ผู้เขียน หัวข้อ: ทุ่มงบฯ300ล้านบาท3จังหวัดใต้สร้างรง.แปรรูปยางแก้ราคาตก  (อ่าน 659 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 84548
    • ดูรายละเอียด
ทุ่มงบฯ300ล้านบาท3จังหวัดใต้สร้างรง.แปรรูปยางแก้ราคาตก



กองทัพภาคที่ 4 ร่วมกับศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) จัดงบฯ 300 ล้าน สร้างโรงงานแปรรูปยางพารา 3 จังหวัดภาคใต้ แก้ปัญหายางราคาตกต่ำ เผยป้อนผลิตภัณฑ์เข้าตลาด เพิ่มมูลค่าถึง 3 เท่า คาดแล้วเสร็จภายใน ปี'58


นายทรงวุฒิ ดำรงกูล เหรัญญิก คณะกรรมการเครือข่ายชาวสวนยางพาราแห่งประเทศไทย เปิดเผยกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ทางกองทัพภาคที่ 4 และศูนย์อำนวยการ บริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ได้ให้งบประมาณสร้างโรงงานแปรรูปยางพาราจังหวัด 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้แก่ ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส แห่งละ 100 ล้านบาท ในฐานะเขตพื้นที่พิเศษ โดยจะสร้างให้แล้วเสร็จภายในปี 2558 นี้ สำหรับของจังหวัดยะลา มีเนื้อที่แล้วจำนวน 20 ไร่ ซึ่งเป็นโรงรมยาง โดยเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนพัฒนาแปรรูปน้ำยางตาชีเป็นผู้ดำเนินการ


วิสาหกิจชุมชนพัฒนาแปรรูปน้ำยางตาชี ผลิตน้ำยางสดประมาณ 100,000 กิโลกรัม จะสร้างโรงงานอุตสาหกรรมแปรรูปยางพารารมควัน ยางคอมปาวด์ และแปรรูปยางพารา เป็นผลิตภัณฑ์สายลำเลียงเพื่อลำเลียงสินค้าตามโรงงาน ต่าง ๆ ซึ่งขณะนี้มีอยู่ประมาณ 5-6 บริษัท ที่ผลิตสินค้าผลิตภัณฑ์นี้อยู่


นายทรงวุฒิกล่าวอีกว่า ขณะที่สถาบันเกษตรกรยางพาราจังหวัดปัตตานี จะมี การสร้างโรงงานอุตสาหกรรมแปรรูป ยางพารา เป็นผลิตภัณฑ์ถุงมือยาง และหมอนฟองน้ำ ส่วนที่จังหวัดนราธิวาส สถาบันเกษตรกรยางพารา กำลังอยู่ระหว่างวางแผนงาน


"กลุ่มสถาบันวิสาหกิจชุมชนพัฒนาแปรรูปน้ำยางสดตาชี ตอนนี้รวมมูลค่าโรงงานและทุนการผลิตประมาณ 130 ล้านบาท ผลิตน้ำยางสดวันละ 100,000 กิโลกรัมในช่วงฤดูกาลปกติ เมื่อนำน้ำยางสดมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์จึงมีมูลค่าเพิ่มถึง 3 เท่า จะทำให้ประชาชนมีอาชีพ มีรายได้ ที่มั่นคงและเพิ่มขึ้น จะเป็นการแก้ไขปัญหาความไม่สงบที่เกิดขึ้นด้วย"


ด้านนายเจริญ ธรรมดี อุปนายกสมาคมเครือข่ายสถาบันเกษตรกรยางพาราไทย เปิดเผยว่า ขณะนี้ทางสมาคมได้ผลิตยางแท่งเอสทีอาร์ 20 ส่งออกต่างประเทศเองโดยตรง ซึ่งช่วงปกติสามารถผลิตยางแท่งเอสทีอาร์ได้ถึง 2,000 ตันต่อเดือน ซึ่งขณะนี้ได้รับคำตอบจากศูนย์วิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์แล้วว่าจะอนุมัติใบรับรองสินค้าภายในวันที่ 22 มีนาคม 2558 นี้


สำหรับสมาคมมีเครือข่ายทางภาคอีสาน และภาคเหนือรวม 10 จังหวัด โดยในปี 2558 จะทำให้ครบทุกจังหวัดที่มีการปลูกยางพารา แล้วทำการลงนามเอ็มโอยู ร่วมกัน เพื่อผลิตยางเพื่อการส่งออก ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นการลงทุนของเครือข่ายชาวสวนยางที่รวมตัวกันเป็นกลุ่มสถาบัน เช่น สหกรณ์ วิสาหกิจชุมชน เป็นต้น


นายเจริญกล่าวว่า สำหรับโรงงานอุตสาหกรรมที่ผลิตยางเอสทีอาร์ 20 เป็นโรงงานขององค์การสวนยาง (อสย.) จำนวน 3 แห่ง โดยตั้งอยู่ที่ จ.บุรีรัมย์ จ.นครพนม และ จ.อุดรธานี โดยทั้งภาคอีสาน และภาคเหนือ จะมารวมศูนย์กันแปรรูปผลิตทั้ง 3 โรงงาน เริ่มดำเนินการมาประมาณเดือนพฤศจิกายน 2557 จนถึงขณะนี้ประสบความสำเร็จอย่างสูง




Souce: ประชาชาติธุรกิจ (Th)