ผู้เขียน หัวข้อ: วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง วันศุกร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558  (อ่าน 622 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 84903
    • ดูรายละเอียด

วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง

วันศุกร์ที่  20  กุมภาพันธ์  พ.ศ. 2558



ปัจจัย


วิเคราะห์


1. สภาพภูมิอากาศ


- ลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้และอ่าวไทยเข้าปกคลุมตั้งแต่ภาคเหนือตอนล่างจนถึงภาคใต้ ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนฟ้ากระจายทั่วไป โดยเฉพาะภาคตะวันออกมีฝนร้อยละ 60 ของพื้นที่ และภาคใต้ฝั่งตะวันตกมีฝนร้อยละ 40 ของพื้นที่ เป็นอุปสรรคต่อการกรีดยาง


2. การใช้ยาง


- รัฐมนตรีช่วยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายยางธรรมชาติ (กนย.) ครั้งที่ 1 ประจำปี 2558 ได้พิจารณาตามมติคณะรัฐมนตรีอนุมัติวงเงิน 2,000 ล้านบาท เพื่อรับซื้อน้ำยางสดและยางก้อนถ้วยตามโครงการสร้างมูลภัณฑ์กันชนรักษาเสถียรภาพราคายาง ก่อนหมดฤดูปิดกรีดในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2558 โดยนับจากนี้อีก 2 เดือนครึ่งจะขับเคลี่อนกลไกแก้ปัญหาราคายางในช่วงฤดูเปิดกรีดยางในเดือนพฤษภาคม 2558


3. เศรษฐกิจโลก


- กระทรวงการคลังญี่ปุ่นเปิดเผยว่า ยอดขาดดุลการค้าเดือนมกราคมลดลงร้อยละ 57.9 อยู่ที่ 1.1775 ล้านล้านหยวน อย่างไรก็ตาม ญี่ปุ่นขาดดุลการค้าติดต่อกันเป็นเดือนที่ 31 ซึ่งเป็นสถิติขาดดุลการค้ายาวนานที่สุดนับตั้งแต่เดือนมกราคม 2522 โดยระบุว่ายอดการส่งออกเดือนมกราคมปรับตัวขึ้นร้อยละ 17 เมื่อเทียบเป็นรายปี และเป็นการฟื้นขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 5 หลังจากยอดส่งออกยานยนต์ปรับตัวขึ้น ขณะที่ยอดการนำเข้าลดลงร้อยละ 9.0 เนื่องจากการนำเข้าน้ำมันดิบลดลงถึงร้อยละ 40.5


- ธนาคารกลางยุโรป (ECB.) ตัดสินใจปรับเพิ่มเพดานการปล่อยเงินกู้ฉุกเฉินในกองทุนช่วยเหลือสภาพคล่องฉุกเฉิน (ELA) สำหรับภาคธนาคารของกรีซเป็น 6.83 หมื่นล้านยูโร จาก 6.50 หมื่นล้านยูโร


- รัฐบาลญี่ปุ่นคงการประเมินเศรษฐกิจภายในประเทศเป็นเดือนที่ 4 ติดต่อกันในเดือนกุมภาพันธ์ แม้ว่าการบริโภคยังคงซบเซา ภายหลังการปรับขึ้นภาษีบริโภคเมื่อเดือนเมษายนปีก่อน โดยระบุในรายงานว่า ?เศรษฐกิจญี่ปุ่นฟื้นตัวปานกลาง?


- สำนักงานสถิติฝรั่งเศสเปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนมกราคมปรับตัวลดลงร้อยละ 1.0 เมื่อเทียบเป็นรายเดือน และปรับตัวลดลงร้อยละ 0.4 เมื่อเทียบเป็นรายปี


- ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) สาขาฟิลาเดลเฟีย เปิดเผยว่า ดัชนีภาวะธุรกิจในภูมิภาคมิดแอตแลนติกชะลอตัวสู่ระดับ 5.2 ในเดือนกุมภาพันธ์ จาก 6.3 ในเดือนมกราคม ขณะที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะอยู่ที่ 8.0


