ผู้เขียน หัวข้อ: แฉต้นตอทุบยาง?ดิ่ง? เปิดสัญญาหมกเม็ด ขายให้บ.จีน46บ./กก.  (อ่าน 1141 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 84347
    • ดูรายละเอียด
แฉต้นตอทุบยาง?ดิ่ง? เปิดสัญญาหมกเม็ด ขายให้บ.จีน46บ./กก.



เมื่อวันที่ 21 มกราคม แหล่งข่าวระดับสูงจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า จากการตรวจสอบสถานการณ์ราคายางที่มีแนวโน้มตกต่ำอย่างต่อเนื่องในขณะนี้ พบว่า ส่วนหนึ่งน่าจะเกิดจากการที่กระทรวงเกษตรฯ ลงนามในสัญญาซื้อขายยางกับเอกชนจีน คือ บริษัทไห่หนาน รับเบอร์ (Hainan rubber) เป็นจำนวน 2.1 แสนตัน ในหนังสือสัญญาผลิตภัณฑ์ยาง สัญญาเลขที่ กษ. เลขที่002/2557 โดยมีสาระคำคัญในการตกลงซื้อยางยางพารา ประกอบด้วยยางแผ่รมควัญ จำนวน 176,000 ตัน และยาแท่งSTRจำนวน 32,000 ตัน โดยในสัญญาระบุว่า บริษัทไห่หนาน จะซื้อยางแผ่นรมควันคุณภาพ 100% ในราคาFOB ที่ราคา กก.ละ 63.56 บาท และหักค่าใช่จ่ายอื่น ในการดำเนินการรับมอบสินค้าและการส่งออก นอกราชอาณาจักรในอัตรา กก.ละ 3.30บาท เป็นราคาซื้อขายหน้าโกดัง ที่ราคา 60.26บาท ส่วนราคายาง STR ตกลงซื้อขายในราคา กก.ละ 55.50 บาท และหักค่าใช้จ่ายอื่นในการดำเนินการตามเช่นเดียวกัน โดยราคาซื้อขายหน้าโกดังที่ กก.ละ 52.20บาท


ในสัญญายังระบุเรื่องการกำหนดคุณภาพผลิตภัณฑ์ยาง โดยคู่สัญญาจะตั้งคณะกรรมการร่วมกันกำหนดคุณภาพและราคาตามผลิตภัณฑ์ ประกอบด้วย สถาบันวิจัยยาง และผู้ขายและตัวแทนผู้ซื้อคือ บริษัท เอ็มที เซ็นเตอร์ เทรด จำกัด โดยคณะกรรมการต้องใช้เกณฑ์ การกำหนดราคาตามคุณภาพ และผู้ซื้อจะต้องรับยางเดือนละ 20,000 ตัน หลังจากวันที่ลงนามสัญญาแล้ว 7 วัน และในการส่งมอบยางทั้งหมดภายใน 10 เดือน มิฉะนั้น จะถูกปรับตามสัญญา


แอบซุกสัญญาสอดไส้ทุบราคายาง


ทั้งนี้ เป็นที่น่าแปลกใจว่า ในสัญญาในข้างต้น กลับมีสัญญาแนบท้าย สอดไส้มาอีก 1 ฉบับ โดยมีการระบุเอกสารแนบท้ายสัญญาผนวก 2 เรื่องหลักเกณฑ์การกำหนดคุณภาพและการปรับ ลดยางตามคุณภาพ โดยให้มีการตั้งคณะทำงานขึ้นมา 1 คณะ ประกอบด้วย ตัวแทนจากฝ่ายซื้อและฝ่ายขาย เพื่อตรวจสอบคุณภาพยาง ณ จุดส่งมอบ ส่วนหลักเกณฑ์การกำหนดคุณภาพและการปรับลดราคา กำหนดไว้ 2 ประเภท 1.คุณภาพดี 2.คุณภาพไม่ได้ ซึ่งประเภทที่ 2 ยังแยกออกเป็น อีก 3 ประเภท คือ ยางเสียรูปทรง,เป็นราสนิม และมีความชื้น, มีราสีขาวและมีความชื้นสูง ส่วนฐานราคายางที่นำมาใช้ ในการคิดราคาซื้อขายให้ใช้ราคาFOB กรุงเทพฯ ของยางอัดก้อน ณ วันที่ลงนามในหนังสือแสดงเจตนาโดยระบุว่าเป็นวันที่13 ตุลาคม 57 ราคากก.ละ 50.95บาท ในขณะที่ หลักเกณฑ์การปรับลด ยางเสียรูปทรง ปรับลด กก.ละ 0.28บาท ยางมีราสนิมและมีความชื้น ใช้ฐานปรับราคาที่ กก.ละ 0.97 บาท,ยางที่มีราสีขาว และความชื้นสูง ใช้ฐานราคาปรับลดที่ กก.ละ 4.84บาท


รบ.ไทยส่อเสียหายกว่า3พันล.


