ผู้เขียน หัวข้อ: 'อำนวย' ดันอีกราคายาง 65 บาท  (อ่าน 1165 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 84455
    • ดูรายละเอียด
'อำนวย' ดันอีกราคายาง 65 บาท
« เมื่อ: มกราคม 10, 2015, 09:11:00 AM »
'อำนวย' ดันอีกราคายาง 65 บาท



"อำนวย"วอนชาวสวนรออีกนิด  เร็วๆ นี้จะได้เห็นราคายางตลาดท้องถิ่นแตะ 60 บาท/กก. หลังราคายางในตลาดกลางข้ามผ่านบันไดขั้นแรกที่ 60 บาท/กก.ตามสัญญาแล้ว ขณะบันไดขั้นที่2รัฐ-เอกชนร่วมลงขันตั้งรับเบอร์ ฟันด์รักษาเสถียรภาพราคาในตลาดเอเฟทคืบ 6 บิ๊กค้ายางเตรียมลงก้อนแรก 140 ล้าน ส่วนจ่ายเงินชดเชย 1 พันบาท/ไร่เร่งสปีด ล่าสุดจ่ายได้เกิน 50% แล้ว




นายอำนวย  ปะติเส รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์  เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ"ว่า ล่าสุดราคายาง(ยางแผ่นรมควันชั้น1-3) ที่ตลาดกลางประมูลซื้อขายยางพาราทั่วประเทศทั้งที่สงขลา สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช  ยะลา และบุรีรัมย์ ณ วันที่ 5 มกราคมวันเปิดทำการแรกของปี 2558 ได้ขยับขึ้นไปอยู่ที่ 61 บาท/กิโลกรัมแล้ว เป็นผลจากสต๊อกยางทั้งในและต่างประเทศลดลง และผลผลิตยางของไทยลดลงจากราคายางตกต่ำก่อนหน้านี้ ชาวสวนส่วนหนึ่งหยุดกรีดยาง และน้ำท่วมในหลายจังหวัดในภาคใต้ตอนล่างทำให้ไม่สามารถกรีดยางได้  ทั้งนี้ส่วนตัวมองว่ามีสัญญาณที่ราคายางแผ่นรมควันชั้น 1-3 จะขยับขึ้นไปถึง 65 บาท/กิโลกรัมในเร็ว ๆ นี้




อย่างไรก็ดี กรณีที่ชาวสวนยางต้องการขายยางได้ราคาที่ 60 บาท/กิโลกรัมตั้งแต่ต้นทาง เช่นน้ำยางสด น้ำยางข้น ยางแผ่นดิบ คงยังเป็นไปไม่ได้ในตอนนี้ เพราะเวลานี้ราคายางแผ่นรมควันชั้น 3 ที่ใช้เป็นราคาอ้างอิงในตลาด และเป็นชนิดยางที่ไทยส่งออกเป็นอันดับ 1 และมีที่เดียวในโลกยังอยู่ที่ระดับ 60 บาท/กิโลกรัม  ซึ่งหากในอนาคตอันใกล้นี้สามารถดันราคายางแผ่นรมควันได้มากกว่า 60 บาท/กิโลกรัม ราคายางชนิดต่างๆ ที่กล่าวมาที่ซื้อขายในตลาดท้องถิ่นก็จะขยับขึ้นตามโดยอัตโนมัติ




"ทำไมยางก้อนถ้วย เศษยาง น้ำยางสดไม่ได้ 60 บาทต่อกิโลกรัม ก็เพราะตลาดซื้อตามค่าเนื้อยางที่แยกน้ำออกแล้ว เมื่อเอาน้ำยางสดไปเข้าโรงรีดทำเป็นยางแผ่นดิบ เข้าโรงรมควันก็กลายเป็นยางแผ่นรมควัน ไปตัดเป็นยางแท่ง STR20 ดังนั้นราคาจึงต่างกัน แต่ในภาพรวมราคายางทุกชนิดก็เริ่มปรับตัวดีขึ้น ขอให้รออีกซักนิดน่าจะปรับตัวสูงขึ้นอีก"




นายอำนวยกล่าวอีกว่า จากที่รัฐบาลได้มีโครงการสร้างมูลภัณฑ์กันชนเพื่อรักษาเสถียรภาพราคายางโดยมอบหมายให้องค์การสวนยาง (อ.ส.ย.) เข้าซื้อยางแข่งกับเอกชน และสหกรณ์ชาวสวนยางในราคาชี้นำตลาด เพื่อดันราคายาง ล่าสุดจากที่ได้ดำเนินการมาเดือนเศษกองทุนมูลภัณฑ์กันชน(บัฟเฟอร์ ฟันด์)  ได้ใช้เงินเข้าซื้อยางแล้วทั้งสิ้นประมาณ 1.5 พันล้านบาท คิดเป็นปริมาณยางที่ซื้อกว่า 3.2 หมื่นตัน เมื่อผนวกกับ 16 มาตรการตามแผนบริหารจัดการยางพาราทั้งระบบของรัฐบาล สามารถดันราคายาง(ยางแผ่นรมควัน) จากจุดต่ำสุดที่ 43.50 บาท/กิโลกรัมให้ขึ้นมาอยู่ที่ 61 บาท/กิโลกรัมถือเป็นที่น่าพอใจ จากนี้ไปรัฐบาลยังคงดำเนินมาตรการต่างๆ อย่างต่อเนื่อง คาดราคายางทุกประเภทจากนี้จะปรับตัวดีขึ้นตามลำดับ




ขณะเดียวกันในบันไดขั้นที่ 2  ในการผลักดันราคายาง ตามที่รัฐบาลมีแผนร่วมลงขันกับเอกชนตั้งกองทุนซื้อขายยางเพื่อรักษาเสถียรภาพราคายาง (รับเบอร์ ฟันด์)ในตลาดซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย(เอเฟท) ก้อนแรก ในสัดส่วนรัฐโดยอ.ส.ย. 50% และเอกชนผู้ส่งออกและค้ายางอีก 50%  ล่าสุดมีเอกชนเข้าร่วมโครงการจำนวน 6 ราย โดย 4 รายจะร่วมลงขันรายละ 30 ล้านบาท และอีก 2 ราย รายละ 10 ล้านบาท รวม 140 ล้านบาท และรัฐบาลสมทบอีก 140 ล้านบาทรวมเป็น 280 ล้านบาท ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนแต่ละองค์กรจะนำเสนอเรื่องต่อคณะกรรมการบริหาร(บอร์ด) ของตัวเองเพื่อขออนุมัติ




"เมื่อทุกคนทำเรื่องผ่านบอร์ดของตัวเองแล้ว จะมีการนัดประชุมเพื่อจัดตั้งกองทุนรับเบอร์ฟันด์ และจะมีการจัดตั้งคณะกรรมการบริหารกองทุนมืออาชีพมาบริหารต่อไป คาดกองทุนนี้จะเริ่มซื้อขายยางในเอเฟทได้ปลายเดือนมกราคม จะเป็นอีกความร่วมมือหนึ่งระหว่างรัฐและเอกชนการรักษาเสถียรภาพราคายางของประเทศ"
ส่วนความคืบหน้าการจ่ายเงินชดเชยรายได้แก่ชาวสวนยาง 1 พันบาท/ไร่ ไม่เกินรายละ 15 ไร่ ที่ก่อนหน้านี้หลายฝ่ายระบุมีความล่าช้า ขณะนี้สามารถจ่ายเงินเข้าบัญชีของเกษตรกรไปแล้วสัดส่วนเกิน 50% ของผู้มีสิทธิจำนวนกว่า 8.5แสนราย ความล่าช้าที่เกิดขึ้นจากมีการตรวจสอบอย่างเข้มงวดเพื่อป้องกันการสิทธิ
อนึ่ง แหล่งข่าวจากวงการยางพารา ระบุ 6 บริษัทที่เข้าร่วมโครงการรับเบอร์ ฟันด์ ประกอบด้วย บริษัท ศรีตรังแอโกร อินดัสทรี จำกัด (มหาชน) (บมจ.) บมจ.ไทยฮั้วยางพารา บริษัท วงศ์บัณฑิต จำกัด(บจก.) บจก.เซาท์แลนด์รับเบอร์ บจก.ยางไทยปักษ์ใต้  และบจก.ไทยรับเบอร์ลาเท็คซ์กรุ๊ป




ที่่มา : หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 35 ฉบับที่ 3,016  วันที่  8 - 10  มกราคม  พ.ศ. 2558