ผู้เขียน หัวข้อ: หนี้ครัวเรือนพุ่งเกิน 100% เกษตรกร-แรงงาน-นักศึกษาเสี่ยงสูงสุด  (อ่าน 450 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 84892
    • ดูรายละเอียด
หนี้ครัวเรือนพุ่งเกิน 100% เกษตรกร-แรงงาน-นักศึกษาเสี่ยงสูงสุด


วันพุธ ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2558, 06.00 น.



นายปิยะบุตร ชลวิจารณ์ ประธานสถาบันคีนันแห่งเอเชีย เปิดเผยว่า หนี้ครัวเรือนปัจจุบันอยู่ที่ระดับ 85% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมใน
ประเทศ (จีดีพี) อีก 2-3 ปี น่าจะแตะ 87%อีกไม่กี่ปีคงมุ่งสู่ 100%กลายเป็นปัญหาที่ฉุดรั้งให้จีดีพีของไทยโตต่ำลงในระยะต่อไป หากภาครัฐไม่เร่งหามาตรการแก้ไขเสียแต่ตอนนี้ ซึ่งการแก้ไขปัญหาหนี้ครัวเรือนต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายภาคส่วน รวมถึงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้บริโภคภาคครัวเรือนด้วย


ทั้งนี้ ทางสถาบันได้ทำการวิจัยถึงสาเหตุของปัญหาหนี้ครัวเรือน ซึ่งพบว่ามาจาก 3 ปัจจัย คือ ประชาชนไม่มีความรู้ทางการเงินที่ถูกต้องยังไม่มีวินัยและการจัดการใช้จ่ายอย่างเป็นระบบ รวมถึงปัญหาการเข้าถึงแหล่งเงินทุน กลุ่มที่มีพฤติกรรมก่อหนี้สูงที่สุดได้แก่ กลุ่มนักศึกษา กลุ่มเกษตรกร กลุ่มแรงงานรายได้ต่ำโดย 3 กลุ่มนี้ ถือเป็นฐานประชากรหลักของประเทศด้วยสัดส่วนต่อประชากร ร้อยละ18ร้อยละ 24 และร้อยละ 38 ตามลำดับ


นอกจากสาเหตุสำคัญที่กล่าวมาแล้วการก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างรวดเร็วและรูปแบบการใช้ชีวิตที่ผู้คนจับจ่ายใช้สอยเกินกว่ารายได้ที่ตนสามารถหาได้ทำให้เกิดภาวะหนี้สินล้นพ้นตัวของหลายๆครัวเรือนซึ่งจากการศึกษาได้ระบุถึงข้อแนะนำหลายๆ ข้อ อาทิ การสร้างความตระหนักรู้สู่สาธารณะและกระตุ้นความสนใจของประชาชนเกี่ยวกับความรู้เรื่องการเงิน การติดตามตรวจสอบของหน่วยงานกำกับดูแลที่เกี่ยวข้องควรปฏิบัติหน้าที่เพื่อคุ้มครองประชาชน ตลอดจนเสริมสร้างความรู้ทางการเงินให้กับสาธารณชนรวมทั้งการใช้โครงการภาคบังคับเกี่ยวกับการออมการฝึกอบรมและการควบคุมหนี้สิน และสิ่งสำคัญ คือ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรให้ความรู้ทางการเงินผ่านวิธีการเรียนรู้โดยการลงมือทำ


?โครงการวิจัยรากปัญหาหนี้ครัวเรือน ครอบคลุมระยะเวลาดำเนินการ 3 ปี โดยเริ่มวิจัยตั้งแต่ปี 2557 กระทั่งมาในปี 2558 อยู่ระหว่างการเสาะหาความร่วมมือจากหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ทั้งสหภาพแรงงาน สหกรณ์กระทรวงศึกษาธิการ เพื่อช่วยกันแก้ไขปัญหาให้ผู้ที่อยู่ที่ในสถาบันการเงินได้รับความคุ้มครองไม่พึ่งพาสถาบันการเงินนอกระบบ และการพัฒนาเครื่องมือ ซึ่งจะต้องเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาร่วมพิจารณา ก่อนนำเสนอให้กับภาครัฐอีกครั้ง? นายปิยะบุตรกล่าว




ที่มา หนังสือพิมพ์แนวหน้า