เป็นที่น่าสังเกตว่า ในสัญญาแนบท้ายดังกล่าว ทำให้รัฐบาลไทยเสียเปรียบเป็นอย่างมาก เพราะยึดที่ราคากก.ละ 50.95 บาท ไม่ใช่ราคาที่มีการลงนามที่ 63.56 บาท และจนถึงขณะนี้ มีการส่งมอบยางพาราให้กับบริษัทไห่หนานจริง 377 ตัน จากที่มีการเปิดLCไว้ที่ 2,000 ตัน โดยมีการตรวจรับยางที่โกดังสถานียางขุนทะเล จ.สุราษฎร์ธานี และเป็นที่น่าสังเกตว่ายางทั้งหมดที่ส่งมอบ ถูกระบุว่าไม่มีคุณภาพ ต้องปรับลดลงอีก 4.84 ทำให้ราคาอยู่ที่ กก.ละ 46.47 บาท เท่านั้น ทั้งที่ก่อนหน้านี้ กรมวิชาการเป็นคนรับรองคุณภาพ โดยยืนยันว่ายางในโกดังเป็นยางคุณภาพทั้งหมด


แหล่งข่าวกล่าวต่อไปว่า สำหรับการลงนามซื้อขายดังกล่าว มีการรายงานต่อคณะรัฐมนตรี(ครม.) ก่อนที่จะเสนอเข้าที่ประชุม ครม. แต่กลับไม่มีการทักท้วง จึงส่งผลให้าคายางพาราตกต่ำอย่างต่อเนื่อง และหากส่งมอบยางทั้งหมด 2.1แสนตัน ตามสัญญาแนบท้าย ที่สอดไส้มาอาจส่งผลให้รัฐบาลเสียหายมากกว่า 3,000 ล้านบาท


?บิ๊กป้อม?ลั่น1เดือนยางพุ่งถึง80บ.


วันเดียกันที่อาคารรับรองเกษะโกมล พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) แถลงภายหลังเป็นประธานการประชุมเพื่อติดตามการแก้ปัญหาราคายางตกต่ำ ร่วมกับนายกสมาคมยางพารา ภาคเอกชน เกษตรกร ว่า ราคายางพาราจะปรับขึ้นตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป คาดว่าภายใน 1 เดือนราคาจะไปอยู่ที่ กก.ละ 80 บาท ได้อย่างแน่นอน


พ.อ.วินธัย สุวารี โฆษก คสช.กล่าวว่า รัฐบาลได้ให้การสนับสนุนภาคเอกชน โดยให้ธ.ออมสินและธ.กรุงไทย ร่วมกับธ.พาณิชย์ที่เข้าร่วมโดยการปล่อยสินเชื่อ ใช้งบประมาณ 25,000 ล้านบาท ให้ผู้ประกอบการ โดยในส่วนของ ธ.ออมสินจะให้สินเชื่อในการปรับปรุงเครื่องมือด้านอุตสาหกรรม ร่วมกับกระทรวงอุตสาหกรรม เพื่อช่วยเหลือปรับปรุงกิจการที่มีเครื่องมือในการจัดทำผลิตภัณฑ์ที่ทำจากยางพารา ส่วน ธ.กรุงไทยให้ออกสินเชื่อกับเอกชน หรือผู้ประกอบการ พ่อค้า ในการรับซื้อน้ำยางสดจากเกษตรกร


ยันน้ำมันปาล์มไม่ขาดแคลน


ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในกรณีที่รัฐบาลมีนโยบายนำเข้าปาล์มน้ำมันจากต่างประเทศ จำนวน 50,000 ตัน โดยระบุว่าเพื่อป้องกันปัญหาการขาดแคลนนั้น พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รมว.พาณิชย์ ย้ำว่า จะช่วยให้มีปริมาณน้ำมันปาล์มเพียงต่อการบริโภคภายในประเทศที่ 150,000 ตันต่อเดือน และมั่นใจว่าจะไม่กระทบต่อราคาผลปาล์มสดที่กำลังจะออกสู่ตลาดในช่วงเดือนมีนาคมนี้ อีกทั้งจะดูแลผลปาล์มในประเทศไม่ให้ต่ำกว่า กก.ละ 5 บาท พร้อมยืนยันว่า ปริมาณน้ำมันปาล์มมีเพียงพอต่อการบริโภคแน่นอน ส่วนที่บางตลาดขาดแคลนในขณะนี้เป็นการฉวยโอกาสของผู้ค้าบางกลุ่ม


สวนปาล์มสุราษฎร์เลิกค้านนำเข้า


ด้าน นายบำรุง หนูด้วง เลขานุการสมาคมชาวสวนปาล์มน้ำมัน จ.สุราษฎร์ธานี ยืนยันว่า สมาคมฯ ไม่เห็นด้วยกับนโยบายนำเข้าปาล์มน้ำมันจากต่างประเทศ แต่หลังจากที่รัฐบาลได้ให้คำมั่นสัญญาว่าจะดูแลราคาปาล์มดิบให้มีราคาไม่ต่ำกว่า กก.ละ 5 บาท และจะมีการตรวจสอบสต๊อกทุกระยะควบคุม ทำให้เกษตรกรในพื้นที่มีความพอใจ


 


ที่มา  แนวหน้า (22 มกราคม 58)