคยขายได้แค่ กก.ละ 58 บาท ได้ราคาเพิ่มมาอีก 8 บาท เป็น กก.ละ 66 บาท...ในขณะที่ต้นทุนต่ำกว่าเดิม เพราะเตารุ่นใหม่ใช้เชื้อเพลิงน้อยกว่าเดิม


ได้ราคาเพิ่มขึ้น ต้นทุนถูกลง...จึงมีกำไรเหลือเจือจานมาแบ่งปันให้สมาชิกตอนปลายปี


นอกจากนั้น สกย.จ.อุบลราชธานี ยังได้ร่วมกับสหกรณ์กองทุนสวนยางน้ำยืน จำกัด แนะนำให้เกษตรกรควบคุมต้นทุนการผลิตให้ต่ำ โดยลดใช้ปุ๋ยเคมี หันมาใช้ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยอินทรีย์มากขึ้น รวมทั้งดูแลรักษากรีดยางเองอย่าจ้างแรงงาน ต้องทำอาชีพเสริมเพื่อเพิ่มรายได้ถึงจะสามารถดำรงชีวิตเลี้ยงครอบครัวใน ยุคราคายางดิ่งเหวได้


เพราะยังเป็นเรื่องยากที่ราคายางแผ่นรมควันชั้น 3 จะไปยืนอยู่ที่ กก.ละ 90 บาท เหมือนที่ชาวสวนยางภาคอีสานต้องการ... ขนาด กก.ละ 80 บาท ที่พี่ใหญ่เคยบอกว่าเป็นเรื่องกล้วยๆ ก็ยังทำไม่ได้เลย.


ที่มา หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ(4/03/2558)