- คณะกรรมาธิการยุโรป (EC.) เปิดเผยว่า ความเชื่อมั่นผู้บริโภคในยูโรโซนเพิ่มขึ้นมากกว่าที่คาดในเดือนกุมภาพันธ์เมื่อเทียบกับเดือนมกราคม ทั้งนี้ EC. ระบุว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคยูโรโซนเพิ่มขึ้น 1.8 จุด สู่ระดับ -6.7 จุดในเดือนกุมภาพันธ์  ขณะที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะอยู่ที่ -7.55 จุด


4. อัตราแลกเปลี่ยน


- เงินบาทอยู่ที่ 32.55 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้น 0.04 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ


- เงินเยนอยู่ที่ 118.92 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้น 0.37 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ


5. ราคาน้ำมัน


- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือนมีนาคม ปิดตลาดที่ 51.16 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง 0.98  ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล หลังจากสำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานของรัฐบาลสหรัฐฯ (EIA) เปิดเผยสต๊อคน้ำมันดิบของสหรัฐฯ แตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ในสัปดาห์ที่แล้ว


- ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ (Brent) ตลาดลอนดอน ส่งมอบเดือนเมษายน ปิดที่ 60.21 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง 0.32 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล


- สำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานรัฐบาลสหรัฐฯ (EIA.) เปิดเผยสต๊อคน้ำมันดิบสัปดาห์ที่แล้วแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ทั้งนี้สต๊อคน้ำมันดิบเพิ่มขึ้น 7.7 ล้านบาร์เรล อยู่ที่ 425.6 ล้านบาร์เรล ซึ่งเป็นระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์นับตั้งแต่ EIA. เริ่มเก็บข้อมูลเดือนสิงหาคม 2525 ขณะที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเพียง 3.7 ล้านบาร์เรล


6. การเก็งกำไร


- ราคาตลาด TOCOM ส่งมอบเดือนมีนาคม อยู่ที่ 219.7 เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 2.3 เยนต่อกิโลกรัม และส่งมอบเดือนกรกฎาคม อยู่ที่ 221.5 เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 2.6 เยนต่อกิโลกรัม


- ตลาด SICOM ปิดทำการเทศกาลตรุษจีน


7. ข่าว


- ประธานยูโรโซนกล่าวว่า รัฐมนตรีกระทรวงการคลังยูโรโซนจะประชุมในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2558 เพื่อพิจารณาข้อเสนอของกรีซที่ต้องการขยายระยะเวลาเงินกู้ในข้อตกลงความช่วยเหลือของสหภาพยุโรป (EU.) และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF.) ออกไปอีก 6 เดือน จากเดิมที่มีกำหนดสิ้นสุดลงในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2558


- กระทรวงแรงงานสหรัฐฯ เปิดเผยว่า จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรก ในรอบสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2558 ลดลง 21,000 ราย แตะ 283,000 ราย นับเป็นสัญญาณที่บ่งชี้ว่าตลาดแรงงานยังคงปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง


8. ข้อคิดเห็นของผู้ประกอบการ


- ราคายังปรับตัวสูงขึ้นได้ เพราะผลผลิตลดลงมากในระยะนี้ เหลือเพียงร้อยละ 50 - 60 อย่างไรก็ตาม ตลาดต่างประเทศยังคงเงียบ เพราะจีนอยู่ในช่วงหยุดเทศกาลตรุษจีน ต้องรอดูว่าจีนจะเข้ามาซื้อเพิ่มขึ้นหลังวันหยุดยาวหรือไม่


แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นในทิศทางเดียวกับตลาดล่วงหน้าโตเกียว โดยมีปัจจัยบวกจากนักลงทุนมีมุมมองด้านบวกต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจญี่ปุ่น หลังจากมีรายงานว่ายอดส่งออกเดือนมกราคมของญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นเกินคาด และอุปทานยางออกสู่ตลาดลดลงในช่วงฤดูยางผลัดใบ กอปรกับข่าวการอนุมัติวงเงินรอบใหม่เพื่อดำเนินโครงการสร้างมูลภัณฑ์กันชนรักษาเสถียรภาพราคายาง อย่างไรก็ตาม การหยุดยาวในช่วงเทศกาลตรุษจีนของผู้ซื้อยางรายใหญ่อย่างจีนยังเป็นปัจจัยกดดันราคายางได้ในระดับหนึ่ง






ทีมวิเคราะห์สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา