ผู้เขียน หัวข้อ: วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง วันอังคารที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2557  (อ่าน 886 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 84449
    • ดูรายละเอียด

วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง

วันอังคารที่  16  ธันวาคม  พ.ศ. 2557



ปัจจัย


วิเคราะห์


1. สภาพภูมิอากาศ


- มรสุมตะวันออกเฉียงที่พัดปกคลุมภาคใต้และอ่าวไทยยังมีกำลังแรง ทำให้ภาคใต้มีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ร้อยละ 40 ของพื้นที่ บริเวณจังหวัดนครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล ส่งผลกระทบต่อการกรีดยาง


2. การใช้ยาง


- สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เผยแนวทางดำเนินการแก้ปัญหาวิกฤตราคายางพาราตกต่ำและพัฒนาอนาคตอุตสาหกรรมระยะยาวของยางพาราไทยที่จะพัฒนาให้เติบโตอย่างยั่งยืน โดยกำหนดมาตรการส่งเสริม 3 ด้านหลัก ได้แก่ การแก้ปัญหาวัตถุดิบล้นตลาด การปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต และการพัฒนาอุตสาหกรรมยางพาราทั้งระบบ ทั้งนี้เพื่อเพิ่มอุปสงค์การใช้ยางพาราในภาคอุตสาหกรรม สร้างกลไกผลักดันราคายางในประเทศให้เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งจะทำให้อุตสาหกรรมยางพาราของไทยเติบโตขึ้นได้อย่างยั่งยืน


3. เศรษฐกิจโลก


- ธนาคารกลางรัสเซียประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยสู่ร้อยละ 17.0 จากร้อยละ 10.5 โดยมีผลบังคับใช้ในวันนี้ นับเป็นการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในสัดส่วนมากที่สุดนับตั้งแต่ปี 2541 มีเป้าหมายที่จะสกัดการร่วงลงของสกุลเงินรูเบิล และเพื่อบรรเทาความตื่นตระหนกของนักลงทุน


- ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) เปิดเผยว่า ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นมาตรวัดผลผลิตในภาคการผลิต สาธารณูปโภค และเหมืองแร่ ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.3 ในเดือนพฤศจิกายน หลังจากที่ปรับตัวขึ้นร้อยละ 0.1 ในเดือนตุลาคม


- กระทรวงพาณิชย์จีนเปิดเผยตัวเลขการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) เดือนพฤศจิกายนปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 22.2 เมื่อเทียบเป็นรายปี อยู่ที่ 1.036 หมื่นล้านดอลล่าร์สหรัฐ


- HSBC โฮลดิ้งส์ เปิดเผยว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตเบื้องต้นเดือนธันวาคมลดลงแตะ 49.5 จุด ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 7 เดือน จาก 50.5 จุดในเดือนพฤศจิกายน ดัชนีที่สูงกว่า 50 จุด บ่งชี้ว่ากิจกรรมภาคการผลิตของจีนมีการขยายตัวจากเดือนก่อน และตัวเลขที่ต่ำกว่า 50 จุด แสดงให้เห็นถึงภาวะการหดตัว


4. อัตราแลกเปลี่ยน


- เงินบาทอยู่ที่ 32.96 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ อ่อนค่าลง 0.14 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ


- เงินเยนอยู่ที่ 117.77 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้น 0.94 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ


5. ราคาน้ำมัน


- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือนมกราคม 2558 ปิดตลาดที่ 55.91 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง 1.90 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 5 ปี หลังจากรัฐมนตรีกระทรวงพลังงานของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ระบุว่า กลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปค) จะไม่ปรับลดเพดานการผลิต เพื่อสกัดการร่วงลงของราคาน้ำมัน


- ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ (Brent) ตลาดลอนดอน ส่งมอบเดือนมกราคม 2558 ปิดที่ 61.06 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง 0.79 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล


6. การเก็งกำไร


- ราคาตลาด TOCOM ส่งมอบเดือนมกราคม 2558 อยู่ที่ 188.8 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 1.7 เยนต่อกิโลกรัม และส่งมอบเดือนพฤษภาคม 2558 อยู่ที่ 202.0 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 1.9 เยนต่อกิโลกรัม


- ราคาตลาด SICOM เปิดตลาดที่ 162.3 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 3.9 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม


7. ข่าว


- กระทรวงคมนาคมฮ่องกงเปิดเผยหลังจากปฏิบัติการเคลียร์พื้นที่ว่า ท้องถนนในย่านคอสเวย์ เบย์ ซึ่งถูกปิดกั้นในช่วงการชุมนุมได้กลับมาเปิดใช้งานได้อีกครั้ง ขณะเดียวกัน รถประจำทางก็สามารถกลับมาใช้เส้นทางปกติได้เหมือนเดิม ส่วนรถรางที่ถูกระงับบริการไปเป็นเวลานานก็กลับมาเปิดทำการได้อีกครั้งหนึ่ง


8. ข้อคิดเห็นของผู้ประกอบการ


- ราคายางปรับตัวลดลง เนื่องจากผู้ประกอบการคาดการณ์ได้ จึงต้องชะลอการซื้อเพื่อรอดูสถานการณ์จากนโยบายการเข้าซื้อยางของภาครัฐ


แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มทรงตัวหรือเปลี่ยนแปลงในช่วงแคบ ๆ ซึ่งมีปัจจัยกดดันจากราคาตลาดล่วงหน้าโตเกียวปรับตัวลดลง และราคาน้ำมันปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง ผลจากกระแสข่าวว่ากลุ่มผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปค) จะไม่ปรับลดเพดานการผลิต อย่างไรก็ตาม ราคายางยังมีโอกาสปรับตัวเพิ่มขึ้นจากปัจจัยบวกภายในประเทศ โดยการแก้ไขปัญหาราคายางตกต่ำของภาครัฐซึ่งใช้โครงการสร้างมูลภัณฑ์กันชนเพื่อรักษาเสถียรภาพราคายาง (Buffer Funds) ชี้นำตลาด อีกทั้งในช่วงนี้แหล่งปลูกยางหลายพื้นที่มีฝนตกอย่างต่อเนื่อง จึงเป็นปัจจัยสนับสนุนราคายางได้ในระดับหนึ่ง






ทีมวิเคราะห์สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา